prothesis2000

วิธีคิดหัวข้อการวิจัย

วิธีคิดหัวข้อการวิจัย
เมษายน 20, 2562
การวิจัย (Research) หรือ วิทยานิพนธ์ (Thesis/Dissertation) (หรืออาจจะเป็นสารนิพนธ์ การศึกษาอิสระ (Independent Study : IS) หรืองานวิจัยใด ๆ ก็ตามแล้วแต่จะเรียกกัน กระบวนการศึกษาสิ่งเหล่านั้นว่ายากแล้ว แต่ในความเป็นจริง หลาย ๆ คนกลับพบเจอสิ่งที่ยากกว่านั่นคือ หัวข้อการวิจัย ประเด็นก็คือ อยากทำวิจัย (หรือ โดนบังคับให้ต้องทำวิจัย) แต่ไม่รู้จะทำเรื่องอะไร หรือคิด หัวข้อการวิจัย หัวข้อวิทยานิพนธ์ ไม่ออก วันนี้ Beary Research (แบรี่ รีเสิร์ช) หนึ่งในบริการที่ปรึกษางานวิจัยของ Beary Education (แบรี่ เอดูเคชัน) มี 5 วิธีง่าย ๆ ในการคิดหัวข้อการวิจัย มาฝากกันครับ

  1. หัวข้อการวิจัย ต้องสอดคล้องกับงาน หรือสาขาที่เรียน ผู้ทำวิจัยต้องรู้ว่าตนเองรับผิดชอบงานด้านไหน หรือเรียนเอกอะไร เช่น ทำงาน หรือเรียน ด้านการตลาด มีการทำโปรโมชัน (Promotion) ใหม่ ๆ การศึกษาการตัดสินใจซื้อ (Purchase Decision) การทำวิจัยจึงควรมุ่งเน้นไปที่การศึกษากลยุทธ์ทางการตลาด ส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจซื้อ ดังนั้น หัวข้อการวิจัย อาจเป็น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ที่มีผลต่อ การตัดสินใจซื้อ …..(ผลิตภัณฑ์ของผู้ศึกษา)…..ของ…..(กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เช่น บุคคลวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร)….. เป็นต้น
  2. หัวข้อการวิจัย ต้องสะท้อนถึงปัญหา หรือประเด็นที่จะศึกษา ก่อนที่ผู้วิจัยจะตั้งหัวข้อการวิจัยได้นั้น ผู้วิจัยจะต้องมีปัญหาที่ต้องการอยากรู้ มีการกำหนดเนื้อหาในการศึกษา หรือทฤษฎีที่จะศึกษามาก่อน เช่น ต้องการศึกษาว่าอะไรเป็นเหตุผลของการตัดสินใจทำงานที่นี้ ต้องการศึกษาว่าคนทำงานที่นี่มีความพึงพอใจหรือไม่ เมื่อได้ปัญหาแล้ว ก็จะนำไปสู่การสร้างหัวข้อการวิจัยได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดใจเข้าทำงาน และ ความพึงพอใจในการทำงาน ที่…..(สถานที่ทำงานที่ต้องการศึกษา)…..ของ…..(กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา เช่น พนักงานระดับปฏิบัติการ)….. เป็นต้น
  3. หัวข้อการวิจัย ต้องทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ปัญหาหนึ่งที่ผู้วิจัยยื่นหัวข้อการวิจัยไม่ผ่าน ก็คือหัวข้อที่วิจัย ไม่ทันสมัย หรือ ไม่ได้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ปัจจัยที่ีมีผลต่อการใช้งานเครื่องพิมพ์ดีดของนักศึกษาในระดับปริญญาโท (ปัจจุบันเครื่องพิมพ์ดีดไม่ได้รับความนิยมแล้ว นักศึกษาแทบทุกคนใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานแทน) ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อน้ำปั่นในโรงอาหารโรงเรียนอนุบาลหมีน้อย (เป็นการวิจัยผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระดับที่มีนัยยะสำคัญ และสถานที่ก็เป็นพื้นที่เล็ก ๆ) หรือเป็นหัวข้อที่ผิดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดี เช่น ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับการซื้อหวยใต้ดินของแม่บ้านตำรวจ (หวยใต้ดินปัจจุบันยังไม่ถูกกฎหมาย และกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับผู้รักษากฎหมาย) ตัวอย่างหัวข้อการวิจัยที่ทันสมัย และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม เช่น ผลกระทบจากการเรียกเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝากที่มีต่อธนาคารพาณิชย์ (กฎหมายใหม่เพิ่งประกาศเมื่อเดือน เม.ย. 62 และธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่มีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ) ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร (รถยนต์ไฟฟ้าเป็นยานยนต์รูปแบบใหม่ที่กำลังได้รับควาามนิยมขึ้นเรื่อย ๆ) เป็นต้น
  4. หัวข้อการวิจัย ต้องกำหนดกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชากรบางส่วนของผู้ที่เราต้องการศึกษา พื้นที่ในการวิจัย คือ ขอบเขตพื้นที่ที่เราต้องการศึกษา หัวข้อการวิจัยที่ดี จะต้องมีการระบุกลุ่มตัวอย่าง และพื้นที่ในการวิจัยที่ชัดเจน เพื่อให้การวิจัยสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรืออพูดง่าย ๆ คือ สามารถทำได้จริง และนำมาใช้งานได้จริง เช่น ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของ คนวัยทำงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร (การศึกษาครั้งนี้ มุ่งเน้นศึกษาคนวัยทำงาน ได้แก่ ผู้ที่มีอายุ 22-60 ปี และศึกษาเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น) เป็นต้น
  5. หัวข้อการวิจัย ต้องเป็นหัวข้อที่ผู้วิจัยสามารถทำได้จริง มีหลาย ๆ ครั้งที่หัวข้อการวิจัยถูกกำหนดไว้อย่างสวยหรู แต่ผู้วิจัยหลายคนกลับมาตายตอนจบ คือไม่สามารถศึกษา หรือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้จริง เช่น การศึกษาประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยของระบบ e-Banking ของธนาคารพาณิชย์ (อาจไม่มีธนาคารพาณิชย์ใดให้ข้อมูลเนื่องจากกังวลเรื่องความมั่นคงของระบบ) หรือ ปัจจัยที่มีต่อการโจมตีเจ้าหน้าที่รัฐของผู้ก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คิดว่าหัวข้อนี้น่าจะหากลุ่มตัวอย่างในการศึกษายาก และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้วิจัยได้) เป็นต้น

ข้อมูลทั้ง 5 ข้อนี้ มีส่วนช่วยให้ผู้วิจัย สามารถคิดหัวข้อการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากใครยังคิดหัวข้อการวิจัยไม่ออก หรือต้องการที่ปรึกษา หรือผู้ช่วยในการวิจัย