“7 วิธีง่ายๆ ช่วยโฟกัสการอ่านหนังสือ”

“7 วิธีง่ายๆ ช่วยโฟกัสการอ่านหนังสือ”เพื่อนๆ เป็นกันไหม? อยากจะอ่านหนังสือให้ให้สำเร็จ แต่ก็ฟุ้งซ่านจากสิ่งต่างๆ มากมาย เช่น โซเชียลมีเดีย กิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือปัจจัยภายนอกอื่นๆ ที่ไม่สามารถควบคุมได้ เรามีเทคนิคดีๆ มาแนะนำให้เพื่อนๆ ได้ลองนำไปทำตามกันดูค่ะ7 วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้โฟกัสการอ่านหนังสือให้ดีขึ้น … 1.ทำให้การอ่านหนังสือเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างน้อยในระหว่างที่เพื่อนๆ เล่นโซเชียลลองหาบทความในอินเทอร์เน็ตอ่านสัก 1 บทความต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นบทความสั้นหรือยาว เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรู้หรือสิ่งที่ชอบก็ได้ จะอ่านจริงจังหรือเพียงแค่อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน ก็นับว่าเป็นการอ่านทั้งสิ้นค่ะ เพื่อให้ตัวเองได้ซึมซับนิสัยรักการอ่านเวลาที่ต้องอ่านหนังสือเพื่อเรียนหรือสอบจะได้รู้สึกว่าการอ่านเยอะไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไปค่ะ 2.หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนเสียงเรียกเข้าหรือเสียงแจ้งเตือนโทรศัพท์สามารถทำลายสมาธิของเพื่อนๆ ได้ เพราะฉะนั้นในระหว่างที่อ่านหนังสือควรปิดเสียงโทรศัพท์ไปเลย ไว้ถึงเวลาพักค่อยเช็คโทรศัพท์ทีเดียวจะดีกว่านะคะ ในข้อนี้รวมไปถึงสิ่งรบกวนอื่นๆ รอบตัวด้วยเช่นกัน เช่น มีเสียงดังรบกวนจากบุคคลอื่น แนะนำให้เพื่อนๆ ย้ายสถานที่ในการอ่านให้มีความสงบขึ้นจะดีกว่าค่ะ 3.พักบ้าง!ควรมีเวลาพักให้ตัวเองด้วยหลังจากจดจ่อกับการอ่านหนังสือไปแล้ว 30 นาที แวะพักยืดเส้นยืดสาย เช็คโทรศัพท์ ทานของว่าง สัก 15 นาที หรือภายใน 1 ชั่วโมงพักเบรคสัก 1-2 ครั้ง ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ถ้าฝืนอ่านยาวๆ ทีเดียวให้จบ นอกจากเรื่องอ่านไปจะไม่เข้าหัวแล้ว […]

เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง

ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน ควรดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งคงตัดสินใจกันไม่ยาก เช่น งานวิทยานิพนธ์ที่ต้องส่งอาจารย์ 2. งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยเพราะเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน แต่มีความสำคัญเรื่องเป้าหมายและเป็นงานที่อยู่ ในแผนงานกลยุทธ์แต่เนื่องจากพอมีเวลา จึงไม่ค่อยมีใครหยิบมาทำเท่าไรนักพอเวลาผ่านไปจึงกลายเป็น งานสำคัญที่เร่งด่วนไปทุกที ดังนี้ งานประเภทนี้ควรได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องแล้วดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ให้ได้ เช่น งานด้านการพัฒนา งานที่เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว หากปล่อยผ่านไปอาจลืมแล้วไม่ได้ทำ สุดท้ายจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายได้ 3. งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน :  คนส่วนใหญ่ถูกผลักดันให้ทำงานกลุ่มนี้มากที่สุดเพราะเป็นงานที่แทรกกับงานที่ทำตามแผนอยู่สาเหตุ ที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะเราไม่ค่อยมีแผนงานหรือไม่ค่อยไดทำตามแผนทำให้มีงานด่วนเข้ามาได้ เรื่อยๆ ดังนั้น เราควรปฏิเสธงานด่วนที่เข้ามาบ้าง ถ้าไม่ใช่งานวิกฤตเพื่อให้เราสามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้ครบ งานประเภทนี้ เช่น การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย งานที่คนอื่นขอร้องให้ทำ […]

เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง

ในโลกการทำงานยุคใหม่ ปัญหาที่หลาย ๆ คนต้องเจอคือการจัดระบบเวลาในชีวิตและการทำงาน เพราะมีปัจจัยเยอะมากที่พร้อมกินเวลาของเราไป ไม่ว่าจะเป็นรถติด รถไฟฟ้าเสีย ฝนตก น้ำท่วม และรวมถึงงานที่เข้ามากองรวมกันมากมาย ถึงแม้จะเคลียร์วันนี้ไปได้แล้ว แต่พรุ่งนี้ก็ได้รับงานมาเพิ่มอีก ปัญหาพวกนี้ทำให้ทั้งการทำงานและชีวิตวุ่นวาย จัดการได้ยาก ฉะนั่นวันนี้แอดจะมาแชร์เคล็ด(ไม่)ลับจัดลำดับงานสุดปัง ซึ่งสามารถเริ่มได้จากการแบ่งงานเป็น 4 หมวดและจัดการให้เหมาะกับดังนี้ 1. งานสำคัญและเร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้จะเป็นงานที่ ถ้าไม่ดำเนินการก็จะมีปัญหาหรือเกิดวิกฤตขึ้น อาจเกิดผลกระทบมากมาย ไม่คุ้มที่จะรอไว้ก่อน ควรดำเนินการให้เร็วที่สุด ซึ่งคงตัดสินใจกันไม่ยาก เช่น งานวิทยานิพนธ์ที่ต้องส่งอาจารย์ 2. งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน :  งานกลุ่มนี้มักจะถูกละเลยเพราะเป็นงานที่ไม่เร่งด่วน แต่มีความสำคัญเรื่องเป้าหมายและเป็นงานที่อยู่ ในแผนงานกลยุทธ์แต่เนื่องจากพอมีเวลา จึงไม่ค่อยมีใครหยิบมาทำเท่าไรนักพอเวลาผ่านไปจึงกลายเป็น งานสำคัญที่เร่งด่วนไปทุกที ดังนี้ งานประเภทนี้ควรได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องแล้วดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้ให้ได้ เช่น งานด้านการพัฒนา งานที่เป็นแผนระยะกลางและระยะยาว หากปล่อยผ่านไปอาจลืมแล้วไม่ได้ทำ สุดท้ายจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายได้ 3. งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน :  คนส่วนใหญ่ถูกผลักดันให้ทำงานกลุ่มนี้มากที่สุดเพราะเป็นงานที่แทรกกับงานที่ทำตามแผนอยู่สาเหตุ ที่เกิดเหตุการณ์นี้เพราะเราไม่ค่อยมีแผนงานหรือไม่ค่อยไดทำตามแผนทำให้มีงานด่วนเข้ามาได้ เรื่อยๆ ดังนั้น เราควรปฏิเสธงานด่วนที่เข้ามาบ้าง ถ้าไม่ใช่งานวิกฤตเพื่อให้เราสามารถทำงานตามแผนที่วางไว้ได้ครบ งานประเภทนี้ เช่น การประชุมที่ไม่ได้นัดหมาย งานที่คนอื่นขอร้องให้ทำ […]

6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ !

1. วางแผนเกี่ยวกับ ME ต้องรู้จักเราให้ดีพอ เพื่อที่จะวางแผนการเตรียมข้อมูลที่ตั้งใจไว้ ตั้งแต่ศึกษารายปีที่ 1 เพื่อที่เราจะได้เตรียมงานในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และสิ่งที่สำคัญคือจะต้องปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อทุกอย่างเอื้ออำนวยไปพร้อมๆกันเราจะสามารถทำวิจัยได้ระดับดีมากค่ะ 2. การวางแผนการทำวิจัย เริ่มจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร ต้องอ่านเอกสารที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับวิจัยที่ทำและเก็บรวบรวมให้ได้มากที่สุด แล้วจึงตัดออกภายหลังค่ะ จากนั้นสร้างเครื่องมือรวบรวมความคิดเห็นจากผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนเพื่อใช้ในการสรุปการวิเคราะห์ข้อมูลจะสรุปโดยยึดวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นหลัก และสรุปให้ตรงประเด็น/ชัดเจนตามความเป็นจริงที่เราเก็บข้อมูลมาเลยค่ะ ในส่วนของการอภิปรายผลนั้น แนะนำเลยนะคะให้อภิปรายตามข้อค้นพบที่ได้ จากนั้นลงมือเขียน 3. การวางแผนเกี่ยวกับคน MAN หรืออาจารย์นั้นเองค่ะ บุคคลสำคัญในการทำงานงานวิจัยให้แล้วเสร็จโดยง่าย ซึ่งหลักในการเลือกพิจารณาจาก * ต้องมีความรู้ในงานบริหารโครงการวิจัย เพื่อดูภาพรวมให้เรา 5 บท * อาจารย์ในสาขา ที่มีความรู้ในเรื่องที่เราจะทำ อาจารย์จะดูให้ คือ บทที่ 1,2 และ5  * อาจารย์ที่เกี่ยวกับกระบวนการวิจัย หรือการประเมิน คือ อาจารย์จะดูบทที่ 3,4 ให้เราค่ะ * อาจารย์ทั้งหมดต้องทำงานกันเป็นทีม พูดภาษาเดียวกัน ไม่ตีกัน เท่านี้เราก็วางใจว่าเราจบได้แล้วค่ะ 4. Money การเตรียมเงินไว้สำหรับทำวิจัย 1. IS 15,000-30,000 บาท 2. Thesis 30,000-70,000 บาท 3. Dissertation 100,000 บาท ขึ้นไป จำนวนเงินที่บอกจะเป็นค่าถ่ายเอกสาร ค่าหนังสือ ค่าบทความ ค่าจ้างพิมพ์งานค่าเดินทาง ค่าจ้างเก็บข้อมูล ค่าวิเคราะห์ ค่าทำเล่ม ค่านำเสนอผลงานวิจัย และอื่น ๆ 5. การบริหารเวลาการทำวิจัย มีกลยุทธ์ที่สำคัญคือ มีการร่วมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาวางแผนตารางเวลานัดหมาย มีการค้นคว้าเอกสารตลอดเวลาที่ว่างโดยค้นคว้าเอกสารในห้องสมุดทุกวันแล้วจดบันทึกสรุปรายละเอียด มีการจัดสรรเวลาในการเขียนวิจัยอย่างต่อเนื่อง 6. MATERIALS การเตรียมเรื่องเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วางแผนในการสืบค้น การสังเคราะห์ และการเขียนงานวิจัย ซึ่งประกอบด้วย การเขียนให้กระชับชัดเจน รัดกุม ถูกต้องตามหลักภาษาและอย่าเขียนให้เกิดข้อสงสัยมีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกันทุกบท และนี่คือ 6 เทคนิค วางแผนเขียนงานวิจัยให้สำเร็จ ! เชื่อว่าหากเพื่อนๆ นำเทคนิคเหล่านี้ไปบ้าง จะทำให้คุณพิชิตงานวิจัยจนสำเร็จง่ายขึ้นแน่นอนค่ะ หากติดปัญหาทำวิจัย วิทยานิพนธ์ขั้นตอนใดๆ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้เสมอนะคะ 🙂

ก่อนตัดสินใจต้องรู้ ข้อดีข้อเสียการเรียนปริญญาเอก

ถึงเพื่อนๆที่กำลังลังเลอยู่ว่าจะเรียนปริญญาเอกดีไหม? ลองมาดูข้อดีข้อเสียของการเรียนปริญญาเอกกันอีกสักครั้งก่อนการตัดสินใจครั้งสุดท้ายนะคะ มันอาจทำให้อะไร ๆ ชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ “ข้อดี” 1. วิชาที่ถูกออกแบบมาเพื่อคุณ เพื่อน ๆ จะได้เจาะลึกลงไปในขอบเขตที่ไม่คุ้นเคย จะได้ผลักดันตัวเองให้ลองสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์และอาจสร้างความแตกต่างได้ค่ะ มันเปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ได้ใช้ศักยภาพที่ยิ่งใหญ่ของความคิดตัวเอง ค้นคว้าและวิจัย เพื่อน ๆ จะเป็นคนที่ขยายขอบเขตความรู้ของมนุษย์ในเรื่องที่ศึกษา 2. มุมมองต่อโลก มุมมองของโลกที่เพื่อน ๆ เห็นจะเปลี่ยนไปตลอดกาลค่ะ มันไม่แปลกเลยที่เพื่อน ๆ จะเริ่มเห็นรูปแบบต่าง ๆ ที่เพื่อน ๆ เคยมองข้ามไป จะสามารถตีความหรือค้นพบแก่นของเรื่องราวได้ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวเองเลยทีเดียวค่ะ 3. ความรู้และทักษะ เพื่อน ๆ จะมีทักษะการคิดวิเคราะห์ที่ดีขึ้นมาก ซึ่งนั่นก็ขึ้นอยู่กับสาขาที่เลือกเรียนด้วยนะคะ แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือเพื่อน ๆ จะได้ลับสมอง ฝึกการคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลค่ะ และยังจะได้พัฒนาความสามารถในการถ่ายทอดไอเดียที่ซับซ้อนให้เป็นสิ่งที่ชัดเจนและเข้าใจง่ายอีกด้วยค่ะ 4. ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักศึกษา เพื่อน ๆ จะได้สร้างเครือข่ายกับผู้คนที่มาจากพื้นฐานที่แตกต่างกัน ได้ทำสิ่งที่แตกต่างร่วมกัน และคุณจะได้อยู่ในสิ่งที่แวดล้อมที่กระหายความรู้ ซึ่งมันเป็นทั้งเรื่องที่ท้าทายและช่วยเติมเต็มคุณได้เป็นอย่างดีเลยทีเดียวค่ะ 5. ตารางเวลาที่ว่าง […]

