เกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา

เกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา

การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์

      วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษารับตีพิมพ์ผลงานวิชาการในรูปแบบบทความวิจัย บทความ วิชาการและบทวิจารณ์หนังสือภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขาวิชาภาษาและวรรณคดี วัฒนธรรมและวัฒนธรรมศึกษา การแปล สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา

ประวัติศาสตร์ ปรัชญาและศาสนา บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ บทความต้องไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารและไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่นเรื่องที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการกลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ

บทความที่รับพิจารณาตีพิมพ์ต้องพิมพ์เป็นภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ พิมพ์บนกระดาษ ขนาด A 4 ด้วยตัวอักษร Angsana New ขนาด 16 pt. ความยาวไม่เกิน 15 หน้า (รวมบรรณานุกรม) การตั้งหน้า กระดาษ ระยะขอบ บน-ล่าง ซ้าย-ขวา 1 นิ้ว หรือ 2.54 เซนติเมตร และมีรายละเอียด ดังนี้

  1. ชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)

  2. ตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) หน่วยงานที่สังกัด อีเมล์ และเบอร์โทรศัพท์

  3. บทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวประมาณ 250 คำ

  4. คำสำคัญ (keyword) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

  5. เนื้อหาของบทความ

          5.1 บทความวิจัย ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ประกอบด้วย บทนำ วิธีการศึกษา ผลการศึกษา อภิปรายผล ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง

          5.2 บทความวิชาการ ความยาวไม่เกิน 15 หน้า ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา บทสรุป และ เอกสารอ้างอิง

          5.3 บทวิจารณ์ ความยาวของบทความ 3-5 หน้า พร้อมเอกสารอ้างอิง

          5.4 งานแปลหรือเรียบเรียงจากภาษาต่างประเทศ ต้องมีหลักฐานการอนุญาตให้ตีพิมพ์เป็น ลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของลิขสิทธิ์

  6. การอ้างอิงใช้รูปแบบของสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน (APA)

        6.1 การอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง ให้ใช้การอ้างอิงแบบนาม-ปี (name-year system) โดย ระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และเลขหน้าของเอกสาร ไว้ข้างหน้าหรือข้างท้ายข้อความที่ต้องการอ้างอิงแหล่ง ที่มาของข้อความนั้น เช่น

             (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล, 2555, หน้า 15)

             (รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล และสุจิตต์ วงษ์เทศ, 2558, หน้า 10-12)

             (Nord, 1991, p. 13)

             (Nord & Vermeer, 2002, pp. 7-9)

         6.2 เอกสารอ้างอิง (Reference) เป็นการรวบรวมรายการเอกสารทั้งหมดที่ผู้เขียนใช้อ้างอิง ในเนื้อหา นำมาจัดเรียงตามลำดับตัวอักษรชื่อผู้แต่ง และเรียงภาษาไทยก่อนภาษาอังกฤษ

ไกเกอร์, อาร์โน. (2551). อำลาเบอร์ลิน: Abchied von Berlin. ใน รวมเรื่องสั้นภาษา เยอรมัน (อัญชลี โตพึ่งพงศ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วงกลม.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

สัญชัย สุวังบุตร. (2552). โอลิมปิก ค.ศ. 1936: กีฬาแห่งสวัสดิกะ. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 34(1), 89.

Chomsky, N. (1988). Language and problems of knowledge: The Managua lectures. Cambridge, MA: MIT Press.