วิทยานิพนธ์ (Thesis) กับ สารนิพนธ์ (IS) ต่างกันยังไง?
บทความนี้ เราจะช่วยไขข้อข้องใจที่ถึง 3 ความแตกต่างที่จะทำให้คุณเข้าใจได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้นว่าวิทยานิพนธ์ (Thesis)กับสารนิพนธ์ (IS) ต่างกันยังไง? วิทยานิพนธ์ (Thesis) งานวิทยานิพนธ์ คือ การศึกษาค้นคว้างานวิจัย หรือการเขียนงานวิชาการที่ผู้เรียนในระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอกต้องจัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจบการศึกษา รับปริญญา เพื่อเป็นเกียรติคุณและ เป็นไปเบิกทางในสายอาชีพต่างๆ ที่ตนเองสนใจในอนาคต สารนิพนธ์ (Independent Study) สารนิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ (IS) คือ การศึกษาวิจัยอิสระโดยการค้นคว้าทำความเข้าใจกับความรู้นั้น ๆ แบบไม่จำกัดรูปแบบของการศึกษา กลั่นกรองความรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ศึกษาวิจัยไว้แล้ว นำมาสรุปใหม่ให้อยู่ในหัวข้อเรื่องเดียวกัน แต่มีเนื้อหาต่างกัน และ ศึกษาได้ง่ายกว่า ฉะนั้น สารนิพนธ์กับวิทยานิพนธ์นั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของ… แนวคิด (Concept) และ ตัวแปร (Variable) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ในการทำงานสารนิพนธ์จะศึกษาแนวคิด (Concept) หรือตัวแปร (Variable) ที่มักจะมีตัวแปรต้น 2 ตัวแปร หรือตัวแปรตาม 1 ตัวแปร ให้เหมาะกับการใช้สถิติ หรือการวิเคราะห์อย่างง่าย และงานวิทยานิพนธ์นั้นจะศึกษาแนวคิดความสัมพันธ์เชิงเหตุผล (Causal Relationship) […]
14 เว็บไซต์ฐานข้อมูลงานวิจัยสำหรับนักศึกษาหรือนักทำวิจัย
1.) Dissertations.se 2.) ฐานข้อมูลในการทำวิจัย สามารถค้นหาได้แบบง่ายๆ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทคัดย่อ วารสารวิชาการ เอกสารการประชุมสัมนา ร่างบทความจากมหาวิทยาลัยต่างๆ สิทธิบัตร รวมถึงมีวรรณกรรมทางวิชาการอีกด้วย 3.) BASE academic search engine สืบค้นฐานข้อมูลของสถาบันการศึกษาทั่วโลก แบบ open access 4.) EThOS e-theses Online Service 5.) DOAJ (Directory of Open Access Journals) 6.) งานวิจัยจาก สกสว. (สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) ฟรี!!! 7.) SSRN´s eLibrary provides 851,438 research papers from 432,157 researchers across 30 disciplines. 8.) ฐานข้อมูลงานวิจัย/วิทยานิพนธ์ […]
7 สิ่งที่ไม่ควรทำ ก่อนการเลือกปัญหางานวิจัย
