5 เทคนิค ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
นักวิจัยหลายท่านมีปัญหาในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเพื่อที่จะค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับการศึกษาวิจัยของตนเอง ในบทความนี้เราจะแชร์ 5 เทคนิค ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องว่าต้องทำแบบไหน อย่างไร เพื่อที่จะสำเร็จได้ง่ายมาฝากค่ะ 1. ต้องสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัย การสืบค้นจากตัวแปรที่ทำการศึกษาวิจัยจะทำให้ท่านทราบว่าตัวแปรดังกล่าวนี้มีอยู่ในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องชิ้นใดบ้าง เพียงนำข้อมูลตัวแปรที่กำหนดไว้ในกรอบแนวคิดของการวิจัยของท่านมาสืบค้นทีละตัวแปรเพื่อที่จะให้ได้งานวิจัยแต่ละชิ้นงานที่สอดคล้องกันจนครบทุกตัวแปร 2. การสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คำต้องกระชับและชัดเจน ท่านต้องคิดถึงประเด็นหลักหรือ Keyword ของตัวแปรดังกล่าว เช่น “ความต้องการต่อการพัฒนา” สามารถสรุปได้สั้นๆ ก็คือ “ความต้องการพัฒนา” ฉะนั้นท่านต้องแยกเป็น 2 ตัวแปร หรือ 2 คำที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน เพื่อที่จะนำไปใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยต่างๆ อย่างตัวอย่างที่ยกไปข้างต้นคือ “ความต้องการต่อการพัฒนา” – Keyword หลัก คือ “ความต้องการ” – Keyword รอง คือ “การพัฒนา” ท่านต้องแยกเป็น Keyword หลัก และ Keyword รอง เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลงานวิจัย เพื่อค้นหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีความสอดคล้องกับตัวแปรที่ท่านต้องการศึกษาได้ 3. หาคำพ้องที่มีความหมายคล้ายคลึงกันเพื่อสืบค้นข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดการสืบค้นข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับความต้องการในการพัฒนา ก็จะมี Keyword […]
6 เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ
เคยไหม? ตั้งใจที่จะเข้ามาเรียนให้จบ แต่พอเรียนไปได้สักระยะหนึ่ง ก็เริ่มมีปัญหาหลายๆอย่างรุมเร้าจนแอบคิดในใจและคุยกับตัวเองว่า “จะเรียนไหวไหมนะ” “ไปต่อหรือถอย” “จะเสียเวลาไหม” “เอาจริงๆก็อยากเรียนให้จบนะ” และสุดท้ายก็รู้สึก เศร้า ซึม เหนื่อย ท้อ งานไม่เดิน เริ่มหลุดจากระบบการเรียนที่วางแผนไว้ จนไม่รู้จะทำยังไงดี ฉะนั่น บทความนี้ได้รวบรวมวิธีแก้ง่ายๆที่คุณสามารถทำได้ทุกวันที่จะช่วยประคองให้คุณมีแรงบันดาลใจ เพื่อดึงสติตัวเองให้ไปต่อได้ดียิ่งขึ้นกับ 6 เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ มีอะไรบ้างไปไล่ดูกันเลย เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ : 1. รับสารดีๆ เข้ามาในชีวิต เหล่าผู้มีแรงจูงใจสูง จะคิดถึงหลักการ “ขยะเข้า – ขยะออก” เป็นพิเศษ แทนที่จะรับข่าวสารลบๆ ละครน้ำเน่าในทีวี หรือ เรื่องราวอันสลดหดหู่ในเฟสบุ๊ค เขาจะเลือกเปิดรับข้อมูลความคิดในแง่บวก หรือแรงบันดาลใจดีๆ มันไม่ได้เป็นการปิดกั้นข้อมูลข่าวสารต่างๆ แต่เป็นการเลือกที่จะมอง ไม่ใช้เวลาและพลังงานไปกับข่าวสารลบๆ แค่นั้นเอง เทคนิคสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนไม่ให้ท้อ : 2. การเขียนเป้าหมาย แน่นอน! การเขียนเป้าหมาย คือหนทางที่ดีที่สุด ในการพัฒนาวิธีการคิด ทั้งเป้าหมายระยะสั้น ระยะกลาง ระยะยาวเหล่าผู้มีแรงจูงใจสูง จะเขียนมันลงไป […]
6 เรื่องที่อยากให้รู้ ก่อนจะเรียนปริญญาโท!
