prothesis2000

เลือกหัวข้องานวิจัยอย่างไรดี

เลือกหัวข้องานวิจัยอย่างไรดี
หลักเกณฑ์การเลือกหัวข้อปัญหา ผู้วิจัยควรทราบหลักเกณฑ์ในการเลือกหัวข้อวิจัย เพื่อที่จะเลือกหัวข้อปัญหาการวิจัยที่ดีและเหมาะสม เกณฑ์ในการคัดเลือกมีดังต่อไปนี้
เลือกจากความสนใจของตนเอง 1,2 เป็นที่ตั้ง ไม่ว่าหัวข้อที่จะทำการวิจัยมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด และกำลังอยู่ในความสนใจของคนทั่วไปหรือไม่ หากผู้ที่จะทำวิจัยไม่มีความสนใจในหัวข้อนั้นๆ ก็ไม่ควรที่จะทำวิจัยหัวข้อนั้น เพราะงานวิจัยจำนวนมากไม่สามารถลุล่วงไปได้ด้วยดีด้วยเหตุผลเดียวคือ ผู้วิจัยไม่มีความสนใจอย่างแท้จริง ความสนใจในเรื่องที่จะทำวิจัยมีความสำคัญมาก เพราะเป็นแรงจูงใจที่จะผลักดันให้ผู้วิจัยเกิดการติดตามค้นคว้า เพื่อให้โครงการวิจัยได้บรรลุเป้าหมาย ไม่เบื่อหน่ายต่อการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้น2
เลือกปัญหาที่ตรงกับความสามารถของตนเอง1,2 การวิจัยเป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในด้านต่างๆ เช่น การเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล ความสามารถในการให้รหัสข้อมูล ความสามรถในการเลือกใช้สถิติวิเคราะห์ และความสามารถในการตีความหมายข้อมูลและอ่านผลที่ได้จาการวิเคราะห์
ความสามารถในด้านต่างๆที่กล่าวมา ไม่ได้หมายความว่าจะต้องอยู่ในตัวบุคคลเพียงคนเดียว แต่ผู้วิจัยจะต้องมีความสามารถในการระดมบุคคลที่มีความสามารถต่างๆให้เข้ามามีส่วนร่วมในการวิจัยในบทบาทและสถานภาพต่างๆ เช่น เป็นผู้ร่วมวิจัย หรือเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้งานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี2
เลือกปัญหาที่มีคุณค่า1 ทั้งนี้ปัญหาที่ต้องการทำวิจัย ควรเป็นการเพิ่มพูนให้เป็นความรู้ใหม่ และเสริมทฤษฎี อีกทั้งเป็นประโยชน์ในทางปฏิบัติงานต่อไป
คำนึงถึงความเหมาะสมในเรื่องของเวลา งบประมาณและกำลังแรงงานของตน1 ในการทำวิจัยไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม จะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียเวลา และกำลังแรงงาน ดังนั้นในการตัดสินใจว่าจะทำการวิจัยในหัวข้อใดจะต้องคำนึงถึงว่า หัวข้อนั้น มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด ทั้งในตัวของมันเองและเมื่อเปรียบเทียบกับหัวข้ออื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจะต้องเสนอขอรับทุนจากผู้อื่นด้วย 2
คำนึงถึงสภาพแวดล้อมที่จะเอื้ออำนวยในการทำวิจัย เช่น ปัญหานั้นจะได้รับความร่วมมือมากน้อยเพียงใด, มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลหรือไม่ หรือผู้วิจัยต้องสร้างขึ้นเอง, ปัญหานั้นมีแหล่งค้นคว้าหรือไม่