5 ทักษะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานวิจัย
บทความนี้เราจะพาคุณพบกับ 5 ทักษะ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานวิจัยและที่สำคัญ ทักษะเหล่านี้ยังสามารถนำไปปรับใช้ในการทำงานอื่นๆ ของคุณได้เป็นอย่างดี 1. การอ่านช่วยสร้างสมาธิด้วย การอ่านนอกจากจะทำให้เราได้รับความรู้เพิ่มขึ้นแล้ว จะช่วยพัฒนาสมาธิได้ดี ทำให้สามารถจดจ่ออยู่กับสิ่งต่างๆ ตรงหน้าได้นาน สิ่งที่เป็นที่ตามมาจะทำให้เป็นคนช่างสังเกต ใส่ใจรายละเอียด และสามารถจับประเด็นจากเรื่องที่อ่านได้เป็นอย่างดี ทำให้สามารถเชื่อมโยงประเด็นและเกาะติดกับประเด็นนั้นได้ *ทริคง่ายๆ ที่จะทำให้คุณอ่านและจับประเด็นได้ง่าย คือ เขียนสรุปประเด็นที่อ่านใส่โน้ตย่อไว้ จะเป็นการเตือนความจำ เมื่อคุณต้องการที่จะใช้ความรู้ที่ได้จากประเด็นเหล่านั้นได้ง่าย 2. รับฟังเพื่อกลั่นกรองข้อมูล นอกจากการอ่านแล้ว การฟังเป็นทักษะที่ควรพัฒนา เพราะการฟังจะทำให้คุณได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่าจากการสนทนาและการฟัง ทักษะการฟังที่ดี คือ ไม่ด่วนตัดสินตีความไปก่อนจนหว่าจะฟังจบ ไม่เอาความคิดเห็นตนเป็นที่ตั้งว่าสิ่งนั้นถูกหรือผิด คุณควรจะรับฟังเพื่อข้อมูลก่อนและค่อยๆ คิดวิเคราะห์ตาม 3. คิดต่าง มองต่าง “การพัฒนาทักษะในการคิด โดยการตั้งคำถามกับสิ่งต่างๆ อยู่เสมอ จะทำให้คุณมองเห็นมุมมองในด้านต่างๆ ผลักดันให้อยากรู้ อยากทดลอง จนเกิดความรู้ใหม่ๆ ให้แก่ตนเอง” สำหรับการเขียนทุกประเภททักษะการคิด จะช่วยให้งานของคุณถ่ายทอดผลงานที่มีความแตกต่าง ไม่ซ้ำใคร เพราะการที่คุณมีความคิดที่เป็นระบบ มีจินตนาการ และคิดนอกกรอบ สำหรับการทำงานวิจัยจะช่วยทำให้คุณสามารถคาดการณ์ผลลัพธ์ล่วงหน้าได้ และมองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น สามารถเขียนเรียบเรียงงาน ถ่ายทอดผลงานออกมาได้อย่างเป็นระเบียบ และเป็นขั้นตอน […]
10 เทรนด์ของโลกที่น่าจับตามองในปี 2022
อย่างที่รู้กันว่า.. ปี ค.ศ.2021 นี้ เป็นปีที่ทั่วโลกต้องปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อก้าวผ่านวิกฤตโรคระบาด ในปี ค.ศ.2022 ที่กำลังจะถึง โลกก็จะยังต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลจากวิกฤตในปีนี้ อย่างเช่นวิถีการทำงานและการท่องเที่ยวแบบใหม่ ไปจนถึงเทรนด์ที่กำลังจะเกิดขึ้นและอาจทำให้เจอกับสถานการณ์ที่ไม่เคยเจอมาก่อน อย่างการผงาดขึ้นของจีนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในบทความนี้ เราได้รวบรวม 10 เทรนด์ของโลกที่น่าจับตามองในปี 2022 1. ประชาธิปไตย vs เผด็จการ (Democracy vs Autocracy) ปีหน้าจะมีการเลือกตั้งมิดเทอมของอเมริกา และการประชุมใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เราน่าจะได้เห็นความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญจากสองระบอบการเมืองจากสองขั้วมหาอำนาจของโลก ฝ่ายไหนจะสร้างความมั่นคง การเติบโต และนวัตกรรมได้มากกว่ากัน? ทั้งในด้านการค้าขาย การกำกับดูแลด้านเทคโนโลยี