10  คำถามเช็กตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอก

การไปเรียนต่อเมืองนอกนั้นก็เป็นความฝันของใครหลายๆ คน แต่จะมั่นใจใน ‘ความพร้อม’ ของตัวเองได้ยังไง เพราะการไปเรียนต่อก็เหมือนการไปใช้ชีวิตอยู่ในสถานที่ใหม่ๆ สักที และไม่ได้ไปแบบระยะสั้น ดังนั้นการโยกย้ายครั้งนี้จึงสร้างความเปลี่ยนแปลงสภาพชีวิตทั้งภายในและภายนอก

วันนี้ Researcher Thailand เลยนำ 10  คำถามเช็กตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอก เพื่อสำรวจตัวเองคร่าวๆ ว่าตัวเองพร้อมไปเรียนต่อต่างประเทศแล้วหรือยัง

1. อยากไปเรียนต่อหรือไปเมืองนอก

    บางครั้งเราอาจอยากหนีชีวิตปัจจุบันไปไกลๆ การเรียนต่อก็เป็นหนึ่งในวิธีหนีที่ดี อาจเป็นเพราะเบื่องานประจำ เบื่อสภาพแวดล้อมเดิมๆ อยากออกจาก comfort zone ของตัวเอง ฯลฯ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็ต้องคิดใหม่ เพราะถ้าหากไม่ได้มีสาขาที่สนใจจริงๆ การเรียนต่ออาจไม่ใช่ทางออกเลย ไหนจะต้องเรียนกับสิ่งที่คิดว่าเรียนๆ ไปตั้ง 2-3 ปี แนะนำว่าให้ถามตัวเองให้ดีๆ ก่อนว่าอยากเรียนรู้ต่อในสาขาอะไร ถ้าชัดเจนแล้วก็เริ่มเลย! แต่หากในกรณีที่เราคิดแล้วรู้สึกว่าจริงๆ แล้วไม่ได้อยากเรียนระยะเวลายาวขนาดนั้น คอร์สระยะสั้นไม่กี่เดือนเพื่อเปลี่ยนบรรยากาศอาจจะเป็นทางออกก็ได้

2. พร้อมจะเริ่มเตรียมตัวเมื่อไหร่?

    ช่วงการตัดสินใจเรียนต่อเมืองนอกของหลายๆ คนอาจจะไม่เท่ากัน บางคนก็คิดไว้ตั้งแต่ยังเรียนปริญญาตรี บางคนนึกปุบปับเรียนจบปุ๊บอยากไปเลย บางคนรอเวลาขอทำงานก่อนค่อยทำเอกสารสมัครเรียนเมื่อเป็นแบบนี้จึงต้องพิจารณาว่าตัวเองอยู่จุดไหน ขอยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นภาพแบบนี้

    2.1 อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับป.ตรี: เป็นช่วงสนใจ ลองหาข้อมูลการศึกษาที่ประเทศนั้นๆ หรือสาขานั้นๆ ให้แน่ใจว่าเราอยากเรียนจริงๆ แต่มีแผนสำรองเผื่อไว้ถ้าอยู่ๆ เกิดอยากเปลี่ยนสาขาหรืออนาคตก็ดีนะ เพราะยังมีเวลาอีกเยอะ

    2.2 กำลังจะเรียนจบ: ถ้าสนใจเรียนเลยก็ต้องรีบจัดแจงเอกสาร ขอ recommendation letter จากอาจารย์ที่สนิท เช็คตารางวัน เงื่อนไขของมหาวิทยาลัยให้ดี แต่ถ้าใครที่แพลนว่าจะทำอย่างอื่นก่อนสักช่วงหนึ่งค่อยไปเรียนก็อาจจะต้องวางแผนเรื่องเอกสารเช่นกัน เช่นการไปคุยกับอาจารย์ก่อน อาจารย์จะได้จำได้และไม่ต้องปวดหัวเมื่อเรามาขอให้เขียนจดหมายแนะนำในภายหลัง

    2.3 กำลังทำงาน: อันนี้อาจจะยากและปวดหัวหน่อยเพราะทำงานควบไปด้วย ต้องแพลนและคุยกับที่ทำงานดีๆ สัญญาการทำงานเป็นอย่างไร เอกสารต้องจัดแจงให้เรียบร้อย ตรวจร่างกาย ขอวีซ่า เงื่อนไขเหล่านี้อาจทำให้ต้องลางานบ่อยครั้ง เพราะฉะนั้นต้องคุยกับเจ้านายให้ดีๆ 

    การเตรียมตัวคร่าวๆ ก็ประมาณนี้ ถ้าตอบได้ตามที่บอกก็สบายใจได้เปราะหนึ่งแล้วล่ะ

3. เรียนสาขาวิชาอะไรดี?

