prothesis2000

ประสบการณ์ตีพิมพ์ วารสาร SCOPUS Q1 ครั้งแรก

ประสบการณ์ตีพิมพ์ วารสาร SCOPUS Q1 ครั้งแรก
สัปดาห์นี้ได้รับข่าวดี ผลงานวิจัย เรื่อง An investigation into the status of Thailand’s music education systems and organisation ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Music Education ระดับโลก ใน SCOPUS Q1 ของ Published online by Cambridge University Press: 23 December 2020

งานนี้ต้องขอโม้หน่อย เพราะอะไรที่ยากมากๆ ในความเห็นของผม เนื่องจาก จำนวนของวารสารที่เกี่ยวกับดนตรีศึกษาโดยตรง และอยู่ใน SCOPUS Q1 มีจำนวนน้อยมากๆ ไม่น่าจะเกิน 5-6 วารสาร อาทิเช่น

Journal of Research in Music Education

Research Studies in Music Education

Research Studies in Music Education

British Journal of Music Education

Music Education Research

Journal of Music Teacher Education

สามารถเข้าไปดูการจัดอันดับได้ที่

https://www.scimagojr.com/journalsearch.php?q=music+education

ดังนั้นด้วยจำนวนวารสารที่น้อย ทำให้คิวจึงยาว และการแข่งขันค่อนข้างสูง ก็เหมือนกับว่า หัวข้อที่เราส่งไป ต้องเข้าตาบรรณาธิการ และเนื้อหาของงานวิจัยต้องมีความน่าสนใจ หรือมีคุณค่าในวงการวิชาการ ดังนั้น ผมขอเล่าเป็นประเด็นต่างๆ ที่อยากเล่าเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์ดังนี้นะครับ

ที่มาของบทความ An investigation into the status of Thailand’s music education systems and organisation

จริงๆ บทความชิ้นนี้ที่ส่งไปเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัยเล่มใหญ่ เรื่องการศึกษาสภาพและแนวทางในการจัดการทรัพยากรดนตรีศึกษาในสถานศึกษาของประเทศไทย : มิติการกำหนดและขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งได้รับทุกจากกระทรวงวัฒนธรรม

ส่วนแรงจูงใจในการทำงานชิ้นนี้มาจาก ตอนเรียน ป.เอก ผมเคยอ่านงานวิจัยเล่มนึงของฮ่องกง (จำชื่อไม่ได้) ที่มีการสำรวจข้อมูลพื้นฐานในการจัดการศึกษาดนตรีของฮ่องกง เช่น เครื่องดนตรี ครูดนตรี สภาพการเรียนการสอน ซึ่งดูเผินๆ ก็เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจธรรมดา แต่ผมคิดว่าในวงการดนตรีศึกษาบ้านเรางานวิจัยลักษณะดังกล่าวมีความสำคัญมากเช่นกัน เนื่องจาก ข้อมูลธรรมดาๆ พื้นฐานๆ แบบนี้ ก็ยังไม่ได้รับการสำรวจ หรือ การวิจัยอย่างจริงจัง

ในตอนนั้นก็ได้แต่ฝันว่า สักวันนึงประเทศเราน่าจะมีการสำรวจอะไรแบบนี้เพื่อได้ข้อมูลที่เป็นพื้นฐาน เอาไว้ใช้ประโยชน์ได้บ้าง และแล้วก็มีโอกาสได้ทุนสนับสนุนจากกระทรวงวัฒนธรรม และ ได้ทีมงานที่ยอดเยี่ยมจาก จากหลายหมาวิทยาลัย นำทีมโดย

รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รองศาสตราจารย์ ดร.มนสิการ เหล่าวานิช มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชฏาลัมพก์ เหล่าวานิช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากนี้ยังได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือทีมที่ปรึกษา นำทีมโดย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.สมชัย ตระการรุ่ง จากมหาวิทยาลัยมหิดล

ทีมผู้ช่วยวิจัย อาจารย์ ดร.สกาวรุ้ง สายบุญมี เพียงแพน สรรพศรี อาจารย์วีระกิจ สุวรรณพิทักษ์ เฉลิมพันธุ์ ฤาวิชา ธิภาดา สารปรัง

เนื่องจากเป็นงานที่ใหญ่มาก กระบวนการทำงานก็มีปัญหา อุปสรรคเต็มไปหมด ต้องประสานงานกับหน่วยงานราชการหลายกระทรวง (เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ถอดใจไปหลายรอบ) พอยิ่งทำวิจัยก็ยิ่งรู้ว่า หน่วยงานที่เราคิดว่าควรจะต้องมีข้อมูล กลับไม่มีข้อมูล ยังไม่เคยมีการเก็บรวมรวม ดังนั้นข้อมูลที่ได้มาก็พยายามเก็บให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำให้สามารถตอบคำถามวิจัยได้ไม่หลุดประเด็น จนในที่สุดสามารถทำจนเสร็จสิ้นได้ ใช้เวลาในการทำงานประมาณ 1 ปีเต็ม