การพัฒนาวัคซีน ไปจนถึงเรื่องของสถานีอวกาศ 2. โรคระบาดใหญ่ที่กลายเป็นโรคประจำถิ่น (Pandemic to Endemic) ในปีหน้า เราจะได้พบกับยาต้านไวรัสชนิดใหม่ การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันที่พัฒนาขึ้น และวัคซีนอื่นๆ ที่กำลังพัฒนาตามมา สำหรับผู้ที่ได้รับวัคซีนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ไวรัสจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตอีกต่อไป แต่มันจะยังคงก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงในประเทศกำลังพัฒนา เว้นแต่จะสามารถเพิ่มวัคซีนได้ และ COVID-19 จะกลายเป็นโรคประจำถิ่นอีกโรคหนึ่งที่สร้างความทุกข์แก่คนจน แต่ไม่ใช่คนรวย 3. เงินเฟ้อ […]
4 เทคนิคคิดหัวข้อ IS ตั้งยังไงให้ผ่านฉลุย
ในระดับการศึกษาปริญญาโทนอกจาการทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) สิ่งสำคัญประการหนึ่งที่จะต้องจัดทำ คือ การค้นคว้าอิสระ หรือการทำ is (independent study) ซึ่งบทความนี้เราจะมาพูดถึงเทคนิคการตั้งหัวข้อ is อย่างไรถึงผ่านง่าย เป็นขั้นตอนง่ายๆ ที่คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้จริง พบกับ 4 เทคนิคคิดหัวข้อ is ตั้งยังไงให้ผ่านฉลุย เทคนิคที่ 1 คิดหัวข้อจากปัญหาและความสงสัยในเรื่องที่ตนเองสนใจ การตั้งหัวข้อ is เริ่มจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมรอบตัว หรือมีสิ่งที่คุณสงสัยต้องการหาคำตอบของเรื่องนั้นๆ โดยเริ่มต้นจากตัวของผู้ที่จะทำนั่นเอง หัวข้อที่ดีต้องไม่ซ้ำกับเรื่องที่มีผู้ทำก่อนนี้แล้ว เนื่องจากจะไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ปัญหาของตนเองที่ต้องการรู้ได้ เทคนิคที่ 2 ชื่อเรื่องที่แปลกใหม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หัวข้อที่มีความแปลกใหม่และแตกต่างจากเรื่องที่เคยมีผู้ทำมาแล้ว มีโอกาสที่จะทำให้การเสนอหัวข้อ is ต่ออาจารย์ที่ปรึกษาผ่านการขออนุมัติได้ง่ายขึ้น เพราะการตั้งหัวข้อแบบเดิมๆ ที่มีคนทำมาแล้วไม่สามารถดึงดูดความสนใจและเห็นความแตกต่างจึงทำให้มีโอกาสผ่านการอนุมัติได้ยาก เทคนิคที่ 3 หัวข้อเรื่องต้องมีความชัดเจนว่าต้องการค้นคว้าอะไร หัวข้อการทำ is จะต้องกำหนดประเด็นปัญหาที่ต้องการค้นคว้าให้ชัดเจน เช่น ศึกษาอะไร มีกลุ่มประชากร กลุ่มตัวอย่างเท่าไหร่ ทำที่ไหน อย่างไร ระเบียบวิธีการศึกษาค้นคว้ามีว่าอย่างไรบ้าง เพราะชื่อหัวข้อเปรียบเสมือนแนวทางที่กำหนดแผนการในการทำงานที่ดีตั้งแต่เริ่มต้น เพราะหากไม่มีแนวทางที่ดีและชัดเจน ในการลงมือปฏิบัติจริงจะทำให้เกิดความสับสน ทำงานซ้ำซ้อนไปมา […]
9 ปัญหายอดฮิตที่พบได้จากการทำงานวิจัย