การเลือกประเด็นปัญหางานวิจัยเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะต้องมั่นใจว่าสามารถทำการวิจัยเกี่ยวกับปัญหาในเรื่องนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี หากเลือกโดยไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในด้านต่างๆ อาจจะส่งผลทำให้เกิดปัญหาและความท้อในการทำงานวิจัยต่อไปได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น ทางเราขอเสนอ 7 สิ่งที่ไม่ควรทำ ก่อนการเลือกปัญหางานวิจัย ดังนี้ 1. ไม่ควรทำการรวบรวมข้อมูลก่อน โดยที่ยังไม่ได้จำกัดความของหัวข้อปัญหาอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะทำงานอะไรคุณควรทำการวางแผน และกำหนดเป้าหมายในชัดเจนเสียก่อน สำหรับการทำงานวิจัยก็เช่นเดียวกัน คุณไม่ควรรวบรวมข้อมูลก่อน 2. ไม่ควรกำหนดปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ข้อที่ 2 นี้ก็เช่นเดียวกัน คุณไม่ควรทำการกำหนดปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว เพราะการที่คุณตั้งปัญหางานวิจัยจากข้อมูลที่มีอยู่เท่านั้น จะทำให้คุณได้ผลงานวิจัยที่มีแต่ประเด็นปัญหาเดิมๆ ที่ไม่แตกต่างจากงานวิจัยของผู้วิจัยอื่น 3. ประเภทงานวิจัย หรือจุดมุ่งหมายหัวข้อปัญหางานวิจัยที่คาดเคลื่อน คุณควรกำหนดลักษณะประเภทงานวิจัยให้แน่ชัด เพราะจะทำให้การกำหนดจุดมุ่งหมายในการศึกษาแหล่งของข้อมูลงานวิจัย รวมถึงการออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและทำการวิเคราะห์แปลผลข้อมูลมีความชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือคำตอบที่คาดเคลื่อนในการสรุปผลในงานวิจัยได้ 4. ไม่ควรตั้งปัญหางานวิจัย โดยที่ไม่ศึกษาผลงานวิจัยของผู้อื่นที่คล้ายๆ กัน ในการกำหนดหัวข้อปัญหางานวิจัยแต่ละครั้ง หลังจากคุณทราบลักษณะประเภทของงานวิจัยแล้ว คุณควรทำการศึกษาผลงานวิจัยของผู้อื่น หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่เคยทำการวิจัยในหัวข้อประเด็นปัญหางานวิจัยคล้ายๆ กับหัวข้อปัญหาในงานวิจัยที่คุณกำลังสนใจ 5. ผู้วิจัยขาดความรู้ในสาขาวิชานั้นๆ สำหรับข้อนี้เป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้วิจัยหลายๆ ท่าน คือ การขาดความรู้ในสาชาวิชานั้นๆ ซึ่ง “ความรู้” ในที่นี้คือ ขาดความรู้พื้นฐานทางทฤษฎีสำหรับหลักการทำงานวิจัยส่งผลทำให้เกิดปัญหาต่างๆ หลายอย่างตามมา 6. […]
7 ขั้นตอน เขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ให้ผ่านฉลุย !
การเขียนบทที่ 1 ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการทำวิทยานิพนธ์ มีหลักการว่าวิทยานิพนธ์ที่ทำมีความสำคัญและปัญหาอย่างไรถึงต้องทำเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องนี้ การแสดงให้เห็นถึงปัญหาที่ชัดเจน มีส่วนประกอบที่สำคัญ ดังนี้ ภูมิหลัง จุดมุ่งหมายของการวิจัย ความสำคัญของวิจัย กรอบแนวคิด ขอบเขตของงานวิจัย ท่านจะสามารถนำ 7 ขั้นตอน เขียนวิทยานิพนธ์บทที่ 1 ให้ผ่านฉลุย ดังต่อไปนี้ไปประยุกต์ใช้ได้ 1. การเขียนภูมิหลังที่ดี ภูมิหลังจะทำหน้าที่แนะนำให้ผู้อ่านงานได้รู้ความเป็นมา หลักเหตุผล ความสำคัญ และปัญหาของวิทยานิพนธ์ เป็นการตอบคำถามที่ว่าทำไมถึงทำเรื่องนี้ขึ้นมา โดยทั่วไปจะเขียนประมาณ 3-5 หน้า และจะมีย่อหน้าไม่เกิน 7 ย่อหน้า ให้มีเนื้อหาที่สอดคล้องกับชื่อเรื่องที่ทำ ต้องชี้ถึงปัญหาความสำคัญชัดเจน ชี้ถึงแนวโน้มในอนาคต ภูมิหลังที่ดีต้องอยู่ในกรอบของวิจัย ให้ภาษาที่ถูกต้องในการเขียน การเขียนภูมิหลังไม่มีกฏเกณฑ์ที่ตายตัวของแค่ความชัดเจนสั้นได้ใจความที่สำคัญชี้ถึงปัญหา และให้อยู่ในกรอบของการวิจัยที่ตั้งไว้ 2. การเขียนวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายของงานวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายจะตั้งเป็นข้อหรือไม่เป็นข้อก็ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่จะทำการศึกษา จุดมุ่งหมายของงานวิจัยมาจากเรื่อง และตัวแปรของการวิจัยเอามาตั้งเป็นจุดมุ่งหมาย ส่วนให้การตั้งจุดมุ่งหมายจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ…” แล้วตามด้วยชื่อวิจัย การตั้งจุดมุ่งหมายต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่ายไม่ซ้ำซ้อน เป็นประโยคบอกเล่า สามารถตรวจสอบหรือทดสอบได้ และมีความสัมพันธ์ระหว่างประเด็นหรือหัวข้อจุดมุ่งหมายของวิจัย 3. การเขียนความสำคัญของการวิจัย เป็นตัวที่บ่งชี้ว่าหลังจากที่ทำเสร็จแล้วจะได้อะไรจากงานบ้าง […]
6 เครื่องมือในการทำแบบสำรวจออนไลน์ (Online Survey)
การออกแบบแนวทางในการทำแบบสำรวจ (Survey) ที่ดีจะช่วยให้คุณเก็บข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ต่อการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ การรับรู้ถึงความพึงพอใจของลูกค้า รวมไปถึงการรับรู้เกี่ยวกับตัวแบรนด์ในด้านอื่นๆ โดยผมได้รวมเครื่องมือดีๆที่จะช่วยให้คุณทำการสำรวจความคิดเห็นในแบบต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์นั่นเอง ลองมาดูกันว่า 6 เครื่องมือในการทำแบบสำรวจออนไลน์ (Online Survey) นั้นมีอะไรบ้าง Google Forms SurveyMonkey Surveyplanet FreeOnlineSurveys Smart Survey Survey Methods 1. Google Forms หลายๆคนน่าจะรู้จักกับ Google Forms เป็นอย่างดีเพราะเครื่องมือนี้ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการทำแบบสำรวจ แบบสอบถามความคิดเห็น โดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาที่ต้องทำ IS หรือ Thesis ซึ่งการที่จะใช้ Google Forms ได้นั้นคุณต้องมีบัญชีของ Google ซะก่อน โดยเครื่องมือนี้ค่อนข้างใช้ง่ายและน่าจะชินมือหลายๆคน ที่สำคัญมันฟรีซะด้วย แต่อาจไม่สามารถทำแบบสอบถามที่สลับซับซ้อนมากๆได้ 2. SurveyMonkey เรียกได้ว่าเป็นเครื่องมือทำแบบสำรวจออนไลน์ที่มีชื่อเสียงมากอันดับต้นๆของโลก ที่สามารถตั้งคำถามได้ 10 คำถามต่อการทำแบบสำรวจ 1 ครั้ง แบ่งเป็น 15 […]
5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ !
บทความนี้ขอย่อยปัญหาหลักในการทำงานวิจัยไทย 5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ ! คือ 1. การทำวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร ในข้อสังเกตวิจัยแรกนี้ส่วนใหญ่ผู้วิจัยหลายๆ ท่านจะแยกไม่ค่อยได้ว่า การทำงานวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร เราจะขออธิบายสั้นๆ ง่ายๆ ว่า – ปริญญาเอกจะเน้นการทำวิจัย (Research) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการเรียนการสอนรายวิชาก็ได้ ฉะนั้นในการเรียนในระดับปริญญาเอก การฝึกฝนทักษะการทำวิจัยเป็นสำคัญ เพราะผู้เรียนจำเป็นต้องค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง โดยศึกษาค้นคว้าวิจัยในหัวข้อนั้นๆ ลงไปให้ลึกถึงแก่นของความรู้ และในที่สุดสามารถสร้างองค์ความรู้ในแบบฉบับของตัวเองและขยายองค์ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างได้ – ปริญญาโทจะเน้นการเรียนการสอนรายวิชา (Course work) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการทำวิจัยก็ได้ ซึ่งการเรียนในระดับปริญญาโท จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ที่เฉพาะเจาะจงและลึกซึ้งกว่าระดับอื่นๆ อีกทั้งจะต้องสามารถประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในบริบทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ถึงกับต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ ลึกซึ้งถึงแก่นเท่ากับปริญญาเอก หากเชิงเปรียบเทียบในแง่ขององค์ความรู้มากกว่าการเรียนในระดับปริญญาเอกที่ใช้เวลาโดยส่วนใหญ่มุ่งศึกษาหัวข้อวิจัยเพียงเรื่องเดียวอย่างลึกซึ้ง เพราะการทำงานวิจัยในระดับปริญญาโทจะตอบโจทย์กับงานที่ต้องศึกษาความรู้แบบกว้างๆ และหลากหลาย และก็เพียงพอในการนำไปปรับใช้กับชีวิตและงานต่างๆ ได้ ซึ่งจำเป็นต้องไปสั่งสมประสบการณ์และความชำนาญต่างๆ ในสายอาชีพนั้นๆ เพิ่มเติมอยู่ดี 2. การทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ระดับปริญญาโท แบบ ก1 และ […]
8 หนังสือแนะนำสำหรับผู้ที่เริ่มทำการวิจัย
1. หนังสือเบื้องต้น สำหรับการใช้ SPSS ตั้งแต่ขั้นพื้นฐานไม่รู้อะไรเลยไปจนถึง สามารถวิเคราะห์สถิติได้ ทั้ง t-test , ANOVA , regression ดีมาก (มีไฟล์ให้โหลดทดลองใช้งานประกอบหนังสือด้วย) 2. หนังสือเกี่ยวกับความรู้ด้านวิจัย (ละเอียด) เน้น ทฤษฎี แนะนำวิจัยแบบต่างๆ ครอบคลุมเนื้อหาวิจัยทั้งหมด(โดยเฉพาะสายการแพทย์) 3. หนังสือสถิติและการวิจัย (ดีมาก) กลั่นกรองจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านสถิติวิจัยมายาวนาน ชี้จุดที่ต้องสังเกตในวิจัยไปตั้งแต่ ขั้นออกแบบ วิเคราะห์ผล ไปจนถึงการอ่านผลวิจัย 4.-5. หนังสือ2เล่มนี้ดีมาก ต้องมีไว้ครอบครอง เป็นการสอน SPSS+ มีตัวอย่างที่จะใช้ในสถิติต่างๆอย่างละเอียด เล่ม 4 จะเป็นสถิติพื้นฐาน( t-test ,AMOVA , simple-multiple regression ) เล่ม5 จะเป็นสถิติขั้นสูง(รวมทั้ง logistic regression ) 6.-7. หนังสือสำหรับเป็นครูสอนในการเขียนผลงานวิจัยและบทความต่างๆ โดยเฉพาะเล่ม 6. เอาไว้เขียน paper […]
5 สิ่งที่ต้องระวัง ถ้าไม่อยากให้งานวิทยานิพนธ์ผิดพลาด
