ชีวิตอาจารย์มหาลัยไม่ง่าย-ก.พ.อ.ปราบรับจ้างทำวิทยานิพนธ์

จากกรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศของคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ต้องมีภาระงาน ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง ทั้ง ภาระงานสอน ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น ช่างเป็นการสอดคล้องกับมติล่าสุดที่ประชุม อธิการบดีแห่งประเทศไทย มีมติไล่ออก นักศึกษาที่จ้างอาจารย์-คัดลอกทำธีซิส และสารนิพนธ์

จากกรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศของคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ให้อาจารย์มหาวิทยาลัย ต้องมีภาระงาน ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง ทั้ง ภาระงานสอน ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น ช่างเป็นการสอดคล้องกับมติล่าสุดที่ประชุม อธิการบดีแห่งประเทศไทย มีมติไล่ออก นักศึกษาที่จ้างอาจารย์-คัดลอกทำธีซิส และสารนิพนธ์
    
จากการเผยแพร่บทความ ผ่านเว็บไซต์สำนักข่าวอิศรา อ้าง กรณี ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการข้าราชการ พลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) เรื่อง มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ตําแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2558 พบว่าสาระสำคัญ คือ ให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา ต้องมีภาระงาน ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 35 ชั่วโมง ทั้ง ภาระงานสอน ภาระงานวิจัยและงานวิชาการอื่น ภาระงานบริการวิชาการ ภาระงานทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม และภาระงานอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา
 
ผศ.ด��.วีระศักดิ์ เครือเทพ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงประกาศ ก.พ.อ. เกี่ยวกับมาตรฐานภาระงานทางวิชาการฯ ว่า มีข้อแตกต่างจากปี 2551 ใน2 ส่วน อย่างแรกคือระเบียบเก่าของปี 2551 จะใช้บังคับมหาวิทยาลัยเพียงบางแห่ง เช่น ราชภัฏ เทคโนโลยีราชมงคล ซึ่งเป็นการเลือกปฏิบัติเกินไป และส่วนที่ 2 คือ มีการกำหนดภาระงานที่ต้องทำว่าใน 1 ภาคการศึกษาให้มีภาระหน้าที่การสอนอย่างน้อย 2 รายวิชา ดังนั้นในความเป็นจริงคำว่าอย่างน้อย 2 รายวิชา อาจจะสอน 4 หรือ 3 รายวิชาก็ได้ นี่คือระเบียบเดิม 

แต่เมื่อเปลี่ยนมาล่าสุดว่าจะต้องมีภาระงานอย่างน้อย 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ดูมีความเป็นธรรมและมีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น โดยการกำหนดในลักษณะนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่า มหาวิทยาลัยใดจะนำไปแบ่งและบริหารงานแบบไหน

ผศ.ดร.วีระศักดิ์ กล่าวถึงคำว่าอย่างน้อย 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์นั้น เฉลี่ยแล้วคืออาจารย์ต้องทำงานวันละ 7 ชั่วโมง นี่ถือเป็นเรื่องปกติที่ควรจะต้องทำอยู่แล้ว ว่าจะสอนวันหนึ่งกี่ชั่วโมง และทำการศึกษาวิจัยค้นคว้ากี่ชั่วโมง นั่นคือเขาให้อิสระในการที่จะไปออกแบบ บริหาร

ขณะที่รศ.ดร. วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กล่าวถึงประกาศ ก.พ.อ.มาตรฐานภาระงานทางวิชาการฯ ฉบับนี้ ถือเป็นการกระตุ้นให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาราว 27,000 ที่ยังไม่มีระเบียบมากำกับ ให้มีกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดขึ้น ขณะที่พนักงานมหาวิทยาลัยหรือพนักงานสัญญาจ้างมีกฎระเบียบบังคับใช้อยู่แล้ว

และจากประกาศกำหนดมาตรฐานภาระงาน ยังทำให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัย มีภาระงานทางวิชาการ ทำวิจัย สอน และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมด้วย เป็นจรรยาบรรณที่อาจารย์ในมหาวิทยาลัยต้องทำ  แต่ที่ผ่านมาบางแห่งก็ไม่ทำ เลยต้องออกกฎบังคับให้ทำ
    
การประกาศของ ก.พ.อ. ครั้งนี้สอดคล้องกับมติที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ซึ่งนายประสาท สืบค้า ประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมได้หารือปัญหาการจ้างทำสารนิพนธ์ และวิทยานิพนธ์ ของนักศึกษาปริญญาตรี โท และเอก ที่เริ่มรุนแรงมากขึ้น โดยรับจ้างทำในราคา 20,000-500,000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของแต่ละสาขาวิชา และถูกวิจารณ์ว่า ทำให้ระบบการศึกษาตกต่ำ ที่ประชุมจึงมีมติร่วมกันว่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 หากพบนักศึกษาในสถาบันที่เป็นสมาชิก ทปอ. 27 แห่ง จ้างหรือคัดลอกวิทยานิพนธ์ และสารนิพนธ์ จะถูกให้พ้นสภาพความเป็นนักศึกษาทันที

พร้อมกันนี้ จะส่งรายชื่อไปยังมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ทปอ.ทุกแห่ง เพื่อไม่ให้รับเข้าศึกษาทุกระดับ 
โดยผู้รับจ้าง จะได้มอบให้นิติกรของ ทปอ.ศึกษาข้อกฎหมายว่าเอาผิดอย่างไรได้บ้าง และหากพบว่าผู้รับจ้างเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ถือว่าผิดจรรยาบรรณ ส่วนโทษทางวินัยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละแห่ง จากนี้จะทำคู่มือหลักเกณฑ์และมาตรการป้องกันปัญหานี้ เพื่อกำหนดเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันให้ชัดเจนต่อไป

อ่านต่อได้ที่ voicetv.co.th/read/249609