prothesis2000

5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ !

บทความนี้ขอย่อยปัญหาหลักในการทำงานวิจัยไทย 5 ข้อสังเกตงานวิจัยแต่ละแบบ ที่มืออาชีพเท่านั้นที่รู้ ! คือ

1. การทำวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร

ในข้อสังเกตวิจัยแรกนี้ส่วนใหญ่ผู้วิจัยหลายๆ ท่านจะแยกไม่ค่อยได้ว่า การทำงานวิจัยปริญญาโทและปริญญาเอกนั้น ต่างกันอย่างไร เราจะขออธิบายสั้นๆ ง่ายๆ ว่า

– ปริญญาเอกจะเน้นการทำวิจัย (Research) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการเรียนการสอนรายวิชาก็ได้

ฉะนั้นในการเรียนในระดับปริญญาเอก การฝึกฝนทักษะการทำวิจัยเป็นสำคัญ เพราะผู้เรียนจำเป็นต้องค้นคว้าและสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง

โดยศึกษาค้นคว้าวิจัยในหัวข้อนั้นๆ ลงไปให้ลึกถึงแก่นของความรู้ และในที่สุดสามารถสร้างองค์ความรู้ในแบบฉบับของตัวเองและขยายองค์ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์ในวงกว้างได้

– ปริญญาโทจะเน้นการเรียนการสอนรายวิชา (Course work) ในระดับที่ก้าวหน้าและสูงขึ้น โดยอาจจะมีหรือไม่มีการทำวิจัยก็ได้

ซึ่งการเรียนในระดับปริญญาโท จะมุ่งเน้นให้ผู้เรียนศึกษาความรู้ที่เฉพาะเจาะจงและลึกซึ้งกว่าระดับอื่นๆ อีกทั้งจะต้องสามารถประยุกต์ความรู้ทางทฤษฎีไปใช้ในบริบทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม แต่ไม่ถึงกับต้องสร้างองค์ความรู้ใหม่ ลึกซึ้งถึงแก่นเท่ากับปริญญาเอก

หากเชิงเปรียบเทียบในแง่ขององค์ความรู้มากกว่าการเรียนในระดับปริญญาเอกที่ใช้เวลาโดยส่วนใหญ่มุ่งศึกษาหัวข้อวิจัยเพียงเรื่องเดียวอย่างลึกซึ้ง

เพราะการทำงานวิจัยในระดับปริญญาโทจะตอบโจทย์กับงานที่ต้องศึกษาความรู้แบบกว้างๆ และหลากหลาย และก็เพียงพอในการนำไปปรับใช้กับชีวิตและงานต่างๆ ได้ ซึ่งจำเป็นต้องไปสั่งสมประสบการณ์และความชำนาญต่างๆ ในสายอาชีพนั้นๆ เพิ่มเติมอยู่ดี

2. การทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) ระดับปริญญาโท แบบ ก1 และ แบบ ก2 ต่างกันอย่างไร

ในการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 แผน ซึ่งในข้อสังเกตวิจัยนี้ ทางเราจะอธิบายความต่างของ แผน ก ซึ่งจะเน้นการทําวิจัยโดยให้มีการทําวิทยานิพนธ์ และแยกย่อยออกเป็น แบบ ก1 และ แบบ ก2 คือ

– แบบ ก1 จะเป็นการทําวิทยานิพนธ์อย่างเดียว โดยจะต้องมีหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต หรืออาจมีการเรียนรายวิชาก็ได้แต่ไม่นับหน่วยกิต และอาจจะไม่ต้องเรียนรายวิชาบรรยาย หรือเรียนแค่บางวิชาแบบไม่คิดหน่วยกิตไม่มีเกรด ซึ่งเหมาะกับผู้เรียนที่มีประสบการณ์วิจัยหรือมีความรู้ในสาขาวิชาด้านนั้นอย่างชัดแล้ว

แต่กลับมีข้อเสียตรงที่ไม่มีเกรดรองรับ อาจจะทำให้ยุ่งยากนิดๆ เมื่อนำไปสมัครในตำแหน่งงานที่กำหนดเกรด

– แบบ ก2 ในแผนการเรียนจะประกอบด้วยรายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และในการทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต โดยการทำวิทยานิพนธ์จะเริ่มทำหลังจากเรียนรายวิชาไปแล้วประมาณ 2 เทอม