กว่าจะได้งานวิทยานิพนธ์ออกมาให้มีคุณภาพที่ดีนั้นถือเป็นสิ่งที่ไม่ง่ายเลยทีเดียว เพราะต้องใช้ระยะเวลาและความตั้งใจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าหาข้อมูลอย่างละเอียด เรียบเรียงเนื้อหาให้น่าสนใจและถูกหลักวิชาการ รวมไปถึงปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยให้งานนั้นออกมามีคุณภาพ ดังนั้นในบทความนี้จึงได้นำ 5 ข้อควรระวังในการทำงานวิทยานิพนธ์ ให้ได้ผลงานวิทยานิพนธ์ออกมาดีและไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้น 1. ระวังข้อมูลแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ จะต้องสอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง แหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้ในการทำงานวิทยานิพนธ์จะต้องเป็นข้อมูลที่มาจากแหล่งอ้างอิงที่มีความน่าเชื่อถือ รวมไปถึงต้องเป็นข้อมูลที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังต้องคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอีกด้วย ควรคำนึงถึงความสอดคล้องระหว่างหัวข้อเรื่องวิจัย เนื้อหา และข้อมูล ว่าแต่ละส่วนนั้นมีความสัมพันธ์กันหรือไม่ เพราะงานวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพนั้นทุกองค์ประกอบจะสอดคล้องกันทั้งหมด 2. เนื้อหาสอดคล้องกับหัวข้อ ถูกต้อง ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่น เนื้อหางานวิทยานิพนธ์จะมีความน่าสนใจหรือไม่ ส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่ต้องถูกเรียบเรียงไว้อย่างเป็นระเบียบ ไม่ซับซ้อน และไม่หลงประเด็น ซึ่งจะทำให้งานออกมาน่าสนใจและมีคุณภาพ นอกจากการเรียบเรียงเนื้อหาให้น่าสนใจแล้ว ความถูกต้องของเนื้อหาในงานก็มีความสำคัญเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นหลักการใช้ภาษาซึ่งควรเป็นภาษาทางการ การสะกดคำต่างๆ ให้ถูกต้อง และสิ่งสำคัญในการทำงานวิทยานิพนธ์ หรือการทำงานวิจัยใดๆ ไม่ควรคัดลอกข้อมูลเนื้อหาหรือผลงานวิทยานิพนธ์ของผู้อื่นมาใช้ในงานตัวเองอย่างเด็ดขาด เพราะนอกจากจะผิดหลักจรรยาบรรณของนักวิจัยที่ดีแล้ว ยังถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญหาอีกด้วย 3. เลือกทำหัวข้อที่สนใจ หาข้อมูลอย่างละเอียด คำนึงถึงคุณภาพของงานเป็นสิ่งสำคัญ หัวข้อเรื่องวิทยานิพนธ์ถือเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ควรเลือกทำหัวข้องานวิทยานิพนธ์ที่ตัวเองสนใจ และมีความถนัดเป็นลำดับแรก เพราะจะทำให้มีแรงกระตุ้นในการทำงานและการหาข้อมูล และจะช่วยทำให้เกิดแนวคิดใหม่ได้ง่ายขึ้น การค้นคว้าหาข้อมูลมาใช้อ้างอิงในงาน จะต้องศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดและมีความรอบคอบ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้มานั้นถูกต้องและเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลให้งานวิทยานิพนธ์ออกมามีประสิทธิภาพมากต่อการนำมาใช้ประโยชน์ 4. ความซื่อสัตย์ […]
สิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น ก่อนเริ่มการทำวิจัย