เทคนิคพรีเซนต์งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ

ทักษะการนำเสนอและพูดในที่สาธารณะนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในชีวิตของการทำงานเนื่องจากเรามักต้องพรีเซนต์งานหรือเรียนอยู่เสมอๆ และวันนี้เราได้รวบรวม 7 เทคนิคพรีเซนต์งานยังไงให้ดูเป็นมืออาชีพ มาให้คุณได้เตรียมพร้อมกัน เทคนิคเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารของการนำเสนองานให้ดูมั่นใจและน่าเชื่อถือในการพูดต่อหน้าคนอื่นมากยิ่งขึ้น 1. เริ่มด้วย “ทำไม” วัตถุประสงค์ในการนำเสนอครั้งนี้คืออะไร คุณต้องการจะโน้มน้าวผู้ฟังให้เชื่อคุณเรื่องอะไร หรืออยากให้เขาทำอะไร และประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับจากคุณคืออะไร 2. ทำความรู้จักกับกลุ่มผู้ฟัง การทำการบ้านเกี่ยวกับกลุ่มผู้ฟังก่อนเสมอ หากคุณรู้ว่าพวกเขาเชื่อและสนใจในสิ่งใดบ้าง มันจะเอื้อประโยชน์เป็นอย่างมากในการนำเสนอและโน้มน้าวผู้ฟัง และคุณสามารถปรับสไตล์การพูด คำพูดที่ใช้ให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังได้อีกด้วย 3. นำเสนอด้วยภาพและคงความเรียบง่าย ควรใช้ภาพเป็นสื่อในการนำเสนอข้อมูลแทนข้อความยาวๆและตัวเลขทางสถิติต่างๆ เพราะข้อมูลที่คุณต้องการนำเสนอนั้นจะเป็นที่จดจำมากกว่าหากเป็นภาพที่น่าสนใจ และควรหลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่มากเกินไป พยายามใช้ข้อความในแต่ละสไลด์ให้ กระชับและชัดเจน 4. บอกเล่าด้วยเรื่องราว และเป็นตัวเอง การพรีเซนต์งานด้วยข้อมูลหนักๆและตัวเลขทางสถิติอาจจะทำให้คุณดูมีความรู้แต่แน่นอนว่าอาจไม่มีใครจำสิ่งที่คุณพูดได้ ในทางกลับกัน การบอกเล่าด้วยเรื่องราว อารมณ์ และมุ่งเน้นความสนใจกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จะทำให้ผู้ฟังจดจำได้ดีกว่า 5. ฝึกซ้อมเพื่อเตรียมความพร้อมเสมอ หลายคนคงเคยได้ยินประโยคที่ว่า “Practice makes perfect” กันมาแล้ว ฉะนั้นคุณควรฝึกซ้อมการพรีเซนต์ให้มากเท่าที่คุณทำได้ พร้อมทั้งทบทวนเนื้อหาและจดจำลับดับของสไลด์ให้ดี คุณอาจใช้วีดีโอบันทึกภาพขณะที่ฝึกซ้อมเอาไว้ เพื่อดูจุดบกพร่องและนำมาแก้ไขต่อไป นอกจากนั้นแล้ว คุณไม่ควรอ่านจากสไลด์หรือสคริปท์โดยตรง แต่ควรใช้เพียงโน๊ตสั้นๆและเล่าด้วยจังหวะที่เป็นธรรมชาติ 6. ลองใช้กฎ “10 นาที” ผู้ฟังอาจหมดความสนใจหากคุณพูดนานเกินไป ลองใช้กฎ “10 นาที” มาปรับใช้กับการพรีเซนต์งานของคุณ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนไม่ควรพูดนานเกิน 10 นาที จากนั้นอาจเว้นด้วยการให้รับชมภาพประกอบ หรือวีดีโอ แล้วจึงนำเสนอเนื้อหาในส่วนถัดไป 7. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง หากคุณพูดเพียงคนเดียวเป็นเวลานานๆ ผู้ฟังอาจเกิดความเบื่อหน่ายได้ ฉะนั้นคุณอาจลองให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมโดยการเปิดโอกาสให้ออกความเห็นหรือตั้ง คำถามบ้าง เพื่อดึงสติผู้ฟัง และเช็กว่าผู้ฟังยังคงจดจ่ออยู่กับการนำเสนอของคุณ

