prothesis2000

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Screenshot 2563-04-15 at 08.19.37.png

การทบทวนวรรณกรรม คือ การสรุปโดยย่อ วิเคราะห์ และเรียบเรียงผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ที่คุณต้องการทำวิจัยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยการทบทวนวรรณกรรมนั้นจะทำให้เกิดความเข้าใจในหัวข้อที่คุณต้องการทำวิจัยมากขึ้น และทราบถึงผลการวิจัยที่ผู้รู้ทางสาขานี้ได้เคยทำไว้ก่อนแล้ว จุดประสงค์หลักคือการหาช่องว่างความรู้ในสาขาเฉพาะของคุณ จะเป็นการเปล่าประโยชน์ ถ้าจะทำวิจัยในสิ่งที่เป็นที่ประจักษ์ในวงการของคุณอยู่แล้วถึงผลของการวิจัยนั้นๆ แก่นของการทำวิจัยคือการค้นคว้าหาคำตอบของคำถามที่ไม่เคยมีผู้ใดค้นพบ โดยเฉพาะผู้ที่ทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกจำเป็นจะต้องทำการทบทวนวรรณกรรมอย่างรอบคอบ เพราะหัวข้อของคุณต้องเป็นการวิจัยที่ไม่มีผู้ใดเคยทำมาก่อน อีกทั้งต้องอธิบายว่าสาขาความรู้นั้นๆจะได้ประโยชน์อย่างไรจากผลวิจัยที่กำลังจะปฏิบัติ

ตามหลักการแล้ว Literature Review คือการค้นหา สรุปย่อ และวิเคราะห์ผลการวิจัยของผู้อื่นที่เคยได้ทำวิจัยและถูกตีพิมพ์ในหัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ของเรา

สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการทบทวนวรรณกรรมและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

  • กำหนดปัญหา ในกำหนดขอบเขตของการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจนให้รู้ว่าต้องการศึกษาในประเด็นอะไรบ้างเพื่อการค้นหาเอกสารต่างๆจะได้แคบลง
  • ค้นหาแหล่งข้อมูล ดูว่ามีแหล่งข้อมูลและสารสนเทศใดบ้างที่เกี่ยวข้องเช่นหนังสือตำราวารสารวิทยานิพนธ์งานวิจัยและแหล่งข้อมูลอื่นๆ
  • เลือกวรรณกรรมที่จะศึกษา เลือกเฉพาะวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่ทำการศึกษาวิจัยควรเลือกวรรณกรรมใหม่ๆเพื่อไม่ให้ข้อมูลล้าสมัยแต่ไม่ควรละเลยงานเก่าที่เป็นงานคลาสสิกของแต่ละสาขาโดยเฉพาะการวิจัยที่ใช้วิธีการวิเคราะห์อภิมานจะมีประโยชน์มากการวิเคราะห์อภิมานเป็นการวิจัยที่ใช้ข้อมูลแต่ละชิ้นด้วยว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือเพียงใด
  • การอ่านวรรณกรรม ผู้วิจัยไม่ควรอ่านเฉพาะบทคัดย่อบทสรุปหรือบทนำเท่านั้นแต่ควรอ่านวรรณกรรมทั้งหมดเพื่อให้เข้าใจชัดเจนจดรายละเอียดของการศึกษาแต่ละเรื่องทางวิธีการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ทฤษฎีข้อค้นพบรวมทั้งตัวบรรณานุกรมที่ผู้วิจัยใช้อ้างอิงด้วยบรรณานุกรมอาจให้ตัวอย่างงานอื่นๆที่น่าสนใจ
  • จำนวนวรรณกรรม ไม่มีข้อกำหนดว่าผู้วิจัยจะต้องทบทวนวรรณกรรมกี่เรื่องการวิจัยที่เสนอในรูปของบทความอาจทบทวนวรรณกรรมที่สำคัญไม่กี่เรื่องในขณะที่งานวิจัยที่เป็นวิทยานิพนธ์อาจต้องทบทวนวรรณกรรมอย่างน้อย 50 เรื่อง
  • การเขียนรายงานทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยจะต้องเสนอผลของการทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยของผู้วิจัยเพื่อให้ผู้อ่านได้ทราบถึงความก้าวหน้าและประเด็นที่สำคัญในเรื่องที่ทำการศึกษาวิจัยการทบทวนวรรณกรรมจะต้องอธิบายและสังเคราะห์งานของผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ
  • การรวบรวบบรรณานุกรม ผู้วิจัยควรทำบรรณานุกรมของงานวิจัยแต่ละเรื่องไปพร้อมกับการอ่านงานวิจัยนั้นการกลับมาทำบรรณานุกรมภายหลังจึงปัญหามากเช่นหางานชิ้นนั้นไม่พบหรือจำไม่ได้ว่าข้อความที่อ้างอิงนำมาจากส่วนใดหรือจากงานชิ้นใดบ้างเป็นต้น