prothesis2000

5 เทคนิคการตั้งชื่อเรื่องในการวิจัย

1. ตั้งจากความรู้ส่วนบุคคล
ผู้วิจัยหลายคุณที่เป็นนักศึกษาระดับอุดมศึกษาส่วนใหญ่แล้วจะมีความรู้ส่วนบุคคล มีความสนใจในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เพื่อจะทำการศึกษาต่อยอดในงานวิจัยในเรื่องที่เป็นความสนใจของตนเองอยู่แล้ว โดยเฉพาะความเชี่ยวชาญส่วนบุคคล ที่คุณสามารถนำจุดเด่นนั้นมาประยุกต์ใช้ในการตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย ได้
เช่น หากคุณศึกษาในสาขาการตลาด คุณควรโฟกัสเทคนิคทางการตลาดเฉพาะ มุ่งเน้นศึกษาจากทฤษฎี แนวคิด หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องในสาขาการตลาด เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับความรู้ส่วนบุคคลในการศึกษา ต่อยอดงานวิจัยไปได้

  1. ตั้งจากสถานการณ์ปัจจุบัน
    สภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นประเด็นจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสภาพสังคมหรือเศรษฐกิจในปัจจุบันที่สามารถหยิบยกมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยต่อยอด และนำมาตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย ได้
    การศึกษาวิจัยจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ปัจจุบันเหล่านี้ จะช่วยทำให้การศึกษา และการดำเนินการวิจัยได้ง่าย โดยเฉพาะหากสามารถใช้ทฤษฎี แนวคิดจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมารองรับเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ จะทำให้ผลงานวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ปัจจุบันดังกล่าวนี้ มีความน่าเชื่อถือ รวมถึงเป็นประโยชน์ต่อผู้วิจัยคุณอื่น ที่สนใจจะทำการศึกษาต่อยอดไปอีกได้
  2. ตั้งจากข้อเสนอแนะของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
    นอกเหนือจากการตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัยจากสภาพสังคม เศรษฐกิจ หรือสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว การศึกษาต่อยอดงานวิจัยจากข้อเสนอแนะของงานวิจัยเล่มอื่นๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผู้วิจัยสนใจได้เช่นกัน
    ข้อเสนอแนะของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เป็นการเรียบเรียงข้อสรุปและข้อคิดเห็นจากผู้วิจัยผลงานวิจัยเล่มดังกล่าว เพื่อให้ผู้ที่สนใจ หรือกำลังจะทำการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไปทราบว่าควรศึกษาหัวข้อใด ประเด็นใด ควรใช้ตัวแปรใด จะทำให้ทราบแนวทางและสามารถนำประเด็นดังกล่าวที่ได้จากข้อเสนอแนะในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้นมาตั้งเป็นตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย เพื่อศึกษาต่อยอดจากงานวิจัยเล่มดังกล่าวได้
    การที่นำข้อเสนอแนะของงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาตั้งประเด็นปัญหาในงานวิจัยนี้มีข้อดีคือ คุณสามารถอ้างอิงตัวแปรที่มาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสังเคราะห์เรียบเรียงเป็นเนื้อหาที่จะใช้ในการทำงานวิจัยได้ ซึ่งจะทำให้ประหยัดระยะเวลาที่จะใช้ในการสืบค้นข้อมูล การสร้างเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้ง่ายขึ้น
  3. ตั้งจากบทความวิชาการ
    การนำบทความวิชาการมาใช้ในการตั้งหัวข้องานวิจัย ถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากบทความวิชาการในปัจจุบันจะมุ่งเน้นเกี่ยวกับประเด็นที่ทันสมัย โดยเฉพาะหัวข้อเกี่ยวกับเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งสามารถนำบทความที่เกี่ยวกับกระแสนิยมเหล่านี้มาศึกษาและพัฒนาต่อยอดเป็นหัวข้องานวิจัย ที่จะใช้ในการศึกษาวิจัยได้
    โดยเฉพาะการพัฒนาให้หัวข้อบทความดังกล่าว จะทำให้ผู้วิจัยได้รับประโยชน์ในเรื่องการกำหนดขอบเขตตัวแปร หรือองค์ประกอบที่จะใช้ในการกำหนดกรอบแนวคิด ที่จะใช้การศึกษาวิจัยเล่มดังกล่าวได้ จะทำให้คุณประหยัดระยะเวลาในการสังเคราะห์ตัวแปร หรือกรอบแนวคิดในการวิจัยได้เป็นอย่างมาก
  4. ตั้งจากคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษา
    นอกจากไอเดียทั้ง 4 ข้อข้างต้นแล้ว การขอคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาก็ถือว่าเป็นสิ่งที่จะทำให้นำไปตั้งเป็นตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัยได้โดยง่าย
    เนื่องจากอาจารย์ที่ปรึกษานั้นมีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่ผู้วิจัยศึกษาอยู่แล้ว จึงมีองค์ความรู้ที่จะทำให้มีไอเดียในการตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย ที่น่าสนใจได้ และไม่ผิดกติกาแต่อย่างใด
    หากคุณสามารถนำข้อมูลดังกล่าวเหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในการตั้งหัวข้อเรื่องงานวิจัย ได้ ก็จะทำให้การทำงานวิจัยของคุณนั้นประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น