    แม้จะมีการพูดกันบ่อยครั้งว่าถ้าทำงานจบไปไม่จำเป็นต้องตรงกับสายหรือสาขาที่เรียนก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามก็ใช้ไม่ได้กับทุกคน เพราะฉะนั้นจะเลือกเรียนสาขาอะไรก็สำคัญมาก เพราะจะส่งผลต่อการเลือกมหาลัย เลือกประเทศของเราด้วย และถึงบางสาขาจะมีโอกาสให้เราเปลี่ยนไปเรียนสาขาอื่นได้ถ้าไม่ชอบแต่ก็เสียเวลาอีก ดังนั้นก็ควรใช้เวลาทำความเข้าใจความต้องการของตัวเองให้ดีซะก่อน จากนั้นเมื่อรู้แล้วก็ลุยเลย

4. รับมือกับค่าใช้จ่ายยังไงดี?

    เมื่อมีประเทศเป้าหมายที่จะไปเรียนต่อแล้วก็ได้เวลามาคำนวณค่าใช้จ่ายกันต่อ ไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียน ค่าที่พัก ค่าตั๋วเครื่องบิน ค่าประกัน และค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (ค่ารถ ค่าอาหาร ฯลฯ) ถ้ามีหลายตัวเลือกก็ต้องเปรียบเทียบค่าครองชีพเพื่อดูว่าประเทศไหนใช้เงินมากหรือน้อยกว่าขอบเขตที่เรากำหนดไว้ ที่สำคัญเลยคือต้องตอบให้ได้ว่าจะจัดการกับค่าใช้จ่ายเหล่านี้ยังไง หลายคนอาจใช้วิธีการออมเงินก้อน หรือบางคนอาจออมไปส่วนหนึ่งแล้วไปหาเอาดาบหน้า หรือจะใช้วิธีการหาทุนก็ได้

5. สมัครเรียนเมื่อไหร่?

    มหาวิทยาลัยในต่างประเทศส่วนใหญ่ จะเปิดรับนักศึกษา 2 ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ และ ฤดูใบไม้ร่วงหรือฤดูหนาว ซึ่งจะเริ่มเปิดรับใบสมัครทางออนไลน์ ประมาณ 4-5 เดือนก่อนเปิดเทอม โดยมากนักเรียนไทยจะไปเรียนต่อประมาณเดือนกันยายน แต่ก็ต้องเดินทางไปถึงมหาวิทยาลัยตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม เพื่อเตรียมความพร้อม จัดหาที่พัก และบางคนอาจต้องเรียนคอร์สภาษาหรือคอร์สปรับพื้นฐานเพิ่มเติมก่อน 

    เพื่อความถูกต้องที่สุดก็ควรเช็คข้อมูลจากเว็บไซต์มหาลัยแต่ละที่โดยตรง นอกจากนี้ยังต้องเผื่อเวลาการทำเอกสารต่างๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นขอจดหมายแนะนำ ขอทรานสคริปต์ ขอใบรับรองแพทย์ ฯลฯ  เรื่องเวลาสำคัญมาก ต้องกะเวลาให้ดีเพราะมีหลายคนที่ต้องเลื่อนเวลาสมัครเรียนเพราะกะเวลาผิดมาแล้ว

6. ต้องใช้คะแนนการสอบอะไรรึเปล่า?