จากประสบการณ์การทำงานวิจัย เป็นที่ปรึกษาในการทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์ให้แก่ลูกค้าหลายๆ ท่าน เราได้พบปัญหาในการทำงานที่ทำให้ผู้เรียนหรือผู้วิจัยๆ หลายๆ ท่านนั้นเกิดปัญหา ซึ่งในบทความนี้ ทางเราได้สรุปปัญหาที่พบเจอแบบสั้นๆ ไว้ 9 ข้อดังต่อไปนี้ 1. ชื่อเรื่องการวิจัยไม่ชัดเจน ชื่อเรื่องวิจัยนั้นเป็นปัญหาอันดับแรกที่ทำให้ผู้วิจัยหลายๆ คนปวดหัว เพราะส่วนใหญ่คือ ชื่อเรื่องไม่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาวิจัย หรือชื่อเรื่องแคบเกิน ไม่ชัดเจน ซึ่งไม่ครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย เป็นต้น 2. ความเป็นมาและความสำคัญไม่ชัดเจน การเขียนความเป็นมาและความสำคัญ ปัญหาที่พบส่วนใหญ่ คือ กล่าวถึงภาพรวมทั่วๆไปของหัวข้อวิจัย แต่ขาดเหตุผลในการสนับสนุนข้อมูลที่ชัดเจนว่า “เพราะอะไรถึงศึกษาวิจัยหัวข้อนี้?” โดยเฉพาะสถานที่หรือพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัยในหัวข้อนั้นๆ ในส่วนนี้สถานที่หรือพื้นที่ในการศึกษาวิจัย ไม่ได้มีปัญหา แต่เป็นตัวผู้วิจัยเองที่สนใจอยากจะทำการศึกษา อาจด้วยเพราะเป็นรูปแบบที่ผู้วิจัยถนัด แต่กลับทำให้เกิดปัญหา คือ ทำให้การเขียนความเป็นมาและความสำคัญออกมาในภาพรวมๆ ทั่วไปแต่กลับไม่ได้กล่าวถึงสถานที่หรือพื้นที่ที่ต้องการศึกษาวิจัยว่า เพราะอะไรถึงจะต้องทำการศึกษาในสถานที่หรือพื้นที่นั้นๆ 3. วัตถุประสงค์กับสมมติฐานการวิจัยไม่สอดคล้องกัน วัตถุประสงค์นั้นเป็นแนวทางหรือเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้ ส่วน สมมติฐาน คือ การคาดการณ์ของสิ่งที่จะเกิดขึ้น ในบริบทของการทำงานวิจัยที่ใช้ส่วนใหญ่ คือ ความสัมพันธ์ กับ ความแตกต่าง 4. เขียนประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับไม่ถูกต้อง […]
5 เหตุผล ทำไมคุณไม่ควรลงมือทำวิทยานิพนธ์ทั้งหมดด้วยตนเอง
เหตุผล ทำไมคุณไม่ควรลงมือทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ทั้งหมดด้วยตนเอง นั้นมีอยู่มากหลายแล้วแต่ว่าใครจะยกมาเป็นเหตุผล เพื่อที่จะได้ไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่จะมีเพียงไม่กี่สิ่งที่เป็นเหตุผลหลัก ๆ ที่คุณไม่ควรทำวิทยานิพนธ์ด้วยตัวเอง พบกับ 5 เหตุผล ว่าทำไมคุณไม่ควรลงมือทำวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง ดังต่อไปนี้ 1. การทำวิทยานิพนธ์เป็นงานที่ต้องใช้ระยะเวลา งานวิทยานิพนธ์นั้นเป็นงานที่ผู้เรียนระดับปริญญาทุกระดับต้องทำ ตั้งแต่ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก แต่อาจจะมีชื่อเรียกที่แตกต่าง เพื่อที่จะแสดงถึงความยากและระดับชั้นที่สูงขึ้นไป ประเด็นหลักที่จะถูกกล่าวถึงในหัวข้อนี้ คือ ระยะเวลาที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ โดยเฉลี่ยแล้ว อยู่ที่ประมาณ 4 เดือน หรือประมาณหนึ่งเทอมของการศึกษาทั่วไป ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานพอสมควรเลยทีเดียว และระยะที่ต้องทำงานวิทยานิพนธ์นี้ ซึ่งจะเป็นปัญหาอย่างมากกับผู้เรียนที่ต้องทำงานหรือประกอบอาชีพไปด้วยในระหว่างการศึกษาอยู่ หรือบางคนอาจจะเป็นบุคคลที่มีครอบครัวที่ต้องดูแล แต่ต้องการที่จะศึกษาต่อ ก็จะมีปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเวลาที่จะทำงานวิทยานิพนธ์อย่าง เรื่องระยะเวลาในการทำงานวิทยานิพนธ์นี้ จึงเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ผู้เรียนไม่ควรจะทำงานวิทยานิพนธ์ด้วยตนเอง และควรที่จะจ้างให้ทางบริษัทรับทำวิทยานิพนธ์ดำเนินการแทน เพื่อแบ่งเบาภาระงาน ให้คุณได้มีเวลาในการพักผ่อน และศึกษาข้อมูลในการเตรียมนำเสนอได้มากขึ้น 2. รูปแบบการทำวิทยานิพนธ์นั้นมีหลากหลาย วิทยานิพนธ์ที่มีหลายรูปแบบ ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่คุณไม่ควรทำด้วยตนเอง เนื่องจากด้วยวิทยานิพนธ์ที่มีรูปแบบนั้น ย่อมทำให้เกิดความสับสนและผิดพลาดได้ง่าย เพราะแต่มหาวิทยาลัยก็มีความแตกต่างกัน มีกฎ ระเบียบ และรูปแบบการดำเนินงานวิทยานิพนธ์ที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้เรียนหลายคนจบล่าช้า แม้จะเป็นปัญหาที่ยิบย่อยที่เล็กน้อย แต่ก็เป็นรายละเอียดที่สำคัญและต้องใส่ใจมาก […]
7 คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัย
ในการทำงานวิจัยใด ๆ ก็ตามผู้วิจัยหรือนักวิจัยนับเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะงานวิจัยจะสำเร็จสมความมุ่งหมายหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับนักวิจัยเป็นสำคัญ ดังนั้นการมี 7 คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับนักวิจัยจึงสำคัญ นักวิจัยควรต้องมีคุณลักษณะที่จำเป็นบางประการดังต่อไปนี้ 1. มีความรู้พื้นฐานในสาขาวิชาที่ทำการวิจัยเป็นอย่างดี นับเป็นความจำเป็นมากที่นักวิจัยจะต้องมีความรู้เป็นอย่างดีในสาขาวิชาที่ตนทำการวิจัยอยู่เพื่อจะได้เลือกใช้เทคนิค วิธีการและเครื่องมือให้เหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของงานวิจัยนั้น และสามารถค้นหาหรือเลือกใช้ความรู้จากงานวิจัยที่แล้วมาได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้การที่นักวิจัยมีความรู้ดีก็จะสามารถสรุปผลของข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ฉะนั้นนักวิจัยจึงต้องค้นคว้าติดตามอ่านผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ เพื่อจะได้ศึกษาความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคนิคใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา 2. มีความรอบรู้ในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ นักวิจัยจ้ะองมีความรู้ในวิชาอื่นด้วย เพราะในการวิจัยนั้นอาจจะพาดพิงหรือเกี่ยวข้องกับวิชาต่าง ๆ อยู่บ้าง เนื่องจากขอบเขตของการวิจัยไม่สามารถจะแยกออกไปได้อย่างชัดเจนเหมือนวิชาเรียนในห้องเรียน เช่น การศึกษาเรื่องการคายน้ำของพืช ก็ต้องอาศัยความรู้ทางชีววิทยาและเคมี เป็นต้น ฉะนั้นนักวิจัยจึงต้องศึกษาและขวนขวายหาความรู้เพิ่มเติมในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งอาจจะกลับไปทบทวนความรู้ที่เคยเรียนมาก่อนหรือไม่ก็ต้องศึกษาเพิ่มเติม 3. มีความอยากรู้อยากเห็น นักวิจัยที่ดีต้องมีความกระตือรือร้นในการทำงานวิจัยเพื่อหาความรู้ใหม่ ๆ ตามที่ตนเองสนใจ แม้จะได้ผลวิจัยแล้วก็ไม่ยอมหยุดที่จะทำการวิจัยต่อไปเพื่อค้นหาให้ได้คำตอบใหม่ ๆ ออกมาอีก ในการวิจัยเพื่อค้นหาคำตอบนั้นอาจจะพบปัญหาเพิ่มขึ้นซึ่งจะเป็นการท้าทายนักวิจัยและนักวิจัยก็จะไม่ยอมหยุดยั้งที่จะค้นหาคำตอบของปัญหานั้น ๆ ให้ได้ การที่นักวิจัยมีความอยากรู้อยากเห็นอยากที่จะได้คำตอบของปัญหาต่าง ๆ นี้ ทำให้เกิดความก้าวหน้าในศาสตร์ด้านต่าง ๆ เป็นอันมาก เช่น ความอยากรู้ของเบนจามิน แฟรงคลิน ถึงสาเหตุของการเกิดฟ้าแลบฟ้าผ่า ก็ได้มีการค้นคว้าทดลองจนได้คำตอบในที่สุด […]
12 เคล็ดลับ การใช้ Google สืบค้นข้อมูล เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้น
เชื่อว่าแทบทุกคนใช้ Google ค้นหาข้อมูลเป็นประจำอยู่แล้ว รวมถึงค้นหาข้อมูลเพื่อการทำงานวิจัยด้วย แต่บางครั้งสิ่งที่เราค้นหาอาจจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราต้องการ หรือค้นหาข้อมูลไม่เจอ ไม่รู้จะทำยังไง แต่พออาจารย์ค้นหาให้ดูกลับเจอ ทำไมกันละ? อาจเพราะคุณไม่รู้เทคนิคการค้นหาด้วย keyword ที่เหมาะสม เพื่อได้ข้อมูลที่ตรงใจคุณมากที่สุด ฉะนั่น วันนี้ Researcher Thailand จะมาแชร์ “12 เคล็ดลับ การใช้ Google สืบค้นข้อมูล เพื่อชีวิตที่ง่ายขึ้น” 1. สืบค้นข้อมูลจากการเลือกดาวน์โหลดเฉพาะประเภทไฟล์ที่ต้องการ สูตร: คำที่ต้องการ(เว้นวรรค) ตามด้วย ชื่อประเภทไฟล์ ตัวอย่าง “คู่มือการตลาด pdf” จากสูตรนี้ คุณสามารถเลือกประเภทไฟล์ที่ต้องการดาวน์โหลดไปใช้งานได้ไม่ว่าจะเป็น pdf, docs, pptx และ xlsx ซึ่ง Google จะแสดงผลลัพธ์เกี่ยวข้องกับคำที่อยากค้นหา เฉพาะประเภทไฟล์ที่เราต้องการ 2. สืบค้นข้อมูลจากการเจาะจงข้อมูลที่ต้องการค้นหา ภายในเว็บไซต์นั้นๆ สูตร: site:ชื่อเว็บไซต์(เว้นวรรค)คำที่ต้องการค้นหา หรือ คำที่ต้องการค้นหา(เว้นวรรค)site:ชื่อเว็บไซต์” ตัวอย่าง “site:researcherthailand.co.th” คอนเทนต์” จากเทคนิคนี้ […]
การใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้จริง
เมื่อกล่าวถึงคำว่า “งานวิจัย” หลายคนคงนึกถึงนักวิชาการครูบาอาจารย์ นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ที่ต้องมีบทบาทในการศึกษาวิจัยในประเด็นต่างๆ หากพูดถึงชาวบ้านโดยทั่วไป ซึ่งเป็นคนเล็กคนน้อยในสังคม คงยากที่จะทำวิจัยได้ หากแต่มีงานวิจัยอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่างานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community Based Research : CBR) ที่ให้ความสำคัญในการพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นให้ “คน” ในชุมชนท้องถิ่นเกิดการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยได้จริง ด้วยการเข้าร่วมกระบวนการวิจัยทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ชุมชนเพื่อกำหนดโจทย์/คำถามวิจัย การทบทวนทุนเดิมในพื้นที่ สถานการณ์ปัญหาผลกระทบที่มีต่อชุมชนในทุกมิติ จนสามารถสรุปได้ว่าอะไรที่เป็นโจทย์ร่วมของชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นทุกข์ร่วมของชุมชน (ทุกข์หน้าหมู่) และนำไปสู่การออกแบบการวิจัย และการวางแผนปฏิบัติการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล การทดลองปฏิบัติจริง เพื่อสร้างรูปธรรมในการตอบโจทย์วิจัยหรือแก้ปัญหาในพื้นที่วิจัย ตลอดจนการประเมินผลและสรุปบทเรียน รวมถึงสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างนักวิจัยชาวบ้าน คนในชุมชนท้องถิ่น นักวิชาการ สถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐนักพัฒนาและผู้ทรงคุณวุฒิที่จะได้เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อสร้างความรู้และกลไกการจัดการปัญหา เพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองของชุมชนในพื้นที่วิจัย อำเภอบ่อเกลือ จะเป็นพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกล โอบล้อมด้วยขุนเขาและสายน้ำและผืนป่าที่ยังคงมีความอุดมสมบูรณ์อยู่ มีเขตการปกครองอยู่ 4 ตำบล คือ ตำบลบ่อเกลือเหนือ ตำบลบ่อเกลือใต้ ตำบลภูฟ้าและตำบลดงพญา 39 หมู่บ้าน มีจำนวนประชากรทั้งหมด 14,907 คน ประชากรส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลัวะ คนเมืองและม้ง […]
หนูรับไม่ได้กับการโกงการวิจัย
ไม่รู้จะไปต่ออย่างไร สรุปคือนอกจากจะต้องเครียดเรื่องแลปแล้วยังจะต้องมาเครียดเรื่องคน (ซึ่งก็คืออาจารย์ที่ปรึกษา) ทำให้หนูอดอิจฉาเพื่อนๆแลปอื่นไม่ได้ เพื่อนบางคนพูดกับหนูว่าหากเค้าตั้งใจทำแลปอย่างสุดความสามารถแล้วแต่ถ้าผลที่ได้ไม่เป็นไปตามคาดหรือเกิดปัญหาอะไรขึ้น ถึงจะเครียดแต่ลึกๆก็ก็ยังรู้สึกอุ่นใจว่ายังมีอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะสามารถช่วยเหลือให้ปัญหาทุกอย่างผ่านไปได้ หนูฟังแล้วน้ำตาจะไหล แต่สุดท้ายตอนนั้นหนูก็บอกกับตัวเองว่าโอเค ถ้าแกวีนแค่เรื่องงานเราอดทนได้ (ถึงตรงนี้หนูขอแสริมว่าหลังจากเข้าแลปหนูมีโอกาสได้เจออาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ของอาจารย์ที่ปรึกษาหนู ที่หนูเคยไปคุยด้วยอะค่ะ เจออยู่สองสามครั้ง ครั้งนึง แกก็มาถามว่าอยู่แลปนี้เป็นไง และบอกอีกว่า อาจารย์แกก็เป็นแบบนี้แหละนะ อ่าว! ครั้งต่อมาแกก็พูดว่าแกบอกกับตัวเองว่าถ้าตัวเองเป็นอาจารย์จะไม่ทำตัวแบบอาจารย์ที่ปรึกษาหนู อ่าว! ตอนแรกไม่เห็นจะให้ข้อมูลอะไรเราเลยเรื่องนิสัยส่วนตัวอาจารย์) หนูก็อดทนมาเรื่อยๆจนเข้าปีที่สี่ มันมีเหตุการณ์คือ อาจารย์แกเหมือนมีอคติกับหนู หนูไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ได้แต่สันนิษฐานว่า หนูอาจไปทำอะไรที่กระทบ ego แกและทำให้แกเสีย self และ ตอนนั้นแลปมีปัญหาหนูก็ทำการทดลองสองสามอย่างเพื่อหาทางแก้ปัญหานั้น แต่หนึ่งในการทดลองที่หนูทำหนูไม่ได้ปรึกษาแกก่อน หนูหาข้อมูลเองแล้วก็ลองทำ preliminary experiment เล็กๆ และพบว่าแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ หนูจึงเอาไปบอกแก แต่หนูไมรู้จริงๆว่าการที่หนูทำ preliminary experimentข้างต้นนั้นไปทำให้แกโกรธมากๆได้อย่างไร เวลาพูดเรื่องนี้ทีไรแกก็เอาแต่ต่อว่า และพูดว่าจะทำทำไม ทำไปก็เอาลงเปเปอร์ไม่ได้ (แต่สำหรับหนูคิดว่า อย่างไรซะมันก็คือกระบวนการเรียนรู้ จะผิดจะถูกสามารถแนะนำกันดีๆได้ ไม่เห็นว่าจะต้องต่อว่ากันขนาดนี้) นอกจากนี้ พอหนูจะไป present งานให้ thesiscommittee ฟังหนูต้องทำ presentation […]