เทคนิคแก้ภาวะ BURNOUT SYNDROME

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน หรือถ้าใครไม่รู้ว่าอาการมันเป็นยังไงมาทำความรู้จักกัน BURNOUT SYNDROME ภาวะการหมดไฟคืออะไร? BURNOUT SYNDROME คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงไม่อยากทำอะไร ไม่มีอารมณ์เขียนงานวิจัย พฤติกรรมที่จะทำให้เราเป็น BURNOUT SYNDROME  มันเป็นความอ่อนล้าทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายจากการที่เราต้องเผชิญหน้ากับงานที่หนักมากก และเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ●​เขียนงานหนักมาก ติดกันหลายๆวัน ในเวลาอันจำกัด อาจารย์เร่งจนไฟรนก้นแล้วค่ะ ●​เขียนไปโดยไร้จุดหมาย ไร้ความมั่นใจ ไม่รู้เลยว่ามันถูกต้องหรือไม่ เขียนไปอย่างงั้นแหละไม่มีใครอนุมัติได้เลย ต้องรออาจารย์อย่างเดียว ●​ระบบจัดเรียงลำดับความสำคัญเริ่มพังง งงไปหมด ทำอะไรก่อนดี แก้อันไหนก่อนดี ●​รู้สึกว่าแก้เท่าไหร่ก็ไม่เห็นจะผ่านเลย ไม่เห็นอนาคตของตัวเองที่จะผ่านได้เลยด้วย โดยภาวะเริ่มแรกจะเกิดขึ้นเมื่อน้องๆ รู้สึกว่าตัวเองรับมือกับงานต่างๆ ไม่ไหวอีกต่อไป จนอยากจะเท! เท!! เททุกอย่าง!!! ซึ่งหากเรามีพฤติกรรมเหล่านี้ มันจะส่งผลถึงผลเสียตามาม ดังนี้เลย ●​เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ●​ปวดเมื่อย ปวดไมเกรนบ่อยๆ ●​นอนไม่หลับ […]

มุมมองการเรียนรู้ของนักเรียนด้วยแนวคิด บัว 4 เหล่า

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินหลักคำสอนจากพระพุทธเจ้า เรื่อง บัว 4 เหล่า มาก่อน พระองค์ได้ทรงพิจารณาแล้วเห็นพระธรรมที่ทรงบรรลุนั้นมีความละเอียดอ่อนและยากต่อบุคคลทั่วไปจะเข้าใจ รับรู้ และสามารถปฏิบัติได้ พระองค์จึงทรงพิจารณาเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง และพบว่าบุคคลทั้งหลายบนโลกใบนี้ มีหลากหลายจำพวก บางคนสามารถสอนธรรมให้บรรลุธรรมได้ง่าย บางคนอาจต้องได้รับการชี้แนะหรือฝึกฝน และบางคนก็สอนไม่ได้เลย ซึ่งความแตกต่างของแต่ละบุคคลเหล่านี้ พระพุทธเจ้าจึงได้นำมาเปรียบเทียบกับลักษณะของดอกบัว 4 เหล่า ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อสังสัยกันว่าเราจัดอยู่ในกลุ่มไหน และหากอยากจะพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของเรา วิธีไหนเหมาะสมที่สุด 1. อุคฆฏิตัญญู คือ พวกมีสติปัญญา ฉลาดเฉลียว เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมก็สามารถรู้และเข้าใจในเวลาอันรวดเร็ว เปรียบเสมือนดอกบัวที่อยู่พ้นน้ำ เมื่อต้องแสงพระอาทิตย์ก็จะเบ่งบานทันที หรือกลุ่มคนที่มีความพร้อมและมีพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ดีอยู่แล้ว ทำให้สามารถเรียนรู้ได้เร็ว และทำความเข้าใจในบทเรียนได้ง่าย คนกลุ่มนี้ควรเน้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้นักเรียนมีความท้าทายและกระตุ้นให้นักเรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ได้ด้วยตัวเอง 2. เนยยะ คือ พวกที่มีสติปัญญาปานกลาง  เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อได้ฟังธรรมแล้วพิจารณาตามและได้รับการอบรมฝึกฝนเพิ่มเติม ก็จะสามารถรู้และเข้าใจได้ในเวลาไม่ช้า เปรียบเสมือน ดอกบัวที่อยู่ปริ่มน้ำ ซึ่งจะบานในวันถัดไป หรือกลุ่มของคนที่มีพื้นฐานในการเรียนรู้ที่ดี แต่อาจขาดเทคนิคหรือแนวคิดในการเรียนรู้ที่เหมาะสม ทำให้มีปัญหาการเรียนรู้ในระยะแรก แต่หากได้รับการส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายก็จะสามารถเรียนรู้ได้ดีตามแนวทางเหมาะสมมากยิ่งขึ้นในอนาคต 3. ปทปรมะ คือ พวกที่มีสติปัญญาน้อย​ แต่เป็นสัมมาทิฏฐิ […]

