prothesis2000

6เทคนิคการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย ดังนี้

  1. การรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ต้องมีเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ อุปกรณ์ บันทึกภาพ อุปกรณ์บันทึกเสียง การใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องมีการขออนุญาตผู้สัมภาษณ์ก่อนเสมอและต้อง สังเกตผู้ให้ข้อมูลด้วยว่าเต็มใจให้ข้อมูลหรือไม่ การเลือกผู้ให้สัมภาษณ์จะต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย และกลุ่มเป้าหมาย หากนักศึกษาเป็นผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ อาจทำให้ได้ข้อมูลจ ากัดจะต้องอธิบายให้ นักศึกษาเข้าใจในกระบวนการและไม่มีผลกระทบต่อผลการเรียนของนักศึกษา นักวิจัยต้องฝึกฝนเพื่อใช้เทคนิค การตั้งค าถาม การกระตุ้นการสนทนาเพื่อให้ได้ข้อมูลตรงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยที่ต้องการรวบรวม ข้อมูล
  2. การรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีการนิยมกันมากในการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ค่อนข้างมาก โดยแบบสอบถามต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญก่อนนำไปใช้เก็บข้อมูลเพื่อความถูกต้อง ขอข้อมูลที่ได้ ในการใช้แบบสอบถามจะต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวนพอสมควรตามแนวคิดทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อให้ผลที่ได้รับเกิดความถูกต้องและได้รับการยอมรับ โดยจำนวนข้อคำถามต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ไม่ น้อยจนเกินไปและมากเกินไป เหมาะกับวัยของกลุ่มเป้าหมาย หรือข้อคำถามสับสน เนื่องจากบางครั้งผู้ตอบ แบบสอบถามอาจไม่เต็มใจให้ข้อมูลหรือจ านวนแบบสอบถามมีจ านวนข้อมากเกินไปท าให้ผู้ตอบเกิดความเบื่อ หน่ายในการท าแบบสอบถามได้และการเก็บข้อมูลต้องควบคุมผู้ที่ตอบเป็นกลุ่มเป้าหมายจริง ๆ
  3. การรวบรวมข้อมูลจากการสังเกต การสังเกตใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยอาจใช้ร่วมกับการเก็บรวบรวม ข้อมูลด้วยวิธีอื่น การสังเกตสามารถบันทึกเหตุการณ์หรือพฤติกรรมซึ่งเป็นข้อมูลปฐมภูมิได้ดี รับรู้ข้อมูลโดยไม่ บิดเบือนเพราะสามารถเห็นพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายได้
  4. การรวบรวมข้อมูลจากการทดลอง นิยมใช้กับงานวิจัยด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาและด้านอื่น ๆ ที่ต้องใช้นักศึกษาในการ ทดสอบสมมุติฐาน ต้องมีการวางแผนการวิจัยที่ดีเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามเวลาและขั้นตอน ควรมี ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบเครื่องมือก่อนท าการทดลอง และมีการทดสอบเครื่องมือก่อนนำไปใช้กับกลุ่ม ทดลองเพื่อให้เครื่องมือมีความตรง ความเที่ยง สามารถเชื่อถือได้ การทดลองจะมีกลุ่มควบคุมหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนั้น ๆ
  5. การรวบรวมข้อมูลจากการ focus group การ Focus group หรือการสนทนากลุ่ม สามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้จำนวน หลายคนในเวลาเดียวกัน นิยมใช้รวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ข้อมูลที่ได้เป้นการผ่านการโต้ตอบกัน ภายในกลุ่มท าให้ข้อมูลมีความหลากหลาย น่าเชื่อถือ ผู้วิจัยสามารถด าเนินการสนทนาตามไปด้วย คอยควบคุม สอบถามในประเด็นต่าง ๆ ที่ต้องการ สังเกตพฤติกรรมของผู้ตอบได้ แต่อาจเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ค่อย ข้างมากหากผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มมีจำนวนมาก
  6. การรวบรวมข้อมูลแบบผสมผสานด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ เป็นการเก็บข้อมูลที่ช่วยให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น การแจกแบบสอบถามบางครั้งผู้วิจัยอาจไม่ได้ แจกเอง อาจทำให้คนที่ได้รับไม่ใช้ target group การเก็บแบบสอบถามต้องมีการสัมภาษณ์เพื่อเป็น การทวนว่าผู้ตอบแบบสอบถามเข้าใจค าถามในแบบสอบถามและให้คำตอบที่ถูกต้องหรือไม่ โดย สัมภาษณ์ประเด็นที่