หลายท่านที่เป็นนักวิจัยมือใหม่ที่จำเป็นที่จะต้องเขียนบทความวิชาการเพื่อนำเสนอ

หลายท่านที่เป็นนักวิจัยมือใหม่ที่จำเป็นที่จะต้องเขียนบทความวิชาการเพื่อนำเสนอส่งตีพิมพ์ให้กับวารสารทางวิชาการต่างๆ นั้นประสบปัญหาในการที่จะเขียนอ้างอิงอย่างถูกต้อง เพราะไม่รู้ว่าจะต้องเขียนในรูปแบบใด

การเขียนอ้างอิงบทความวิชาการในปัจจุบันนั้น มีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามข้อกำหนดของแต่ละสถาบันหรือแต่สำนักวารสารนั้น การที่จะเขียนอ้างอิงบทความเชิงวิชาการให้ถูกต้อง

สิ่งแรกที่ท่านต้องคำนึงถึงก่อนคือ สถานที่ตีพิมพ์ แหล่งตีพิมพ์กับวารสารแห่งใด ซึ่งจะทำให้ท่านทราบว่าข้อกำหนดของการจัดพิมพ์ที่ถูกต้องนั้นควรจะจัดพิมพ์ในรูปแบบใด และต่อไปนี้คือ 3 เทคนิคในการเขียนอ้างอิงอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

  1. เขียนอ้างอิงโดยใช้ปีที่อัปเดต
    ไม่ว่าท่านจะเขียนอ้างอิงในรูปแบบใด หลักการที่สั้นและกระชับที่สุดและเป็นเทคนิคที่นักวิจัยส่วนใหญ่เลือกใช้คือปีที่นำมาเขียนอ้างอิงของแหล่งอ้างอิงดังกล่าวจะต้องเป็นปีที่ใหม่ที่สุด ส่วนใหญ่แล้วหลักการเขียนอ้างอิงบทความวิชาการที่ถูกต้อง คือ ปี พ.ศ. ที่ใช้แหล่งอ้างอิงที่มีเนื้อหาที่ทันสมัยที่สุด มาใช้ในการสนับสนุนแนวคิด ทฤษฎีงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในงานวิจัยที่เราทำการศึกษา

วิจัยเชิงคุณภาพงานวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพการทำงานวิจัยงานวิจัยทำงานวิจัยเคล็ดลับการทำงานวิจัยบริการงานวิจัยบริการรับทำวิจัยบริการรับทำวิจัย.comเทคนิคทำงานวิจัยปัญหางานวิจัยข้อผิดพลาดในการทำวิจัยกำหนดปัญหางานวิจัยการเลือกหัวข้องานวิจัยการวิเคราะห์สถิติวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลบทความวิชาการ_การเขียนบทความวิชาการ
อ้างอิงจาก : www.unsplash.com
ฉะนั้น แหล่การสืบค้นข้อมูลงที่ใช้ในการอ้างอิงผลงานวิจัย จะต้องมีเนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือแหล่งข้อมูลออนไลน์ในการศึกษาที่ทันสมัย และมีความเป็นปัจจุบัน อาทิเช่น ศูนย์องค์กรวิจัยของภาครัฐ หรือภาคเอกชนต่างๆ และจำเป็นที่จะต้องคำนึงรูปแบบที่ใช้ในการอ้างอิงของแหล่งที่จะส่งตีพิมพ์ได้

  1. เขียนอ้างอิงตามรูปแบบที่แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่นั้นกำหนดไว้
    หลายครั้งที่นักวิจัยมือใหม่ไม่สามารถเขียนอ้างอิงได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากว่าไม่รู้มาก่อนว่าจะต้องมีการอ้างอิงข้อมูลจากทางวารสารวิชาการ ซึ่งวารสารวิชาการที่เป็นรายเดือนหรือรายปีก็จะมีข้อกำหนดในการที่จะจัดพิมพ์ที่แตกต่างกันไป

วิจัยเชิงคุณภาพงานวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพการทำงานวิจัยงานวิจัยทำงานวิจัยเคล็ดลับการทำงานวิจัยบริการงานวิจัยบริการรับทำวิจัยบริการรับทำวิจัย.comเทคนิคทำงานวิจัยปัญหางานวิจัยข้อผิดพลาดในการทำวิจัยกำหนดปัญหางานวิจัยการเลือกหัวข้องานวิจัยการวิเคราะห์สถิติวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลบทความวิชาการ_การเขียนบทความวิชาการ
อ้างอิงจาก : www.unsplash.com
ดังนั้น ก่อนที่ท่านจะทำการส่งตีพิมพ์ ท่านจึงจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาข้อมูลการตีพิมพ์ของแหล่งตีพิมพ์นั้นก่อน เพื่อที่จะจัดพิมพ์แหล่งอ้างอิงตามที่ทางวารสารกำหนดได้อย่างถูกต้อง

  1. อย่าลืมบันทึกไฟล์แหล่งอ้างอิง
    การเขียนผลงานทางวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นบทความวิชาการ ผลงานวิจัย บทความวิจัย หรือเอกสารทางวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น การบันทึกไฟล์แหล่งอ้างอิงยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญอยู่เสมอ เนื่องจากการส่งตีพิมพ์นั้นจะมีคณะกรรมการที่คอยทำการตรวจสอบเนื้อหาของท่านเพื่อการอนุมัติการส่งตีพิมพ์ผลงานดังกล่าว

หลายครั้งที่นักวิจัยมือใหม่ไม่รู้ว่าการเขียนผลงานวิชาการนั้น จำเป็นที่จะต้องบันทึกไฟล์แหล่งอ้างอิงไว้ทุกครั้ง เพราะในการตรวจสอบเนื้อหาจากคณะกรรมการนั้นจะมีการเรียกขอตรวจสอบแหล่งอ้างอิงหรือเรียกดูแหล่งข้อมูลที่ท่านนำมาด้วย เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าแหล่งอ้างอิงที่ท่านใช้ในเนื้อหางานวิชาการของท่านนั้นถูกต้องและชัดเจนเพียงพอ

วิจัยเชิงคุณภาพงานวิจัยเชิงคุณภาพการวิเคราะห์งานวิจัยเชิงคุณภาพการทำงานวิจัยงานวิจัยทำงานวิจัยเคล็ดลับการทำงานวิจัยบริการงานวิจัยบริการรับทำวิจัยบริการรับทำวิจัย.comเทคนิคทำงานวิจัยปัญหางานวิจัยข้อผิดพลาดในการทำวิจัยกำหนดปัญหางานวิจัยการเลือกหัวข้องานวิจัยการวิเคราะห์สถิติวิเคราะห์ข้อมูลสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลบทความวิชาการ_การเขียนบทความวิชาการ
อ้างอิงจาก : www.unsplash.com
แต่หากท่านไม่ได้บันทึกไฟล์แหล่งอ้างอิงเอาไว้ ก็จะไม่สามารถยืนยันหรือเน้นย้ำได้ว่าผลของการวิจัยครั้งดังกล่าวนี้สอดคล้องกับงานวิจัยหรือสอดคล้องกับแนวคิดทฤษฎีใดอย่างไรบ้าง

ซึ่งอาจจะทำให้ท่านต้องพบกับปัญหาในการหาแหล่งอ้างอิงใหม่เพื่อนำมาเชื่อมโยงหรือสอดคล้องกับผลลัพธ์งานวิจัยของท่านอีกครั้ง

จะเห็นได้ว่าการเขียนแหล่งอ้างอิงที่ถูกต้องในบทความวิชาการนั้นจำเป็นต้องฝึกฝนและพัฒนาอยู่เสมอ โดยเฉพาะการเขียนแหล่งอ้างอิงที่มีความซับซ้อนและมีรายละเอียดสูง ยิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะความรู้ความสามารถในการเขียนอ้างอิงถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งที่ท่านต้องฝึกฝนและพัฒนาให้เกิดขึ้นเพื่อยกระดับผลงานวิชาการของท่านให้ดียิ่งขึ้นต่อไป