พีระมิดแห่งการเรียนรู้ เรียนแบบไหนดีที่สุดสำหรับคุณ

พีระมิดแห่งการเรียนรู้ หรือ Learning Pyramid เริ่มต้นศึกษาและพัฒนาโดยNational Training Laboratories ตั้งแต่ช่วงปี 1960s เป็นเหมือนแนวคิดที่ทำให้เราเห็นภาพว่า ‘กิจกรรมแบบไหน’ ทำให้เราสามารถเรียนรู้ ซึมซับ และจดจำข้อมูลได้ดีที่สุด ถ้ารู้เรื่อง Learning Style ของแต่ละคน จะช่วยให้เข้าใจเรื่องนี้ได้ดียิ่งขึ้น เพราะนอกจากพีระมิดนี้แล้ว ความถนัดของแต่ละคนก็ย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการเรียนรู้ด้วยวิธีที่แตกต่างกัน 1. Visual เรียนรู้ผ่านการมอง 2. Auditory เรียนรู้ผ่านการฟัง 3. Read/Write เรียนรู้ผ่านการเขียน-อ่าน 4. Kinesthetic เรียนรู้ผ่านการลองทำ เอาล่ะ เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่า จากแนวคิด Learning Pyramid พฤติกรรมแบบไหนที่จะช่วยให้เราเรียนรู้ได้ดีที่สุด การเรียนในห้อง (Lecture) <10% การเรียนรู้ที่เราทำกันเป็นประจำคือการเรียนในห้อง อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่เราได้เรียนรู้น้อยที่สุด การนั่งฟังอาจารย์สอนอาจไม่ให้ผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพเสมอไป ซึ่งเราก็น่าพอมีประสบการณ์ในส่วนนี้กันดี แต่ถ้าอยากให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เรียนควรเตรียมตัวมาอย่างดี ควรมีการถกเถียงในห้องและมีการจดข้อมูลที่เป็นระบบ การอ่าน (Read) 10% การอ่านเป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ แต่ดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ค่อยให้ผลลัพธ์ที่ดีเท่าไหร่นัก อาจเป็นเพราะว่าคนไม่ค่อยชอบการอ่านหนังสือเชิงวิชาการกันอยู่แล้ว (ยกเว้นคนที่เป็น Visual Learner การอ่านจะมีประสิทธิภาพมากกว่าคนในกลุ่มอื่น) การได้ฟังและได้เห็น (Audio/Visual) 20% ไม่ว่าจะเป็นภาพ วิดีโอ เสียง หรือแผนภูมิ นับว่าเป็นตัวช่วยสำคัญที่ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนกันมากขึ้น ถึงแม้ว่าจะเป็นการเรียนรู้เพียงแค่ 20% แต่ในอนาคตการเรียนรู้แบบนี้น่าจะเติบโตอีกมากตามเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ามากขึ้น ที่สำคัญ สื่อเหล่านี้ยังช่วยให้เราเข้าใจในเนื้อหาที่มีความซับซ้อนหรือยากได้ดีขึ้นเช่น สารคดีที่หยิบยกการนำเสนอแบบภาพมาใช้ ด้วยการผนวกภาพจริง กราฟิกและโมชั่นเข้าด้วยกัน อย่าง Vox (https://bit.ly/2Dhu1ZY) หรือซีรีส์ Explained (https://bit.ly/2QF8Eok) การสาธิต (Demonstration) 30% ถ้าเราได้เห็นตัวอย่างจริง จะทำให้การเรียนรู้ของเราได้ผลมากขึ้น อาทิ การดูสาธิตวิธีสำรวจในพื้นที่การทำงานจริง การสาธิตอาจเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในกรณีที่เป็นเรื่องการลงมือทำ ถกเถียง–หารือ (Discussion) 50% การได้ออกความคิดเห็น ได้ถกเถียงในองค์ความรู้ กิจกรรมนี้ทำให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วม ได้ใช้ความคิด ได้มีความเชื่อมโยงกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า แน่นอนว่ามันทำให้คุณได้เรียนรู้มากขึ้นอีกด้วย ลงมือปฎิบัติ (Practice) 75% การได้ลงมือทำนับว่าเป็นการเรียนรู้ยอดนิยม และหลายฝ่ายก็เชื่อว่าเราจะจดจำข้อมูลต่างๆ ได้ดี เพราะเราจะได้เจอปัญหาจริง ได้ลองทำจริง ได้แก้ไขสถานการณ์ผ่านของจริง ที่สำคัญการได้ลงมือทำ จะทำให้ข้อมูลและความรู้เหล่านั้นถูกย้ายไปไว้ในส่วนของความจำในระยะยาว ซึ่งช่วยให้เราได้เรียนรู้เชิงลึกและจดจำได้ดีขึ้นนั่นเอง สอน (Teach) 90% การสอนนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่ดีที่สุด แต่หลายคนอาจจะมองข้ามเรื่องนี้ไป ถ้าสังเกตให้ดี เวลาเราจะสอนเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้ เราต้องมีความเข้าใจเรื่องนั้นอย่างทะลุปรุโปร่ง หาคำอธิบายที่ง่าย ยิ่งคุณสอนมากขึ้น คุณจะยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้นนั่นเองเราจะเห็นเลยว่าในส่วนแรก (การเรียนในห้อง การอ่าน การได้ฟังและได้เห็น การนำเสนอ) เป็นการเรียนรู้ในเชิงรับ (Passive) ซึ่งจะเป็นกิจกรรมที่เราไม่ค่อยได้เรียนรู้อะไรสักเท่าไหร่นัก เพราะมันเป็นการรับรู้จากคนอื่นแล้วค่อยเปลี่ยนแปลงมาเป็นความรู้ในแบบของเราสำหรับในส่วนที่สอง (การนำเสนอ ถกเถียง-หารือ ลงมือปฎิบัติ สอน) เป็นการเรียนรู้ในเชิงรุก (Active) ที่ต้องผ่านกระบวนการเข้าใจ ก่อนที่จะสะท้อนออกไปสู่ผู้อื่น ซึ่งเราจะเห็นเลยว่าในส่วนที่สองเป็นกิจกรรมทางการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพกว่านั่นเองการเรียนรู้ที่ดี อาจไม่ได้เป็นเพียงแค่การเรียนในห้องหรือการอ่านหนังสือก็ได้ ถ้าเราเรียนรู้เรื่องอะไรมา ก็อย่าลืมแจกจ่ายออกไป เพื่อที่เราจะได้เข้าใจเรื่องนั้นได้อย่างชัดเจนขึ้นด้วย

เริ่มต้นการวางโครงร่างวิจัย

1. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อที่เราจะกำหนดโครงร่างให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาในเอกสารค่ะ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องด้วยว่าเราจะเขียนเรื่องอะไรบ้างจะได้แตกย่อยหัวเรื่องได้ถูก เพื่อเขียนให้ตรงกลุ่มผู้อ่าน ผู้อ่านจะได้อะไรจากการอ่าน สิ่งเหล่านี้ต้องนำมากำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนนะคะ ​  Tip เรื่องของการเขียนประเด็นย่อ เป็น Keyword ที่เราอยากทำ และดูความเป็นไปได้ด้วยว่า สามารถทำได้ง่ายหรือไม่ ใช้เวลา ใช้ทุนทรัพย์ มากน้อยขนาดไหน กรณีเป็น dissertation ก็เขียนไปเยอะๆแล้วปรึกษาอาจารย์เลยค่ะ 2. เขียนรายงานฉบับร่าง (First Draft)  โดยกำหนดเป็นย่อหน้าที่แต่ละย่อหน้าจะเริ่มด้วยประโยคสำคัญแล้วตามด้วยคำอธิบายค่ะ ตัวอย่าง ข้อความขยายและจบด้วยประโยคสรุป หรือประโยคที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาในย่อหน้าต่อไป โดยใช้ภาษาที่ง่าย ๆ ชัดเจน ไม่ใช้ศัพท์วิชาการที่เกินความจำเป็น และควรมีการสรุปประเด็นที่สำคัญในหัวข้อแต่ละหัวข้อ Tip แตกแยกร่าง ย่อยเรื่องราวนั้นออกมา เช่น รูปแบบงานวิจัย เชิงปริมาณคุณภาพ จำนวนประชากร รูปแบบการเก็บข้อมูล ระยะเวลาในการดำเนินงานวัตถุประสงค์ ทฤษฏีต่างๆที่จะมารองรับหรือใช้ในงานวิจัย พยายามเลือกหัวข้อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เรียนนะคะ จะได้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับทุนหรือในระดับที่เรียนประเด็นปัญหาทันยุคทันสมัยค่ะ 3. ชื่อเรื่อง ตั้งชื่อเรื่องได้อ่านง่าย เห็นภาพชัดเจนไม่สั้นไม่ยาวเกินไปอ่านเข้าใจได้ว่า ต้องการศึกษาอะไร กลุ่มตัวอย่าง หรือกรณีศึกษาคือใคร ที่ไหน แบบไหน และก็อ่านแล้วสามารถเดาทางได้ว่าวัตถุประสงค์คืออะไร เช่นประสิทธิผลของการออกกำลังกายกับการลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานชุมชนส่วนใหญ่ จังหวัดนนทบุรี พ.ศ.2562 กรณีที่ชื่อยาวมาก ให้แบ่งเป็นสองตอนค่ะ ใช้ตอนแรกบอกความสำคัญ ตอนสองเป็นเพียงส่วนประกอบ เช่นระดับน้ำตาลในเลือดและการออกกำลังกาย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน:การเปรียบเทียบระหว่างชุมชนสวนใหญ่กับชุมชนบางกร่างในจังหวัดนนทบุรี 2562 ข้อควรระวังในการตั้งชื่องานวิจัย • ไม่ชัดเจน คลุมเครือ • ยาวเกินไป • ไม่สอดคล้องกับประเด็นสำคัญที่ต้องการศึกษา 4.