หลักการและขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถามที่ดี

แบบสอบถาม เป็นรูปแบบของคำถามเป็นชุดๆที่ได้ถูกรวบรวมไว้อย่างมีหลักเกณฑ์และเป็นระบบเพื่อใช้วัดสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการจะวัดจากกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรเป้าหมายให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง

หลักการสร้างแบบสอบถาม

1. สอดคล้องกับวัตถุประสงค์การวิจัย

2. ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย เหมาะสมกับผู้ตอบ

3. ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ

4. แต่ละความถามควรมีนัย เพียงประเด็นเดียว

5. หลีกเลี่ยงการใช้ประโยคปฏิเสธซ้อน

6. ไม่ควรใช้คำย่อ

7. หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็นนามธรรมมาก

8. ไม่ชี้นำการตอบให้เป็นไปแนวทางใดแนวทางหนึ่ง

9. หลีกเลี่ยงคำถามที่ทำให้ผู้ตอบเกิดความลำบากใจในการตอบ

10. คำตอบที่มีให้เลือกต้องชัดเจนและครอบคลุมคำตอบที่เป็นไปได้

11. หลีกเลี่ยงคำที่สื่อความหมายหลายอย่าง

12. ไม่ควรเป็นแบบสอบถามที่มีจำนวนมากเกินไป ไม่ควรให้ผู้ตอบใช้เวลาในการตอบแบบสอบถามนานเกินไป

13. ข้อคำถามควรถามประเด็นที่เฉพาะเจาะจงตามเป้าหมายของการวิจัย

14. คำถามต้องน่าสนใจสามารถกระตุ้นให้เกิดความอยากตอบ

ขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการสร้างแบบสอบถาม

2. ระบุเนื้อหาหรือประเด็นหลักที่จะถามให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ที่จะประเมิน

3. กำหนดประเภทของคำถามโดยอาจจะเป็นคำถามปลายเปิดหรือปลายปิด

4. ร่างแบบสอบถาม โครงสร้างแบบสอบถามอาจแบ่งเป็น 3 ตอน คือ

  • ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้น/ข้อมูลทั่วไป
  • ตอนที่ 2 ข้อมูลหลักเกี่ยวกับเรื่องที่จะถาม
  • ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะ

5. ตรวจสอบข้อคำถามว่าครอบคลุมเรื่องที่จะวัดตามวัตถุประสงค์หรือไม่

6. ให้ผู้เชียวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรงเนื้อหาและภาษาที่ใช้

7. ทดลองใช้แบบสอบถามเพื่อดูความเป็นปรนัย ความเชื่อมั่นและเพื่อประมาณเวลาที่ใช้

8. ปรับปรุงแก้ไข

9. จัดพิมพ์และทำคู่มือ

และนี่คือหลักการและขั้นตอนในการสร้างแบบสอบถามที่ดีลองนำไปปรับใช้ในการสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลของคุณดูนะคะหากติดปัญหาเรื่องงานวิจัยสามารถสอบถามได้

Credit: https://bit.ly/2NzKH1C