หากคุณเป็นนักศึกษาที่พึ่งเริ่มเรียนปริญญาโท และไม่เคยทำการวิจัยมาก่อน สิ่งที่คุณต้องรู้คือก่อนจะจบการศึกษาได้นั้นคุณจะต้องทำวิทยานิพนธ์ซึ่งก็คือ เล่มรายงานการวิจัยเรื่องที่เรียบเรียงขึ้นจาก การศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างละเอียดและรอบคอบที่เกี่ยวข้องกับคณะและสาขาที่คุณศึกษา สำหรับนักศึกษาปี 1 คุณยังมีเวลาเตรียมตัว และบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจสิ่งที่ต้องรู้เบื้องต้น ก่อนเริ่มการทำวิจัยในปีที่สองค่ะ การวิจัย (Research) คือ วิธีการหนึ่งที่ใช้ค้นหาสาเหตุหรือที่มาของปัญหาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ ระเบียบวิธีวิจัย (Research Methodology) คือ วิธีการค้นหาคำตอบจะทำเป็นกระบวนการ ใช้ค้นหาคำตอบ เป็นแบบแผนของการวิจัย ที่เริ่มตั้งแต่ การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลอย่างมีขั้นตอน ทฤษฎี (Theory) คือ ผลของการวิจัยที่น่าเชื่อถือจะต้องอาศัยเครื่องมือในการพิสูจน์ ใช้พิสูจน์คำตอบ ทฤษฎีกับงานวิจัย เป็นเครื่องมือที่จะนำมาใช้ในการอธิบายเหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น อย่างมีเหตุผล ตั้งแต่ขั้นตอน การวางแผน และออกแบบงานวิจัย (Research design) และขั้นตอนการอธิบายคำตอบหรือสนับสนุนคำตอบของงานวิจัย ระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง (Experiment Research Methodology) เป็นการวิจัยที่ต้องทำในห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research Methodology) เป็นการวิจัยที่อาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วโดยมีผู้สำรวจไว้แล้ว หรือผู้วิจัยทำการสำรวจเอง ประเภทของการวิจัย (Type of Research) […]
จาะธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ : ช่องโหว่การศึกษา ปริญญาแกมโกง ?
พันธวัฒน์ เศรษฐวิไล 12 May 2017 หากจุดประสงค์ของการศึกษา คือการเพิ่มพูนปัญญาความรู้ คนที่สมาทานตนเป็น ‘นักศึกษา’ ไม่ว่าในระดับใดก็แล้วแต่ ย่อมต้องขวนขวายร่ำเรียนเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ต่างๆ นานา เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการหาเลี้ยงชีพต่อไป ทว่าเมื่อโลกของการศึกษา ถูกนำมาหลอมรวมเข้ากับคำว่าธุรกิจ จุดประสงค์ดั้งเดิมของมันจึงเบี้ยวบิด และเปิดโอกาสให้คนกระทำการทุจริตเพื่อให้ได้มาซึ่ง ‘ผลการศึกษา’ (ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเกรด ใบปริญญา หรือคำนำหน้าทางวิชาการ) ที่สามารถนำไป ‘ใช้ประโยชน์’ ต่อได้ หนึ่งในธุรกิจที่เฟื่องฟูก็คือธุรกิจ ‘รับทำวิทยานิพนธ์’ ซึ่งหลายคนคงเคยเห็น หรืออาจเคยใช้บริการกันมาบ้าง หลายคนมองว่านี่คือ ‘รอยด่าง’ ทางการศึกษา แต่บางคนกลับมองมันในฐานะของ ‘ตัวช่วย’ ที่น่าแปลกคือในหลายประเทศ ธุรกิจประเภทนี้กลับถูกกฎหมายซะด้วย! ทั้งนี้ คำถามที่น่าคิดก็คือ ธุรกิจที่ว่านี้ควรเป็นสิ่งที่ ‘ยอมรับได้’ หรือไม่ ? ในอเมริกา ธุรกิจรับจ้างเขียนบทความหรือทำวิจัยเพื่อการศึกษานั้นมีมานานนับศตวรรษแล้ว เริ่มจากเหตุการณ์สามัญในหอพักนักศึกษา ซึ่งมีการ ‘แชร์การบ้าน’ กันในหมู่นักศึกษาไฮสคูล ก่อนที่นักศึกษาบางกลุ่มจะมองเห็นลู่ทางว่าแทนที่จะปล่อยให้แชร์หรือลอกกันแบบฟรีๆ ก็หารายได้จากมันเสียเลย วิธีการที่นักศึกษากลุ่มนี้ใช้ ก็คือการรับจ้างเขียนงานแบบเอนกประสงค์ ตั้งแต่รายงานชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงงานวิจัยก่อนจบการศึกษา โดยมี ‘นักเขียนเงา’ […]