prothesis2000

เทคนิคการตั้งคำถามในแบบสอบถาม

หากคุณเคยทำวิจัย คุณจะรู้ว่าการออกแบบสอบถามเป็นหนึ่งจากหลาย ๆ ส่วนที่ยาก และเป็นหนึ่งในส่วนที่สำคัญที่สุดของกระบวนการวิจัยตลาด ซึ่งองค์ประกอบของแบบสอบถามจะแตกต่างกันไป ดังนั้นเมื่อคุณต้องสร้างแบบสอบถามอาจจะต้องลำบากไปสักนิด วันนี้เราจะมาลดความยากเหล่านั้นได้ด้วย 7 ขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยคุณเมื่อออกแบบสอบถาม
1. การพิจารณาหัวข้อของปัญหาที่ต้องการศึกษาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อให้ทราบว่าต้องการข้อมูลเกี่ยวข้องกับอะไร นอกขากนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยจะเป็นตัวกำหนดขอบเขตของข้อมูลได้ว่าจะต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้างเพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา
2. ศึกษาค้นคว้าเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อผู้ที่ทำการศึกษาวิจัยจะได้ตั้งคำถามรอบคอบยิ่งขึ้น และผู้ศึกษาวิจัยจะได้จับประเด็นสำคัญๆ ได้ครบทุกหัวข้อ 

3. ร่างแบบสอบถาม โดยเขียนข้อคำถามต่างๆ ให้สอดคล้องกับสิ่งต้องการศึกษาหาคำตอบและคาดด้วยว่าคำตอบเหล่านั้นจะสนองวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพียงใด อาจใช้เป็นคำถามปลายปิดหรือปลายเปิดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม จากนั้นเรียงลำดับคำถาม อาจเรียงตามหมวดหมู่ของคำถาม เช่น คำถามเกี่ยวกับทัศนคติ ข้อมูลสวนตัว หรือเรียงจากความยากง่าย เช่นให้เรียงจากข้อคำถามง่ายๆ ไปหายาก ถามข้อมูลทั่วๆไป แล้วต่อต่อด้วยคำถามที่ต้องการข้อมูลเจาะลึก เป็นต้น

4. ตรวจสอบและปรับปรุงร่างแบบสอบถาม เป็นการหาข้อบกพร่องของแบบสอบถาม อาจทำได้ 2 วิธี คือ

  • การตรวจสอบโดยผู้ศึกษาวิจัยเองอีกครั้ง เพื่อพิจารณาถึงถ้อยคำและประโยคว่าชัดเจนหรือไม่ และดูการจัดเรียงข้อคำถามว่าเหมาะสมหรือยัง
  • การตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อขอคำแนะนำและคำวิจารณ์สำหรับแนวทางในการปรับปรุงแบบสอบถามให้ความน่าเชื่อถือมากที่สุด รวมทั้งการพิจารณาเกี่ยวกับความเที่ยงตรง ของแบบสอบถามด้วย

5. การทดสอบแบบสอบถาม หรืออาจเรียกว่า pre-test เป็นการนำแบบสอบถามไปสอบถามกับกลุ่มประชากรเพียงบางส่วน (โดยทั่วไปประมาณ 20 ชุด) เพื่อพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของข้อบกพร่องบางประการของผู้ตอบแบบสอบถาม และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ไปหาคุณภาพของแบบสอบถาม และนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ ไปหาคุณภาพของแบบสอบถาม เพื่อปรับปรุงแบบสอบถาม เพื่อปรับปรุงแบบสอบถามให้ดีขึ้น

 6. ปรับปรุงแบบสอบถามครั้งที่ 2 โดยพิจารณาจากผลที่ได้ในขั้นตอนที่ 5

7. สร้างแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์ โดยการจัดวางคำชี้แจง เนื้อหาของคำถาม ตรวจสอบคำสะกด วรรคตอนย่อหน้า การจัดวางให้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ ชั้นสุดท้ายจัดพิมพ์และทำสำเนาพร้อมกับเก็บข้อมูลจากตัวอย่างจริง

การตั้งคำถามและการใช้ถ้อยคำเป็นเรื่องสำคัญ จะต้องอาศัยศิลปะและความชำนาญ ประกอบด้วยเทคนิคเล็กๆน้อยๆที่ช่วยให้การตั้งคำถามง่ายขึ้น

  • ใช้คำถามที่ชัดเจน สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และได้ใจความ ไม่ตีความหมายได้หลายแง่หลายด้าน
  • ไม่ควรใช้คำที่ตีความหมายได้แตกต่างกันในแต่ละบุคคล เช่น คำว่า บ่อยๆ บางครั้งนานๆครั้ง ซึ่งแต่ละคนจะตีความหมายของความถี่แตกต่างกัน เช่น บางคนตีความหมายของคำว่าบ่อยว่า ทุกสัปดาห์ หรือบางคนตีความหมายว่า เดือนละครั้ง ก็ได้ 
  • ไม่ควรใช้ปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น ห้ามไม่ให้
  • ระวังไม่ให้ตัวเลือกตอบน้อยเกินไป และควรให้มีตัวเลือกตอบที่คนส่วนใหญ่น่าจะเลือกตอบอยู่ด้วย
  • หลีกเลี่ยงคำที่ในรูปนามธรรม เนื่องจากแต่ละบุคคลตีความไม่เหมือนกัน เช่น เลว ดี มาก น้อย สวย รวย จน 
  • ระมัดระวังในการใช้บางคำที่เกิดขึ้นตามยุคสมัย หรือตามสื่อต่างๆ เช่น ดูด ชิวๆ แฉล้ม เป็นต้น รวมทั้งไม่ใช้คำสุภาพ ภาษาแสลง
  • ไม่ควรตั้งคำถามที่เอนเอียงไปทางใดทางหนึ่ง เช่น การขึ้นต้นข้อคำถามในลักษณะที่เห็นด้วย ถูกต้องหรือไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจน

สิ่งที่สำคัญในการตั้งคำถามใดๆ ควรตั้งคำถามที่สามารถนำข้อมูลนั้นไปวิเคราะห์ ทางสถิติได้ง่ายอาจกำหนดให้มีคำถามปลายปิดมากกว่าคำถามปลายเปิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนั้นๆ

ที่มา : การตั้งคำถามในแบบสอบถาม