3. งานดุษฎีนิพนธ์ แบบ 1 แบบ 2 ต่างกันอย่างไร

ในข้อสังเกตวิจัยข้อที่ 3 นี้ ก็จะคล้ายๆ กับ ข้อที่ 2 แต่จะเป็นในระดับปริญญาเอก

– แบบ 1 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ อาจจะกำหนดให้เรียนรายวิชาเพิ่มเติมหรือ ทำกิจกรรมทางวิชาการอื่นๆ เพิ่มขึ้น โดยไม่นับหน่วยกิต ซึ่งจะแยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือ

แบบ 1.1 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโท จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

แบบ 1.2 ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรี จะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

– แบบ 2 เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัย และศึกษารายวิชาเพิ่มเติม แยกย่อยเป็น 2 ส่วน คือ

แบบ 2.1ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาโทจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต

แบบ 2.2 ผู้ผู้เรียนที่สำเร็จปริญญาตรีจะต้องทำวิทยานิพนธ์ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต และศึกษารายวิชาอีกไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

4. บทความวิชาการ และ บทความวิจัย ต่างกันอย่างไร

ในความต่างของบทความวิชาการ และ บทความวิจัย มีลักษณะความต่างดังนี้

– บทความวิชาการ

จะนำเสนอความรู้พื้นฐานทางวิชาการของสาขานั้นๆ ที่เชื่อถือได้ และมีหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการที่ใช้ประกอบการเขียนอย่างถูกต้องเหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยเขียนในลักษณะวิเคราะห์ วิจารณ์ ให้ผู้อ่านเห็นถึงประเด็นหรือสาระสำคัญที่ต้องการสื่อให้ผู้อ่านรับรู้

ซึ่งอาจจะเป็นการเขียนจากประสบการณ์ความเชี่ยวชาญส่วนตัวของผู้เขียน หรือนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ วิจารณ์ เรียบเรียงจัดลำดับการนำเสนอเนื้อหาสาระอย่างเหมาะสมชัดเจน

และสรุปอภิปรายชี้แนะ เพื่อกระตุ้นให้ผู้อ่านนำไปใช้ประโยชน์ หรือเหาความรู้ในประเด็นนั้นๆ เพิ่มเติมต่อไป 

– บทความวิจัย

บทความวิจัยคล้ายจะมีลักษณะคล้ายกับงานวิจัย หรืองานวิทยานิพนธ์ในระดับบัณฑิตศึกษา แต่มีความต่างกันในรายละเอียดของความยาว ส่วนขยาย และส่วนประกอบบางส่วนที่ไม่จำเป็นต้องเขียนลงในบทความวิจัย

เช่น กรอบความคิดเชิงทฤษฎี ตัวแปรต่างๆ ขอบเขต และข้อจำกัดของการวิจัย รวมทั้งตารางการวิเคราะห์ข้อมูล

โดยการเขียนบทความวิจัยจะมีลักษณะกระชับตรงประเด็น ครอบคลุมส่วนที่เป็นปัญหา วิธีการดำเนินงาน ผลการวิจัย การอภิปรายและข้อเสนอแนะเป็นต้น ซึ่งโดยทั่วไปบทความวิจัยจะมีความยาวประมาณ 10-15 หน้ากระดาษ A4

5. จริงๆ รายงานวิจัยนั้นมี 6 บทขึ้นไป

ในการทำงานวิจัยส่วนใหญ่จะทำรายงานการวิจัยที่พูดจนติดปากว่า “การทำวิจัย 5 บท” หรือ “สอบ 5 บท” ซึ่งหากสังเกตให้ดีในการทำงานวิจัยนั้นไม่มีข้อจำกัดที่ตายตัว สามารถพลิกแพลงไปตามกระบวนการวิจัย ที่จะต้องประกอบด้วยอย่างน้อย 6 ส่วน คือ

1. บทนำ

2. ทบทวนวรรณกรรม

3. วิธีดำเนินการวิจัย

4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

5. ผลการวิจัย

6. สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

ดังนั้นรายงานการวิจัยจะมีกี่บทก็ได้แต่ไม่ควรต่ำกว่า 6 บท และไม่ควรคิดว่า ผลการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ผลการวิจัย ที่จะต้องรวมบทที่ 4 และ 5 เข้าด้วยกัน

นี่เป็นข้อสังเกต 5 ข้อ ที่หลายๆ คนมองข้าม และในบางครั้งยังไม่สามารถแยกแยะออก จนกว่าจะเกิดปัญหากับตัวเองถึงจะตระหนักรู้ในข้อสังเกตนี้

หากท่านมีข้อสงสัย หรือกำลังมองหาที่ปรึกษาในการทำงานวิจัย งานวิทยานิพนธ์ หรืองานดุษฎีนิพนธ์สามารถติดต่อเราได้ตามช่องทางด้านล่างนี้

Credit: https://bit.ly/3G5khgt