เทคนิคแก้ภาวะ BURNOUT SYNDROME

เชื่อว่าทุกคนต้องเคยเจอปัญหานี้อย่างแน่นอน หรือถ้าใครไม่รู้ว่าอาการมันเป็นยังไงมาทำความรู้จักกัน

BURNOUT SYNDROME ภาวะการหมดไฟคืออะไร?

BURNOUT SYNDROME คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียด จนบางครั้งรู้สึกมีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ เบื่อหน่าย ไม่หยิบจับทำอะไร รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ มองงานที่กำลังอยู่ในเชิงลบ ขาดความสุข สนุกในเนื้องาน หมดแรงจูงใจประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง บางรายอาจรู้สึกเหินห่างจากเพื่อนร่วมงาน จนทำให้ความมีความรู้สึกหมดเรี่ยวแรงไม่อยากทำอะไร ไม่มีอารมณ์เขียนงานวิจัย

พฤติกรรมที่จะทำให้เราเป็น BURNOUT SYNDROME 

มันเป็นความอ่อนล้าทางอารมณ์ จิตใจ และร่างกายจากการที่เราต้องเผชิญหน้ากับงานที่หนักมากก และเครียดติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น

●​เขียนงานหนักมาก ติดกันหลายๆวัน ในเวลาอันจำกัด อาจารย์เร่งจนไฟรนก้นแล้วค่ะ

●​เขียนไปโดยไร้จุดหมาย ไร้ความมั่นใจ ไม่รู้เลยว่ามันถูกต้องหรือไม่ เขียนไปอย่างงั้นแหละไม่มีใครอนุมัติได้เลย ต้องรออาจารย์อย่างเดียว

●​ระบบจัดเรียงลำดับความสำคัญเริ่มพังง งงไปหมด ทำอะไรก่อนดี แก้อันไหนก่อนดี

●​รู้สึกว่าแก้เท่าไหร่ก็ไม่เห็นจะผ่านเลย ไม่เห็นอนาคตของตัวเองที่จะผ่านได้เลยด้วย โดยภาวะเริ่มแรกจะเกิดขึ้นเมื่อน้องๆ รู้สึกว่าตัวเองรับมือกับงานต่างๆ ไม่ไหวอีกต่อไป จนอยากจะเท! เท!! เททุกอย่าง!!!

ซึ่งหากเรามีพฤติกรรมเหล่านี้ มันจะส่งผลถึงผลเสียตามาม ดังนี้เลย

●​เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง

●​ปวดเมื่อย ปวดไมเกรนบ่อยๆ

●​นอนไม่หลับ

●​รู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง รู้สึกว่าตนไร้คุณค่าในตัวเอง

●​หงุดหงิด โมโหง่ายมากกก

●​เมินงาน อยากเทก็เท

●​ไม่อยากยุ่งกับผู้อื่นๆ อยากแยกตัวอยู่คนเดียว

เทคนิคแก้ไขภาวะ BURNOUT SYNDROME ให้ดีขึ้น

1. นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลา อย่าเสียเวลาไปกับความกังวลในเรื่องงานของคุณ และพยายามพัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา

2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ กินอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ

3. ลดความเครียดลง โดยการหากิจกรรมทำนอกเวลา ฟังเพลง ดูหนัง ออกกำลังกาย เป็นไปได้ลาพักร้อนเป็นระยะเวลาสั่นๆ

4. จัดลำดับความสำคัญของงาน ลดงานบางอย่างที่ไม่จำเป็นต้องลงแรงพร้อมกัน เช่น ใช้เวลาทำงานสำคัญและเร่งด่วนก่อน อาจจะเป็นงานที่คะแนนเยอะ ส่งใน 1-3 วัน ส่วนงานที่ก็สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เช่น อ่านหนังสือเตรียมสอบ ก็อาจจะจัดตารางแทรกอ่านระหว่างวันหรือรอทำหลังจากงานด่วนผ่านไปแล้วก็ได้

5. ปรับทัศนคติในการทำงาน ทำความเข้าใจในเนื้องาน และองค์กรที่ทำงานด้วย

6. เปิดใจให้กับคนรอบข้าง อย่าลังเลที่จะปรึกษาเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้างาน พยามหลีกเลี่ยงกับคนที่มีความคิดในแง่ลบ ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน

และนี่คือ เทคนิคแก้ภาวะ Burnout syndrome ถ้าน้องๆ มีความคิดว่า “งานของเราต้องดีที่สุด!” ดีที่สุดของเรากับดีที่สุดของอาจารย์กับเรา มันไม่เหมือนกันนะคะ บางงานเราลงแรงหนักมาก คิดว่าดีแน่นอน ผลลัพธ์กลับออกมาไม่ดี ดังนั้น แค่การทำวิจัยก็หนักพออยู่แล้ว อย่ากดดันตัวเองเลยค่ะ อย่าแบกทุกอย่างไว้บนบ่า อยากจะเทก็เทไปก่อนในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อเติมไฟเต็มที่ก็ค่อยกลับมาลุยงานวิจัยกันต่อค่า