หลังจากที่งานวิจัยเล่มใหญ่เสร็จ ก็คิดต่อกันว่าตีพิมพ์ที่ไหนดี แต่เนื่องจากเป็นงานใหญ่มีหลายวัตถุประสงค์ จึงแบ่งตีพิมพ์หลายๆ ที่ โดยมีวารสาร British Journal of Music Education ส่งเป็นที่แรก แต่ได้ตอบรับเป็นที่สุดท้าย 5555 สรุปคร่าวๆ เกี่ยวกับประสบการณ์ในการส่งวารสารนี้ ดังนี้ครับ

วารสารนี้บรรณาธิการน่ารัก ให้ความช่วยเหลือดี ส่งไปวันแรกตอบรับกลับมาให้ตีพิมพ์เลย ผมนี่ตกใจ พออ่านไปอ่านมาปรากฏว่า เค้าตอบ email ผิดคน

วารสารนี้ใช้การโต้ตอบกันทาง email ไม่ได้มีระบบอะไรที่ซับซ้อนเหมือนวารสารอื่นๆ แต่!!!!!! ส่งไปประมาณ 3 เดือน จะได้รับการตอบกลับสักทีหนึง อาจเป็นเพราะช่วย COVID-19 กระมัง

Comment ของ Peer ค่อนข้างจะดี ไม่โหดร้ายมาก ใช้ภาษาสุภาพมาก จนบางครั้งไม่แน่ใจว่าจะตอบรับหรือปฏิเสธในการตีพิมพ์ ตอนแรกอ่านแล้วคิดว่าปฏิเสธอ้อมๆ 5555 ต้องให้อาจารย์ ดร.ณัฐวุฒิ ซึ่งจบอังกฤษ มาช่วยอ่านอีกทีว่า ตกลงเค้าตอบรับหรือ ปฏิเสธกันแน่

วารสารนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ แม่แต่บาทเดียว ซึ่งเลิศมาก เพราะถ้าเป็นวารสารในไทย ก็ประมาณ 2,000 – 3,000 บาท วารสารต่างประเทศก็ 4,000 -6,000 บาท

ใช้เวลาในการตอบรับ ประมาณ 2 ปี

มีการปรับแก้ภาษาหลายครั้งอยู่พอสมควร โดยหลังจากที่เขียนรอบแรกแล้ว ส่งให้ Native ดูก่อน จากนั้นโชคดีที่ช่วงนั้น จุฬาฯ มีโครงการบริการตรวจสอบให้คำแนะนำด้านภาษาสำหรับผู้ที่ต้องการตีพิมพ์ใน SCOPUSโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย จึงได้รับการตรวจแก้ภาษาจาก Native อีกรอบ รวมเป็นสองรอบล่ะก่อนส่งไปจริง แต่กรรมการก็ยังบอกว่าภาษาที่ใช้ยังไม่ค่อย OK ที่ใช้ต้องเป็นภาษาอังกฤษแบบอังกฤษ ไม่ใช่แบบ อเมริกัน เนื่องจากเป็น British Journal of Music Education อันนี้เขาเขียนบอกมากด้วย ทำให้แก้ไปแก้มาหลายรอบอยู่พอสมควร

ปัญหาและความท้าทายในการส่งบทความทางในวารสารวิชาการกับวงการดนตรีในบ้านเรา (มุมมองส่วนตัว)
นอกจากงานที่กล่าวมาข้างต้นแล้วในปีนี้ผมได้มีส่วนร่วมกับงานตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติแล้วจำนวน 5 บทความได้แก่

Laovanich, V., Chuppunnarat, Y., Laovanich, M., & Saibunmi, S. (2020). An investigation into the status of Thailand’s music education systems and organisation. British Journal of Music Education, 1-14. doi:10.1017/S0265051720000327

Chuppunnarat, Y., Laovanich, V., Laovanich, M., & Saibunmi, S. (2020). Music Education Management in Thailand: An Analysis of Stakeholder Requirments. The International Journal of Educational Organization and Leadership.

Chuppunnarat, Y., Sangvanich, K., Laovanich, V., Achayutthakan, M., Saibunmi, S., & Suwanphithak, W. (2020). The Influence of External Cultures on Art, Music, and Dance Education Students: A Case Study of Thailand and Lao PDR. Humanities, Arts and Social Sciences Studies, 20(2), 582-603.

