prothesis2000

สิ่งที่ควรรู้ในการเขียนบรรณานุกรม APA 6

บรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง เป็นส่วนสำคัญที่สำคัญของการเขียนงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา รายงานการวิจัย หรือที่เราเห็นกันมากก็คือวิทยานิพนธ์ ซึ่งจะปรากฏอยู่ท้ายเล่มของผลงานที่เป็นเป็นแหล่งรวบรวบรายการข้อมูลที่งานเขียนนั้น ๆ ได้อ้างอิงถึง อีกทั้งยังเป็นส่วนที่จะเชื่อมโยงไปยังต้นทางของแหล่งข้อมูลที่ให้ผู้อ่านสามารถค้นหาและสืบค้นเพิ่มเติมได้

โดยส่วนใหญ่แล้วการเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิง จะนิยมใช้มาตรฐานการเขียนที่ชื่อว่า APA หรือ (American Psychological Association) พัฒนามาจากนักสังคมศาสตร์และนักพฤติกรรมศาสตร์มากว่า 80 ปี เพื่อเป็นมาตรฐาน ในการเขียนอย่างเป็นระบบสำหรับการทำวิจัย รายงานการวิจัย การทบทวนวรรณกรรม บทความและกรณีศึกษา สำหรับนักเขียนและนักศึกษานำมาใช้ในวิทยานิพนธ์ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย โดยในปัจจุบัน APA ได้พัฒนามาถึงเวอร์ชันที่ 6 ที่มีมาตราฐานใหม่ที่เป็นแปลงจากเดิมไปพอสมควร ในบทความนี้เราจะยกตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม ที่จำเป็นและใช้เป็นแหล่งอ้างอิงกันมาก เช่น หนังสือ,งานวิจัย,วารสาร,วิทยานิพนธ์,สื่อออนไลน์ และสิ่งที่ควรรู้ในการเขียนบรรณานุกรม หรือเอกสารอ้างอิงมีดังต่อไปนี้ค่ะ

ll.jpg
image0 (1).png

1. หนังสือ

ผู้แต่ง 1./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

สุกัญญา รอส. (2561).  วัสดุชีวภาพ.  พิษณุโลก: สํานักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หนังสือไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง

ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่).//(ปีพิมพ์).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

หลากความคิดชีวิตคนทํางาน. (2551).  กรุงเทพฯ: แผนงานสุขภาวะองค์กรภาคเอกชน สํานักงานกองทุน
////////สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

บทความหรือบทในหนังสือ

ชื่อผู้แต่งบทความหรือบท./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความหรือบท./ใน หรือ In/ชื่อบรรณาธิการ/(บ.ก. หรือ Ed. หรือ Eds.),
////////ชื่อหนังสือ/(น. หรือ p. หรือ pp. เลขหน้า).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

วัลลภัช สุขสวัสดิ์. (2561).  แนวความคิดเรื่องชนชั้นนำทางการเมืองของกีตาโน มอสกา กับชนชั้นนำทางการ
////////เมืองไทยในยุคมาลานำไทย. ใน วัชรพล ศุภจักรวัฒนา และวัชรพล พุทธรักษา (บ.ก.), ว่าด้วยทฤษฎี
////////รัฐศาสตร์ และรัฐประศาสนศาสตร์ร่วมสมัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). (น. 47-68).  พิษณุโลก: สํานักพิมพ์
////////มหาวิทยาลัยนเรศวร.

*หมายเหตุ (พิมพ์ครั้งที่) ให้ระบุตั้งแต่ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป

2. รายงานการวิจัย

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อเรื่อง(รายงานผลการวิจัย).//สถานที่พิมพ์:/สํานักพิมพ์.

พินิจทิพย์มณี. (2553).  การวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการตายของ
////////ประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย).  กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

3. วิทยานิพนธ์

วิทยานิพนธ์แบบรูปเล่ม

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissertation หรือ วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต หรือ master’s thesis)./สถานที่พิมพ์./ชื่อสถาบัน.

วันชนะ จูบรรจง. (2560). ระบบสนับสนุนการประมาณการสัมผัสแคดเมียมผ่านการบริโภคอาหาร (วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร

วิทยานิพนธ์ฐานข้อมูลออนไลน์

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต หรือ Doctoral dissertation หรือ วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต หรือ master’s thesis)./สถานที่พิมพ์./ชื่อสถาบัน. สืบค้นจาก หรือ Retrieved from
////////http://www.xxxxxxxxx

พรทิพย์ ว่องไวพิทยา. (2551). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการมอบหมายและ
////////ติดตามความก้าวหน้าของงาน กรณีศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร (วิทยานิพนธ์
////////ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

4. วารสาร

วารสารแบบเล่ม

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่/(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า.

วิชัย พานิชย์สวย, สุมน ไวยบุญญา, พัชรพร ศุภกิจ, และรัตนากร หลวงแก้ว. (2562).  ผลของการใช้บทเรียน PISA
////////ที่มีต่อความสามารถด้านทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนระดับประถมศึกษา.
////////วารสารการวิจัยพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 12(3), 133-160.

วารสารออนไลน์

– กรณีไม่มีเลข DOI

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่/(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า. สืบค้นจาก หรือ
////////Retrieved from http://www.xxxxxxxxx

Pattaratumrong, M., & Wongkhamhaeng, K. (2019).  The Molecular Identification of Nephtys
////////species (Polychaeta: Phyllodocida) from Songkhla Lake, Southern Thailand.  Naresuan
////////University Journal: Science And Technology (NUJST), 27(3), 1-9.
////////http://www.journal.nu.ac.th/NUJST/article/view/Vol-27-No-3-2019-1-9

– กรณีมีเลข DOI

ชื่อผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ.//ชื่อวารสาร,/เลขของปีที่/(เลขของฉบับที่),/เลขหน้า.
////////doi: xxxxxxxxx

Chantana, C. (2019).  A Cooling System for a Mushroom House for Use in the Upper Central
////////Region Climate of Thailand.  Naresuan University Journal: Science And Technology
////////(NUJST), 27(3), 10-19. doi:10.14456/nujst.2019.22

5. Website

ผู้แต่ง./(ปีพิมพ์).//ชื่อบทความ./สืบค้น วันเดือนปี,//จาก หรือ Retrieved from/http://www.xxxxxxxxxx

สรญา แสงเย็นพันธ์. (2561).  มาทำความเข้าใจระบบสี CMYK กับ RGB ภายใน 3 นาที. สืบค้น 18 กันยายน
////////2562,  จาก http://www.nupress.grad.nu.ac.th/cmyk-and-rgb/

Credits: www.nupress.grad.nu.ac.th/วิธีการเขียนบรรณานุกรม/