6 things i should know before studying master degreeเชื่อว่าตอนนี้หลายๆ คนอาจเกิดอาการเบื่องาน เบื่อเพื่อนร่วมงาน เบื่อการเมืองที่วุ่นวายไม่จบไม่สิ้น หรือบางคนทำงานมาสักระยะ อยากเข้าใจงานให้มากกว่าเดิม หลายคนคงให้ ‘การเรียนต่อปริญญาโท’ เป็นทางออกของปัญหาที่ว่า แต่ต้องรู้ไว้ก่อนว่าไม่มีการเรียนปริญญาโทใดที่โรยด้วยกลีบกุหลาบ หรือปราศจากน้ำตา 6 things i should know before graduate school ไม่ต้องรีบเรียนอย่างที่เกริ่นไปตอนต้น หลายคนพอเรียนจบปริญญาตรีแล้วก็รู้สึกว่าต้องเผชิญหน้ากับโลกแห่งความเป็นจริง งาน เงิน ชีวิต ฯลฯ อย่างน้อยถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะเรียนอะไรก็ควรออกไปลองหาอะไรทำก่อน ให้รู้ว่าชอบอะไร หรืออย่างน้อยที่สุดให้รู้ว่าไม่ชอบทำอะไร ที่ควรจะแน่ใจก็เพราะว่าการเรียนปริญญาโทไม่ใช่เรื่องที่คิดจะทำก็ทำได้ เพราะทุกอย่างมีค่าใช้จ่ายเสมอ ไหนจะค่าสอบ ค่าสมัครเรียน ค่าชีท ถ้าเรียนไปแล้วไม่ชอบก็จะหลายเป็นต้องออก เสียดายทั้งทุนและเวลา หลักสูตรเวลาเรียนมี 2 แบบ เลือกเวลาเรียนให้ดี 6 things i should know before graduate school […]
อธิการฯ มทร.ธัญบุรี ลั่นคุมเข้มสกัดลอก-จ้างทำวิทยานิพนธ์ เจอโทษหนักทุจริต-ผิดกฎหมาย
รศ.ดร.ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวถึงการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ว่า เป็นเรื่องที่ต้องกวดขันอย่างจริงจังเพราะเรื่องนี้สะท้อนถึงคุณภาพของบัณฑิต โดยเฉพาะบัณฑิตปริญญาโทและปริญญาเอก ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้กำหนดคุณภาพวิทยานิพนธ์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ซึ่งผู้เรียนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกไม่ได้เรียนด้านวิชาการมากนัก เนื้อหาสำคัญจริงๆ จะอยู่ที่วิทยานิพนธ์ หรืองานวิจัยเฉพาะทาง เพราะฉะนั้น ถ้าวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยเป็นการจ้างทำหรือคัดลอก แสดงว่าการเรียนใน 2 ระดับนี้เกิดความล้มเหลว อาจารย์จึงควรเข้มงวดต่อการคัดลอกหรือการจ้างทำวิทยานิพนธ์ ในปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมีซอฟแวร์ตรวจการคัดลอก ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาปัญหาดังกล่าวได้ ส่วนการจ้างทำวิทยานิพนธ์นั้น อาจารย์ประจำหลักสูตรหรืออาจารย์ที่ปรึกษา จะต้องสอดส่องดูแลไม่ปล่อยให้นักศึกษากระทำในสิ่งนี้ และไม่เอื้อให้เกิดการกระทำการดังกล่าว ตนเชื่อว่าบางมหาวิทยาลัยมีการหาผู้ทำให้ ซึ่งถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ทั้งนี้ หากอาจารย์ที่ปรึกษามีการพูดคุยให้ข้อแนะนำในการวิทยานิพนธ์นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ก็จะเห็นความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ และเห็นถึงทัศนคติของนักศึกษา อธิการบดี มทร.ธัญบุรี กล่าวอีกว่า ในส่วนของ มทร.ธัญบุรีนั้น เมื่อปีที่ผ่านมาได้มีการออกหนังสือเวียนเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น โดยทุกหลักสูตรต้องมีวิทยานิพนธ์ บางหลักสูตรมีการทำรายงานปริญญาโท ซึ่งก็ได้พยายามให้ยกเลิกเปลี่ยนมาทำเป็นวิทยานิพนธ์แทน นอกจากนี้ ยังได้มีการใช้ซอฟแวร์ตรวจสอบการคัดลอก หากพบเจอจะปรับทุจริตทันที ขณะเดียวกันได้ให้อาจารย์ที่ปรึกษาติดตามความคืบหน้าในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาเป็นระยะ เพื่อสังเกตความก้าวหน้าของผลงาน มีการพูดคุยพบปะแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งหากนักศึกษาสามารถโต้ตอบได้ ก็จะสื่อให้เห็นได้ว่า มีการทำวิทยานิพนธ์เอง แต่หากนักศึกษาไม่มาพบ แต่มีการส่งวิทยานิพนธ์เลย […]
ชีวิตอาจารย์มหาลัยไม่ง่าย-ก.พ.อ.ปราบรับจ้างทำวิทยานิพนธ์
จากกรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศของคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ต้องมีภาระงาน ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง ทั้ง ภาระงานสอน ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น ช่างเป็นการสอดคล้องกับมติล่าสุดที่ประชุม อธิการบดีแห่งประเทศไทย มีมติไล่ออก นักศึกษาที่จ้างอาจารย์-คัดลอกทำธีซิส และสารนิพนธ์ จากกรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศของคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ต้องมีภาระงาน ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง ทั้ง ภาระงานสอน ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น ช่างเป็นการสอดคล้องกับมติล่าสุดที่ประชุม อธิการบดีแห่งประเทศไทย มีมติไล่ออก นักศึกษาที่จ้างอาจารย์-คัดลอกทำธีซิส และสารนิพนธ์ จากการเผยแพร่บทความ ผ่านเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา อ้าง กรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ตําแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2558 พบว่าสาระสำคัญ […]
เปิดโปงธุรกิจรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ (20 ก.ค. 58)
อธิการบดี ม.รามเปิดโปงแก๊งรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ ส่งตำรวจ-ดีเอสไอ ไร้ผล !
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง ชี้การจ้างทำวิทยานิพนธ์ ถือเป็นอาชญากรรมในวงการศึกษาไทย เคยส่งข้อมูลหลักฐานให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติและดีเอสไอ แต่เงียบสนิท ไร้การดำเนินการ ยอมรับถึงเวลาที่ต้องจัดการขั้นเด็ดขาด ยันจัดการปัญหานี้ยาก เพราะเป็นการสมยอมของ 2 ฝ่ายทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้าง ขณะเดียวกันผู้รับจ้างยังมียุทธวิธีการเข้าถึงผู้ว่าจ้าง ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ มีการโฆษณาในเว็บไซต์แบบโจ๋งครึ่ม ไม่เว้นแม้กระทั่งในสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะในต่างจังหวัด ถึงขนาดขึ้นป้ายโฆษณาริมทางเชิญชวนลูกค้า ยืนยันผู้ไม่เคยทำวิทยานิพนธ์ หมดสิทธิ์เป็นอาจารย์ ม.รามฯ การจ้างทำวิทยานิพนธ์ ถือเป็นอาชญากรรมทางการศึกษาที่ระบาดอยู่ในแวดวงการศึกษามานานกว่า 20 ปี แม้ว่าผู้ที่เกี่ยวข้องในหลายรัฐบาล มีความพยายามจะกวาดล้างเรื่องนี้ก็ตาม แต่ที่ผ่านมาก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะลงดาบกับขบวนการนี้อย่างจริงจัง สุดท้ายเรื่องนี้จึงยังอยู่ในวังวนของวงการศึกษาไทยมาจนถึงปัจจุบัน กระทั่งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ที่ผ่านมา ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งมีบทบาทในการดูแลการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ได้มองเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจาก “ผู้จ้าง” และ “ผู้รับจ้าง” พร้อมยังวางมาตรการในการแก้ไข โดยจะขึ้นบัญชีดำผู้จ้าง และหาทางกวาดล้างผู้รับจ้าง ทั้งนี้ “ศ.ดร.ประสาท สืบค้า” อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ยอมรับว่า ปัญหาการจ้างทำวิทยานิพนธ์ในปัจจุบัน มีความรุนแรงมากขึ้น หากปล่อยไว้เช่นนี้จะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทย ดังนั้นที่ประชุมจึงมีมติร่วมกันว่าตั้งแต่ปีการศึกษา […]
ทปอ.ลั่นจ้างทำวิทยานิพนธ์ จับได้”พ้นสภาพนิสิต-นศ.”