Laovanich, V., Laovanich, M., & Saibunmi, S. (2020). His Majesty King Bhumibol Adulyadej’s Musical Genius: A Case Study of the Arrangement of 41 Royal Compositions with Lyrics for Choir. Rangsit Music Journal, 15(1), 71-86.

Yurayong, C., Laovanich, V., & Saibunmi, S. (2020). Intergrating Thai and Western music: a case study of the royal composition of H.R.H Princess Maha Chakri Sirindhorn’s Kaset-Kasat. Journal of fine and applied arts, Chulalongkorn University, 7(1), 28-42.

นอกจากนี้ก็ยังมีที่ได้ใบตอบรับแล้วแต่ยังไม่ได้ตีพิมพ์อยู่ของทั้งนิสิต และ งานส่วนตัวอีก 2-3 ชิ้น ทำให้ช่วงนี้มีงานตีพิมพ์ และประสบการณ์ในการส่งบทความเยอะอยู่พอควร อยากจะแบ่งปันหรือเขียนอะไรที่มันไม่ต้องเป็นวิชาการมาก ในลักษณะเล่าสู่กันฟัง น่าจะมีประโยชน์อยู่บ้าง

มุมมองของนักวิชาการดนตรีศึกษากระจอกๆ คนนึงที่มีต่องานวิชาการ

ในส่วนตัวผมแล้ว ความภูมิใจอย่างหนึงในฐานะการเป็นนักวิชาการ คือ การที่บทความ หรือ งานวิจัยของเราได้รับการยอมรับ หรือได้รับการตอบรับตีพิมพ์ในวารสารที่ได้รับการยอมรับในวงการวิชาการระดับนานาชาติ คงคล้ายๆ กับ นักเขียนที่สำนักพิมพ์ตอบรับตีพิมพ์ หรือ นักแต่งเพลงที่ผลงานการพันธ์ได้ตีพิมพ์เผยแพร่จากสำนักพิมพ์กระมัง แต่นักวิจัยสายวิทยาศาตร์เรื่องพวกนี้คงเป็นเรื่องปกติไม่น่าตื่นเต้นอะไรนัก

อย่างไรก็ตามการทำงานในวงการดนตรีนั้นจริงๆ นั้นมีความหลายหลายมาก ไม่ว่าจะเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลง ครูสอนดนตรี ฯลฯ แต่นักวิชาด้านดนตรี หรือ ผู้ทำงานวิชาการเกี่ยวกับดนตรีศึกษานั้นมีอยู่จำนวนไม่มาก โดยส่วนตัวแล้วผมเร่ิมชินกับสิ่งที่ทำอยู่คือ ชอบทำในสิ่งที่คนส่วนใหญ่เค้าไม่ค่อยทำกัน ใช้เวลาในการทำเยอะ ค่าตอบแทนน้อย เช่น เล่นดนตรีไทย ร้องประสานเสียง ทำงานวิจัยดนตรี อยู่กับอะไรแบบนี้มาทั้งชีวิต

นอกจากนี้นักวิชาการด้านดนตรี ก็อาจยังไม่ได้รับการยอมรับมากนักในสังคมนักดนตรีบ้านเรา เพราะในวงการดนตรี เค้าก็จะยอมรับนักดนตรีที่มีฝีมือ มีชื่อเสียง เด็กๆ ก็อยากเรียนดนตรีกับครูที่เล่นดนตรีเก่งๆ อะไรประมาณนั้น ซึ่งก็ดีมากนะครับ แต่ในโลกความเป็นจริงในด้านวิชาชีพดนตรีในบ้านเรา (ซึ่งอีกไม่นานอาจไม่เป็นแบบนี้) การเป็นนักวิชาการที่ทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย และทำงานวิจัยด้านดนตรีนั้นมีความมั่นคงทางอาชีพอยู่พอสมควรถ้าเทียบกับการทำงานดนตรีด้านอื่นๆ ผมโชคดี (จริงๆ ไม่ค่อยดีหรอก เพียงแต่ทลึ่งทำในสิ่งที่ไม่ค่อยมีคนอยากทำ) ที่อยู่ในตำแหน่งที่เห็นว่าสังคมไทยมีเงินทุนสนับสนุนในการทำวิจัยอยู่พอสมควร แต่พอจะหาคนทำงานวิจัยจริงๆ กลับหาได้ยากมาก จนบางครั้งไม่ค่อยอยากรับทุนวิจัย เพราะเกรงว่าจะไม่มีคนมาช่วยทำ

