prothesis2000

เทคนิคการเขียนบทความวิชาการ : #หนึ่งบทความวิชาการคือหนึ่งบทเรียนในตำราหรือหนังสือ

สมรรถนะตั้งต้นของความสามารถในการเขียนตำราหรือหนังสือทางวิชาการ
บทความวิชาการ เป็นข้อเขียนทางวิชาการที่อยู่ระหว่าง 8-15 หน้ากระดาษ เพื่อนำเสนอแง่คิด มุมมอง แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนงานวิจัยให้เป็นที่รู้จักแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานทางวิชาการที่บุคลากรสายวิชาการจำเป็นต้องกระทำให้มีขึ้น ด้วยเหตุผลของบทบาทความเป็นนักวิชาการและโอกาศความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพ สำหรับเทคนิคการเขียน สำหรับ #แนวทางและเทคนิคการเขียนบทความวิชาการ ดังนี้

  1. #นิยามบทความวิชาการ หมายถึง งานเขียนเรียบเรียงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง (เรื่องเดียว) ที่อ้างอิงบนฐานความรู้ (แนวคิด ทฤษฎี งานวิจัย) โดยทั่วไปความยาวระหว่าง 8-15 หน้า
  2. #หลักการของการเขียนบทความวิชาการ
    a. บทความวิชาการหนึ่งบทความควรนำเสนอแค่หนึ่งประเด็น
    b. แก่นสารัตถะของบทความอาจใช้แนวทางการเขียนลักษณะใดลักษณะหนึ่งหรือมากกว่า
    c. การเรียบเรียงต้องทำตามแบบงานเขียนทางวิชาการ (มีอ้างอิงข้อมูลอย่างครบถ้วน)
    d. ต้องเรียบเรียงการเขียนตามรูปแบบของวารสารที่จะตีพิมพ์
    e. เขียนอย่างกระชับโดยความยาวระหว่าง 8-15 หน้า
    f. การเขียนต้องไม่ละเมิดจริยธรรมทางวิชาการ (คัดลอกผลงานคนอื่นโดยไม่อ้างอิง การตีพิมพ์ซ้ำซ้อน)
    g. ฯลฯ
  3. #เทคนิควิธีการเรียบเรียงบทความวิชาการ
    3.1. #การตั้งชื่อเรื่อง : ถ้อยคำที่สื่อถึงแก่นสารัตถะของบทความ
    a. ร้อยเรียงคำสำคัญมาตั้ง (Main Idea+เจ้าของ+พิกัด)
    b. เอาชื่อวัตถุประสงค์ในบทความการวิจัยมาตั้ง
    c. ตั้งให้ชื่อให้งดงาม (ดึงดูดคนอ่าน)
    d. ฯลฯ
    3.2. #การเขียนบทคัดย่อ/สาระสังเขป : แก่นสารัตถะแบบกระชับของบทความ นำเสนอสองส่วนอาจะเป็นพารากราฟเดียวหรือสองพารากราฟก็ได้
    a. ส่วนแรก เรียบเรียงแบบกระชับไม่เกิน 5 บรรทัด (ความเป็นมาความสำคัญประเด็นวาทะกรรม_หลักการและเหตุผล)
    b. ส่วนท้าย เรียบเรียงแก่นสารัตถะแบบกระชับของเนื้อหาบทความ ประเมิน 5-10 บรรทัด
    3.3. #การเลือกคำสำคัญ : ถ้อยคำที่สื่อถึงกรอบแนวคิดและจำนวนองค์ประกอบกรอบแนวคิดของบทความ
    3.4. #การเขียนบทนำ : การเรียบเรียงหลักการและเหตุผลของการนำเสนอบทความ
    a. ส่วนแรก ระบุความเป็นมาของเรื่อง (Main Idea)
    b. ส่วนสอง ระบุความสำคัญของเรื่อง (Main Idea)
    c. ส่วนสาม นำเสนอประเด็นโต้แย้งทางวิชาการ (Argument) หรือ ประเด็น Anti-Thesis หรือ ชายขอบแห่งความรู้ของประเด็นศึกษา (Main Idea) หรือ ประเด็นวาทะกรรมที่น่าสนใจ ฯลฯ
    d. ส่วนที่สี่ สรุปเป็นหลักการและเหตุผล (ด้วยปรากฏการณ์ที่นำเสนอมาจึงต้องมีการวิจัยเรื่องนี้)
    3.5. #การเขียนเนื้อหาสาระ [ (1) บอกองค์ประกอบ (Composition) (2) อธิบายกระบวนการ (Process) (3) อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร (Relationships between variables) (4) อธิบายระบบและกลไก (System) (5) เล่าเรื่องหรือพรรณนาความ (Narrative) (6) การตีความ (Interpretation) (7) การวิเคราะห์แยกแยะ (Identify analysis) (8) การวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสีย (Advantage and Disadvantage Analysis) (9) การวิพากษ์วิจารณ์ (Critical review) (10) การสังเคราะห์ (Synthesis) (11) การให้ข้อเสนอแนะหรือแนวทางการพัฒนา (Suggestion or Development guidelines) และ (12) การเขียนแบบผสมผสาน (Mixed)]
    3.6. #การเขียนเอกสารอ้างอิง : เป็นการระบุรายงานเอกสารและหลักฐานการอ้างอิงที่มีการอ้างอิงข้อมูลในเนื้อหาของบทความ : รูปแบบการเขียนก็มีหลากหลายตามแต่รูปแบบของวารสาร เช่น APA style, Chicago style, Footnote เป็นต้น