10 ลำดับความสำคัญสำหรับงานวิจัย
ในบทความนี้เราจะมาแนะนำ และช่วยจัดลำดับความสำคัญสำหรับการทำงานวิจัย 10 ลำดับความสำคัญสำหรับงานวิจัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับใช้สำหรับการทำงานวิจัยของคุณให้มีคุณภาพ และสำเร็จได้เร็วขึ้น พบกับ 10 ลำดับขั้นตอนความสำคัญในการทำงานวิจัยให้สำเร็จได้เร็วขึ้น… กำหนดเนื้อหางานวิจัยจากสิ่งที่สนใจทำการศึกษาเริ่มจากการกำหนดเนื้อหางานวิจัยจากเรื่องที่คุณสนใจก่อน เพราะจะทำให้คุณสามารถทำการกำหนดเนื้อหา ขอบเขตหรือขอบข่ายของงานวิจัยนั้นๆ ให้มีความชัดเจน และง่ายยิ่งขึ้น ศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎีจากงานวิจัยเกี่ยวข้อง เพื่อนำมาพัฒนาต่อยอดศึกษาจากงานวิจัยที่มีผู้วิจัยศึกษาค้นคว้าสำเร็จแล้ว อ่านและวิเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยเล่มนั้นๆ ว่าสามารถนำมาพัฒนา ต่อยอดงานวิจัยของผู้วิจัยได้หรือไม่ มีการทดลองและแหล่งที่มาในการตรวจสอบที่ชัดเจน มีการกำหนดตัวแปรใดบ้างที่นำมาใช้ในการทดสอบงานวิจัยได้จริง สามารถช่วยผู้วิจัยมองเห็นปัญหางานวิจัยนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน หัวข้อเรื่องวิจัย“หัวข้อ” เป็นสิ่งแรกที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจในงานวิจัยของคุณ ดังนั้น หัวข้อเรื่องวิจัยจะต้องมีความกระชับและชัดเจน สามารถอธิบายถึงปัญหาและสิ่งที่จะส่งผลต่องานวิจัยได้ ตั้งสมมติฐาน“สมมติฐาน” คือ การคาดคะเนคำตอบที่ใช้สำหรับตอบคำถามของปัญหางานวิจัย ว่าควรจะเป็นไปในทิศทางใด โดยอ้างอิงจากหลักการและแนวคิดจากทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ศึกษา ว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นมีความสอดคล้อง และสมเหตุสมผลมากน้อยเพียงใด แหล่งที่มาของข้อมูลที่ชัดเจนแหล่งที่มาของข้อมูลงานวิจัย หรือแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ จะต้องเป็นแหล่งข้อมูลที่ชัดเจน มีความสอดคล้องกับเนื้อหางานวิจัย ว่างานวิจัยเรื่องนี้ศึกษาเกี่ยวกับอะไร ข้อมูลที่ใช้ในการทำงานวิจัยมีความน่าเชื่อถือมากพอหรือไม่ แหล่งข้อมูลอยู่ที่ไหน กลุ่มตัวอย่างเป็นใคร มีขั้นตอนการเก็บข้อมูลอย่างไร และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีใด เป็นต้น สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในงานวิจัยการจัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย จะพิจารณาจากรูปแบบของงานวิจัย และความต้องการประเภทของข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยเป็นสำคัญ โดยผู้วิจัยจะทำการกำหนดและเลือกเครื่องมือให้เหมาะสมกับงานวิจัยให้ได้มากที่สุด ซึ่งก่อนนำไปใช้จริง ผู้วิจัยควรทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ว่ามีประสิทธิภาพและมีความเที่ยงตรงสำหรับใช้ในงานวิจัย […]