prothesis2000

“6 วิธีรับมือกับภาวะ Burnout ตอนทำวิจัย”

“6 วิธีรับมือกับภาวะ Burnout ตอนทำวิจัย”
ภาวะหมดไฟ หรือ Burnout คือภาวะที่จิตใจของเรามีการสะสมความเครียดแบบเรื้อรังจนนำไปสู่ความอ่อนล้าทางร่างกายและอารมณ์ มองความสามารถตัวเองในเชิงลบ ไปจนถึงรู้สึกว่าตัวเองไม่ประสบความสำเร็จไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม ไม่มีแรงจูในในการทำงาน นอนไม่หลับและอ่อนเพลีย รู้สึกหงุดหงิดง่าย เป็นต้น อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียว แต่มันจะค่อยๆ รู้สึกและสะสมเรื่อยๆ จนกระทั่งเพื่อนๆ รู้สึกว่ามันเริ่มกระทบต่อตัวเอง ในช่วงของการทำโปรเจคจบ ทำเล่มวิทยานิพนธ์ เพื่อนๆ คงจะมีกับปัญหานี้กันใช่ไหมคะ วันนี้เรามีวิธีรับมือกับความเบื่อหนายตอนทำวิจัยมาแนะนำกันค่ะ …

1.กำหนดขอบเขตในการทำงาน
การที่เรากำหนดเป้าหมายในการทำงานจะช่วยให้เราแยกเวลาชีวิตกับเวลาทำงานได้ ให้เพื่อนๆ กำหนดระยะเวลาในการทำงาน และกำหนดว่างานแต่ละส่วนควรจะเสร็จเรียบร้อยเมื่อใด และในขณะที่เพื่อนๆ กำลังทำงานนั้นก็ควรมีเวลาพักให้ตัวเองเพื่อได้ผ่อนคลายด้วย การที่เรากำหนดขอบเขตเวลาการทำงานนั้นจะทำให้เพื่อนๆ มีเวลาเหลือในส่วนของการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ครอบครัว เพื่อนฝูง ชีวิตเพื่อนๆ ก็จะมีความสมดุลขึ้น ไม่จมอยู่กับงานจนเครียดโดยไม่รู้ตัวค่ะ

2.หาสิ่งเยียวยา
เพื่อนๆ ควรที่จะหาหรือสร้างสิ่งที่จะช่วยเยียวยาทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์รวมถึงสิ่งที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงาน หากเพื่อนๆ เริ่มรู้สึกเหนื่อยล้า คืนนั้นหลังจากการทำงานอย่างหนักแล้วก็ผ่อนคลายตัวเองด้วยการนอนแช่น้ำอุ่น จุดเทียนหอมกลิ่นผ่อนคลาย เปิดเพลงคลอเบาๆ ก่อนเข้านอนพักผ่อนเพื่อเตรียมพร้อมลุยกับวันใหม่ ในส่วนของสิ่งที่ช่วยซัพพอร์ตการทำงานก็คือหากเพื่อนๆ มีปัญหาหรือติดขัดในการทำงาน การขอความช่วยเหลือจากครอบครัว หรือเพื่อนจะทำให้การทำงานผ่านไปง่ายขึ้นกว่าจัดการคนเดียวแน่นอนค่ะ

3.ห่างจากหน้าจอเสียบ้าง
ในขณะที่หลายคนเล่นโทรศัพท์มือถือเพื่อผ่อนคลาย เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ ห่างจากโทรศัพท์มือถือบ้างและแบ่งเวลาให้ตัวเองได้อยู่กับตัวเอง ทำกิจกรรมที่ชอบ เผชิญกับโลกความเป็นจริงให้มากกว่าโลกโซเชียล เวลาว่างหลังจากที่ใช้อยู่กับตัวเองแล้วนั้นค่อยเล่นโซเชียลเพื่อผ่อนคลายอย่างแท้จริงดีกว่าค่ะ

4.ให้ตัวเองหยุดพักอย่างแท้จริง
เพื่อนๆ ควรให้เวลากับตัวเองได้พักอย่างแท้จริงด้วยนะคะ พักเติมพลังและความสดชื่นให้กับเพื่อนๆ เองด้วย เวลาทำงานแล้วคิดที่จะ “หยุดพัก” ไม่ใช่เรื่องที่ผิดแปลกอะไรเลยค่ะ เราเพียงแค่หยุดพักครู่เดียวหลังจากการทำงานอย่างกดดัน แล้วค่อยลุยงานต่ออย่างเต็มที่

5.เรียนรู้กับการจัดการความเครียด
เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ หาเทคนิคเพื่อฝึกจัดการกับความเครียดเอาไว้ค่ะ เช่น การนั่งสมาธิให้จิตใจสงบ ฝึกการกำหนดลมหายใจ หายใจเข้า-ออกให้ลึก การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การเล่นโยคะ การอ่านหนังสือ นี่เป็นวิธีที่ช่วยจัดการความเครียดได้อย่างดีที่เราขอแนะนำให้กับเพื่อนๆ ค่ะ

6.นอนหลับให้เพียงพอ
การพักผ่อนอย่างเพียงพอเหมือนจะเป็นเรื่องที่ง่ายที่สุด แต่เอาเข้าจริงเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเพื่อนๆ หลายท่าน การนอนหลับสนิทและร่างกายได้ฟื้นฟูตัวเองนั้นควรเข้านอนตั้งแต่ก่อน 4 ทุ่ม เพราะช่วงเวลา 4 ทุ่มถึงตี 2 เป็นช่วงเวลาที่สมองของเราจะผลิต Growth Hormone ได้อย่างเต็มที่ หากเป็นไปได้เราขอแนะนำให้เพื่อนๆ เข้านอนก่อน 4 ทุ่มและตื่นเช้าๆ ก็จะช่วยจัดการความเครียดและทำให้สุขภาพดีอีกด้วย

ภาวะหมดไฟกับการทำงานนั้นล้วนเป็นปัญหากับหลายๆ คน ตั้งแต่นักศึกษาจนถึงคนวัยทำงาน ดังนั้นแล้วหากเพื่อนๆ รู้สึกหมดไฟในตอนที่กำลังทำวิจัยก็ลองนำวิธีจัดการกับภาวะหมดไฟตอนทำวิจัยที่เราแนะนำเพื่อนๆ ไปลองปรับใช้กับตัวเองดูนะคะ และหากระหว่างที่เพื่อนๆ กำลังทำวิจัยแล้วเกิดเจอปัญหาสามารถหาผู้ช่วยในการทำวิจัยให้สำเร็จลุล่วงและส่งงานได้ตามเวลา ResearcherThailand ก็พร้อมเป็นผู้ช่วยให้กับเพื่อนๆ ทุกคนนะคะ