แต่สิ่งที่อยากชวนคิด คือ เราจะสามารถรักษาการเล่นดนตรีให้อยู่ในฝีมือระดับสูง พร้อมกับ สอนดนตรี ทำงานวิจัย ทำโน่นนี่ตามพันธกิจของอาจารย์มหาวิทยาลัยได้ไหม เท่าที่ผมเจอ ผมก็ยังไม่เคยเห็นนักดนตรีอาชีพสามารถดำรงฝีมือในระดับสูงได้ พร้อมกับทำงานวิจัย หรือ งานวิชาการ ไปด้วยพร้อมๆ กันได้ (ซึ่งจริงๆ อาจจะมีแต่เนื่องด้วยประสบการณ์ผมน้อย เลยจึงยังไม่พบ) มันเหมือนกับพอมาถึงจุดนึงมันก็ต้องเลือกว่าเราจะต้องทำอะไร และสิ่งที่เราต้องเลือกทำมันก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาได้ตามสถานการณ์และความจำเป็น

ย้อนกลับมาที่วงการดนตรีบ้านเรานั้น ผมคิดว่า ผลงานวิชาการด้านดนตรีศึกษา หรือ คนที่ทำงานวิชาการจริงจัง อาจถูกมองว่า ยังไม่ค่อยมีคนเข้าใจเท่าไรนัก คล้ายๆ กับว่าการวิจัยกับการเล่นดนตรีเป็นเรื่องที่แยกส่วน ไม่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน งานวิจัยลักษณะนี้ไม่ได้เป็นนักดนตรีจริงๆ เนื้องานไม่เห็นค่อยเกี่ยวข้องการการเล่นดนตรีเลย พูดง่ายๆ คือ ถ้าเป็นงานวิจัยสร้างสรรค์ เช่น การแต่งเพลง หรือบรรเลงดนตรี แล้วอธิบายวิธีคิด วิธีทำงานของตัวเอง จะได้รับความเข้าใจ และยอมรับในหมู่นักดนตรีมากกว่า

ผมเคยทำวิจัยเกี่ยวกับวิธีการบรรเลง หรือการแสดงดนตรีของนักดนตรี ที่ผมไปเฝ้าสังเกต เก็บข้อมูลอยู่เป็นปีๆ แล้วมาเขียนเป็นงานวิจัย ก็มักมี Comment จากผู้ตรวจงานหลายๆ ครั้ง ว่า ผู้ทำวิจัยไม่ได้แสดงดนตรีด้วยตัวเอง เพียงแค่ไปรวมรวมข้อมูลของคนอื่นๆ มาแล้วเอามาเขียน (ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์การวิจัยก็เขียนไว้อย่างชัดเจน) ซึ่งงานลักษณะนี้ถ้านำไปตีพิมพ์ในวารสารวิชาการต่างๆ ประเทศมักจะไม่ค่อยมีปัญหา เพราะเขาอยากรู้ว่าประเทศเราทำอะไรกันบ้างที่เหมือนหรือแตกต่างจากประเทศของเขา

ดังนั้นการได้รับการตอบครั้งนี้ มีความหมายกับผมพอสมควร เนื่องจาก ช่วงเวลาที่ผ่านมา ส่งบทความในประเทศให้ลูกศิษย์อยู่หลายที่ และบางทีได้รับการปฏิเสธ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติ แต่ บางครั้งเป็นการปฏิเสธแบบเหมือนกับว่า บทความที่ส่งไปแบบว่าห่วยสุดๆ ปัดตกตั้งแต่บรรณาธิการ ซึ่งมาก็ลองอ่านดูหลายรอบ ก็รู้สึกว่ามัน ok นะ ก็ได้แต่บอกลูกศิษย์ว่า ให้กลับมาปรับปรุง แล้วส่งไปวารสารอื่น บางทีงานเรามีคุณภาพ เพียงแต่ต้องหาบ้านที่เหมาะสมให้เขาอยู่

ไม่เหมือนกับการขอตำแหน่งวิชาการ โหดจัด งานที่ส่งไปแล้วถ้าประเมิน ตกแล้วตกเลย ไม่ต้องหาที่อยู่ที่เหมาะสมใดๆ ให้กับงานทั้งสิ้น หาที่ทำงานใหม่อย่างเดียว ถถถถถ

เคยเจอแม้กระทั่งงานได้รับทุน มีคณะกรรมการให้ทุนเป็นสิบคน มีกรรมการตรวจรับงานวิจัย บทความได้รับการตีพิมพ์ แต่!!!! คนตรวจผลงานวิชาการบอกว่าเป็นรายงาน ไม่ได้เป็นงานวิจัย

ดังนั้นงานชิ้นนี้อย่างน้อยก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในความรู้ และสิ่งที่ครูบาอาจารย์ผมสอนมา ว่าการทำงานลักษณะนี้