ขึ้นแบล็คลิสต์ส่งรายชื่อให้ 27มหา’ลัยสมาชิก ทปอ.งดรับเข้าเรียน ตัดวงจรจ่ายครบจบแน่ มอบนิติกรศึกษาข้อกฎหมายเอาผิดคนรับจ้างด้วย ชี้ปัญหาเริ่มรุนแรงมากขึ้น ทำคุณภาพการศึกษาไทยตกต่ำอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2558 เวลา 05.59 น. ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) วิทยาเขตศรีราชา จ.ชลบุรี วันที่ 23 ส.ค.ศ.ดร.ประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ในการประชุม ทปอ.วันนี้ ที่ประชุมได้หารือถึงปัญหาการจ้างทำสารนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ของนิสิต-นักศึกษา ทั้งในระดับปริญญาตรี โท และเอก ที่พบว่าปัญหาเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น และส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของไทย โดยการรับจ้างทำวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์นั้นราคาอยู่ที่ประมาณ 20,000-500,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละสาขาวิชา ดังนั้นในฐานะที่ ทปอ. เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ดูแลอุดมศึกษา จึงมีความกังวลว่า หากปล่อยไว้เช่นนี้คุณภาพการศึกษาไทย โดยเฉพาะระดับอุดมศึกษาจะตกต่ำไปมากกว่านี้ ที่ประชุมจึงมีมติร่วมกันว่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 เป็นต้นไป หากพบว่ามีนิสิต-นักศึกษาในสถาบันที่เป็นสมาชิกทปอ. ทั้ง 27 แห่ง มีการจ้างทำ หรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ […]
เหตุผลที่ควรและไม่ควรเรียนต่อปริญญาโท
ไหน ใครอยากเรียนต่อปริญญาโทบ้าง!? หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีความคิดที่อยากจะเรียนต่อปริญญาโท แต่ยังลังเลอยู่ว่าควรเรียนต่อดีไหม บทความที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้นค่ะ เพราะเราจะมาแชร์ เหตุผลที่ควรและไม่ควรเรียนต่อปริญญาโท ทำไมถึงควรเรียนต่อปริญญาโท? เหตุผลที่ควรต่อปริญญาโท: เพิ่มความรู้เฉพาะทาง นี่เป็นเหตุผลหลักๆ ในการเรียนต่อปริญญาโทของใครหลายคนเลย เพราะหลังจากทำงาน หรือเรียนจบปริญญาตรีแล้ว หลายคนก็รู้สึกว่าอยากทำความเข้าใจศาสตร์นั้นในลึกซึ้งยิ่งขึ้น การเรียนต่อปริญญาโทจึงเป็นทางเลือกที่ไม่เลว เหตุผลที่ควรต่อปริญญาโท: เพิ่มทักษะชีวิต การเรียนปริญญาโทนั้นต้องนำอาศัยทักษะการจัดการสูงมาก ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งเวลาเรียน ศึกษาข้อมูล วิจัย ฯลฯ ทำให้ผู้เรียนต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ยิ่งถ้าไปเรียนในต่างประเทศ การเรียนปริญญาโทจะค่อยๆ เทรนเราให้กลายเป็นคนที่ต้องพึ่งพาตัวเองได้ ต้องฝึกใช้ทักษะการสื่อสาร หลายครั้งก็จะฝึกให้เราต้องมีทักษะการตัดสินใจที่รวดเร็วและต้องแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้ได้ เหตุผลที่ควรต่อปริญญาโท: โอกาสเปลี่ยนสายงาน มีหลายคนที่รู้ว่าสิ่งที่เรียนตอนปริญญาตรีนั้นไม่ใช่ตัวเองเลย ปริญญาโท (บางสาขา) เกิดมาเพื่อคนประเภทนี้เช่นกัน เพราะเปิดโอกาสให้คนที่เพิ่งหาตัวเองเจอกลับมาเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง เหตุผลที่ควรต่อปริญญาโท: โอกาสในการเรียนมหาลัยใหม่ประเทศใหม่ๆ เรียนปริญญาโทเพื่อมหาลัย/ประเทศในฝัน! ข้อนี้ไม่เกินจริงเลย ขอยกตัวอย่างง่ายๆ หลายคนอยากไปเรียนต่ออเมริกามาก แต่ตอนปริญญาตรีก็เรียนที่ไทยนี่แหละ ดังนั้นปริญญาโทจึงเป็นโอกาสอีกหนึ่งอย่างที่ทำให้เราได้ไปใช้ชีวิตในประเทศ หรือเมืองที่อยากไป เหตุผลที่ควรต่อปริญญาโท: ช่วยเตรียมพร้อมในการเรียนปริญญาเอก […]
การทำวิจัย คืออะไร ทำไปทำไม?
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า ” การทำวิจัย “ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นการศึกษาเฉาะสาขาทางด้านวิทยาศาสตร์ แต่จริงๆ แล้วการทำวิจัยสามารถทำได้ในทุกๆ สาขาวิชา วันนี้แคมปัส-สตาร์จะพาไปไขข้อสงสัยเกี่ยวกับ การทำวิจัย คืออะไร ทำอย่างไร และทำไปทำไม พร้อมยกตัวอย่างงานวิจัยเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้มากขึ้นด้วยค่ะ การทำวิจัย คืออะไร ? การทำวิจัยคือกระบวนการศึกษาหรือแสวงหาคำตอบโดยมีระบบระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน น่าเชื่อถือและเที่ยงตรง ซึ่งปัญหานำวิจัยที่นำมาศึกษาหาคำตอบ จะต้องมีประโยชน์ต่องานทางด้านวิชาการ การทำวิจัยมีหลายประเภท เช่น วิทยานิพนธ์ ดุษฎีนิพนธ์ รายงานการวิจัยของหน่วยงาน เป็นต้น ทุกประเภทมีพื้นฐานการทำวิจัยที่เหมือนกัน อาจจะต่างกันตรงที่ขอบเขตการวิจัย หรือรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ การวิจัยคือ การทดลอง ? การทดลอง เป็นประเภทหนึ่งของการทำวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนทางวิทยาศาสตร์แบบหนึ่ง ใช้ศึกษาความเปลี่ยนแปลงของตัวแปรที่เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขหรือสถานการณ์ที่กำหนดไว้ เพื่อศึกษาว่าเงื่อนไขหรือสถานการณ์นั้นๆ เป็นสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงตัวแปรดังกล่าวหรือไม่ โดยใช้วิธีการสังเกตและเปรียบเทียบความแตกต่างที่กิดขึ้น จุดเริ่มต้นของการทำวิจัย ผู้ทำวิจัยควรจะเริ่มต้นจาก การคิดหาปัญหาที่ต้องการหาคำตอบ เรียกว่า “ปัญหานำวิจัย” ซึ่งควรจะเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจและถนัด เพราะอาจจะต้องอยู่กับงานวิจัยนั้นๆ หลายเดือนหรือหลายปี แต่ถ้าไม่สามารถตั้งปัญหานำวิจัยได้ อาจจะใช้วิธีค้นคว้าจากเอกสารหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ ซึ่งจะทำให้รู้ถึงช่องว่างที่สามารถจะทำวิจัยได้ หรืออาจได้ไอเดียใหม่ๆ มาเป็นหัวข้องานวิจัยได้ […]