บทนำ/ที่มาและความสำคัญของปัญหา ควรเขียนอธิบายกล่าวถึงปัญหา ควรเขียนสัก 2-3 หน้าสำหรับ research proposal นี่กำลังดีเลยดีค่ะ  Tip ให้เขียนแบบสามเหลี่ยมควำนะคะ คือจากกว้างไปแคบ เช่น ประเทศ-ภาค-จังหวัด เป็นต้นค่ะ ซึ่งในความเป็นจริงสามารถเขียนได้หลายรูปแบบ แล้วแต่การนำเสนอเลยค่ะ  ✔ บุคคล ✔ สถาบัน/องค์กร ✔ พื้นที่เฉพาะ (เมือง ชนบท ✔ ภูมิภาค ✔ ประเทศ  ✔ ต่างประเทศ/นานาประเทศ หัวใจของการเล่าเรื่องให้น่าติดตาม หรือมีความสนใจนั้น ต้องทำให้รู้สึกร่วมเสมือนว่าฟังเพลงอินโทร แล้วอยากฟังเพลงนี้ให้จบ บทนำก็เช่นกันค่ะ อย่าลืมว่า คุณมีโอกาสแค่กระดาษไม่กี่แผ่นในการเย็บส่งกรรมการแค่นั้น ฉะนั้นโชว์สกิลให้ความรู้ความสามารถ ทั้งในศาสตร์ที่คุณทำและทักษะการทำวิจัย งัดออกมาให้หมดเลยค่ะเขียนให้กรรมการรู้สึกว่า เรื่องราวนี้ “สำคัญ” ตระหนักรู้สนใจ ด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ Tip ดูจากชื่อเรื่องหลักและมาแตกแยกประเด็นย่อย จากนั้นเอาความคิดย่อยมาขยายออก โดยที่เราคิดอะไรก็ได้ แตกประเด็นความคิดไว้ก่อน ใช้  Mind map ช่วยจัดระบบความคิดดูก็ได้ค่ะ จากนั้นค่อยมาต่อจิ๊กซอว์ ลองจัดระบบความคิดเรียบเรียงประเด็นต่างๆ จากกว้างไปแคบ เพื่อเข้าสู่ประเด็นปัญหา อันไหนที่เราดูแล้วที่แทรกไม่ได้ก็ทิ้งไป ความคิดไหนที่ดูแล้วโอเค ก็รวมแยกไว้อีกย่อหน้าหนึ่งแล้วค่อยมารวมกันก็ได้ค่ะ 5. ปรับปรุงรายงานฉบับร่าง โดยการอ่านทบทวนหลาย ๆ ครั้ง และอาจมีเอกสารและงานวิจัยเพิ่มเติมควรจะนำมาสอดแทรก และปรับปรุงได้ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการวิจัย เพราะการทำวิจัยไม่ใช่การยกเมฆ หรือคิดทึกทักไปเอง จำเป็นต้องมีการอ้างอิง แทรกในเนื้อหาด้วยว่าแนวความคิดนี้มีอยู่จริง ถึงแม้จะเป็นเรื่องที่รู้ๆกันอยู่แล้ว เช่น มลพิษในอากาศสูง เศรษฐกิจไม่ดี เป็นต้นและควรเป็นหนังสือ วารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ที่ไม่ใช่ออนไลน์ก็จะยิ่งดูน่าเชื่อถือค่ะ จากนั้นก็เอาเนื้อหาย่อยๆ มาปะติดปะต่อ ใส่คำเชื่อมร้อยเรียบเรียงเรื่องราวให้สละสลวยค่ะ อย่าลืมที่จะใส่ ส่วนของคำนำเนื้อเรื่อง สรุปด้วยนะคะ รวมถึงไอเดียที่ทำให้คนอ่านเข้าใจง่าย 6. แล้วทำการปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น โดยไม่ต้องเสียดายของเดิม เพราะถ้าดีเค้าก็ให้ผ่านแล้วค่ะหลังจากนั้นให้ลงมือเขียน แล้วก็อ่าน และแก้ไข แล้วเขียนแล้วแก้ไข ทำสักสองสามรอบจากนั้นเราจะรู้ว่าเขียนดีเป็นอย่างไรข้อต่อมาที่สำคัญ คือ 3 อย่า 1 อย่าลืมตรวจคำผิด 2 อย่าลืมเว้นวรรค […]