    ถ้าไปเรียนต่อหลักสูตรนานาชาติที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก มหาวิทยาลัยมักต้องการให้ผู้สมัครยื่นคะแนนสอบภาษาอังกฤษประกอบการพิจารณาด้วย โดยผลคะแนนที่นิยมใช้กันแพร่หลายก็ได้แก่ TOEFL และ IELTS หรือบางคอร์สอาจต้องยื่นคะแนนอื่นๆ เช่น GRE หรือ GMAT ประกอบด้วย อย่าลืมทำการบ้านล่วงหน้าว่ามหาวิทยาลัยที่สมัครต้องการคะแนนอะไรบ้าง จะได้เตรียมตัวสอบไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะบางกรณีอาจต้องเรียนพิเศษและอ่านหนังสือเพิ่มเติม

7. ขอทุนการศึกษาได้ไหม?

    ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ เช่น อเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ จะมีทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่มีผลการเรียนดี หรือ กิจกรรมโดดเด่นด้วย หากได้รับทุนก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากทีเดียว ดังนั้น จึงควรศึกษารายละเอียดหรือสอบถามทางมหาวิทยาลัยเอาไว้ล่วงหน้า เพราะหากต้องการขอทุน มักจะต้องยื่นเอกสารหรือเขียนเรียงความเพิ่มเติมเพื่อการขอทุน

8. พักที่ไหนดี?

    การพักอาศัยเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ถ้าโชคดีเจอที่พักดีก็เริดไป ถ้าไม่ดีก็แย่หน่อย เพราะไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัยจะจัดสรรหอพักไว้ให้นักศึกษาต่างชาติในปีแรกของการศึกษา บางหอพักก็อาจจะต้องมีการจองหรือชำระเงินล่วงหน้า อันนี้ต้องเช็คให้ดี ถ้าอยากเช่าห้องพักข้างนอก เพื่อให้ผู้ปกครองและเพื่อนๆ ที่จะมาเยี่ยมสามารถพักด้วยได้อย่างสะดวกสบาย ก็ลองหาข้อมูลและเปรียบเทียบราคาจากหลายๆ แหล่งดู รวมถึงความปลอดภัยบริเวณโดยรอบด้วย 

9. สามารถทำงานพิเศษได้ไหม?

    หากไม่ได้มีเงินสนับสนุนจากครอบครัวมากนัก การทำงานพิเศษก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ แต่อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีว่า วีซ่านักเรียนนอกแต่ละประเทศทำงาน PART-TIME ได้กี่ชั่วโมงบ้าง และไม่ควรทำงานเยอะเกินไปหรือละเมิดกฎโดยเด็ดขาด เพราะนอกจากตัวเองจะเสี่ยงแล้ว ก็ยังอาจส่งผลเสียต่อรุ่นน้องนักเรียนไทยที่จะมาเรียนต่อในรุ่นหลังๆ ด้วย

10. จะเอาตัวรอดได้อย่างไร?  

    การไปอยู่ห่างไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนก็แน่นอนว่าจะต้องเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆ มากมาย และยังต้องรับผิดชอบตัวเองในทุกๆ ด้านอีกด้วย ฉะนั้นถ้ายังขาดทักษะอะไรที่จำเป็น ก่อนถึงวันเดินทางก็ควรฝึกฝน หาข้อมูล และเตรียมตัวไปก่อนล่วงหน้า เช่น ฝึกทำอาหาร หรือ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันแผนที่ของเมืองนั้นๆ

    นอกจากจะต้องมั่นใจว่าตัวเองเอาตัวรอดได้ อย่าลืมบอกคนในครอบครัว อธิบายให้เข้าใจว่าเราเอาตัวรอดได้ พวกเขาจะได้ไม่เป็นห่วง ตัวเราเองก็จะแฮปปี้ที่ได้มีโอกาสไปผจญภัยได้อย่างเต็มที่เพราะวางแผนเต็มที่แล้วด้วย

สรุปแล้วลองถามตัวเองดีๆ ว่าเราพร้อมแน่ไหม มีอะไรที่ยังขาดตกบกพร่องก็รีบเติมเต็มเข้าไว้ การผจญภัยกำลังรอทุกคนอยู่นะคะ

Credit: https://bit.ly/3Jc7GsI

#เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย #รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท #phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ #thesiswriter #spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย