prothesis2000

บทความวิชาการกับบทความวิจัย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

รองศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา จันทร์คง
สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทบาทของนักวิชาการ/นักวิจัยที่สำคัญอีกบทบาทหนึ่งคือการเผยแพร่ความรู้ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การสอนงาน การบรรยาย การสาธิตและการเขียน เมื่อเปรียบเทียบผลกระทบในการเผยแพร่ความรู้จะเห็นได้ว่าการเขียนจะสามารถเผยแพร่ ได้กว้างขวางมากที่สุด อีกทั้งยังคงทนถาวรอีกด้วย การเผยแพร่ความรู้โดยการเขียนสำหรับนักวิชาการ/นักวิจัยนี้ส่วนใหญ่จะทำ ในรูปของงานวิชาการ
“บทความ” (article) เป็นรูปแบบการเขียนประเภทหนึ่ง ที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารข้อเท็จจริง และความคิดเห็นเกี่ยว กับเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้กับผู้อ่าน เนื้อหานำเสนอจากข้อมูลจริงไม่ใช่เรื่องแต่งหรือคิดขึ้นจากจินตนาการ มีลักษณะเป็นข้อเขียน ขนาดสั้น สำหรับ “บทความทางวิชาการ”(academic article) มีผู้ให้ความหมายไว้ใกล้เคียงกัน อาจกล่าวได้ว่า “บทความทาง วิชาการ” หมายถึง งานเขียนวิชาการซึ่งมีการวิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการโดยมีการสำรวจวรรณกรรมและวิเคราะห์อย่าง เป็นระบบ เพื่อสนับสนุนจนสามารถสรุปผลการวิเคราะห์ในประเด็นนั้นได้ โดยรูปแบบประกอบด้วยการนำความที่แสดงเหตุผล หรือที่มีของประเด็นที่ต้องการอธิบายหรือวิเคราะห์ กระบวนการอธิบายหรือวิเคราะห์และบทสรุป มีการอ้างอิงบรรณานุกรมที่ ครบถ้วนและสมบูรณ์ โดย บทความวิชาการจะมีลักษณะเฉพาะอยู่หลายประการ คือ

  1. ต้องเป็นเรื่องที่ผู้อ่านส่วนมากกำลังสนใจอยู่ในขณะนั้น อาจเป็นปัญหาที่กำลังอยากรู้ว่าจะดำเนินต่อไปอย่างไร หรือมี ผลเช่นไร หรือเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ หรือเข้ายุคเข้าสมัย
  2. ต้องมีสาระ มีแก่นสาร อ่านแล้วได้ความรู้หรือความคิดเพิ่มเติมมิใช่เรื่องเลื่อนลอย เหลวไหล ไร้สาระ
  3. ต้องมีทัศนะ ข้อคิดเห็น ข้อวินิจฉัยของผู้เขียนแทรกอยู่ด้วย
  4. มีวิธีการเขียนที่ชวนให้อ่าน ทำให้เพลิดเพลินและชวนคิด
  5. เนื้อหาสาระและวิธีเขียนเหมาะแก่ผู้อ่านระดับที่มีการศึกษา ทั้งนี้เพราะผู้อ่านที่มีการศึกษาน้อย มักจะไม่อ่าน บทความแต่จะอ่านข่าวสดมากกว่า
    สำาหรับ “บทความวิจัย” เป็นบทความที่เป็นผลงานต่อเนื่อง สกัดมาจากงานวิจัย บทความประเภทนี้ เป็นบทความที่ ประมวลสรุปกระบวนการวิจัยให้มีความกระชับและสั้นสำหรับนำเสนอ ในในวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ หรือที่ประชุมสัมมนา โดยการ พิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยต้องผ่านการตรวจสอบเนื้อหาสาระ และรูปแบบการจัดพิมพ์ให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของวารสาร หรือคณะกรรมการประเมิน
    องค์ประกอบของบทความ บทความโดยทั่วไปจะมีเนื้อหาที่สำคัญอยู่ 3 ส่วนคือ1) ส่วนประกอบตอนต้นหรือส่วนนำ 2) ส่วนเนื้อหา และ3)ส่วนท้าย การเขียนงานวิชาการแต่ละประเภทนั้น จะมีเทคนิคและวิธีการที่เหมือนและแตกต่างกัน โดยในส่วนของบทความทางวิชาการ และบทความวิจัย ก็จะมีองค์ประกอบต่างกัน ทั้งนี้สามารถสรุปในเชิงเปรียบเทียบระหว่างบทความวิชาการและบทความวิจัย ได้