prothesis2000

จริยธรรมการวิจัย คืออะไร

ความหมายของจริยธรรมการวิจัย

จริยธรรมการวิจัย (research ethics) หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยเพื่อให้การดำเนินงานวิจัยตั้งอยู ่บนพื้นฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม (สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห ่งชาติ2541 อ้างใน สินธะวา คามดิษฐ์2550: 262) ข้อสังเกต นอกจากคำว่าจริยธรรมในการวิจัยแล้ว ยังมีคำอื่นที่นักวิจัยกล่าวถึงบ่อยครั้ง เช่น คำว่า ‘จรรยาบรรณในการวิจัย’หรือ‘จรรยาบรรณของวิจัย’อย ่างไรก็ตาม หากพิจารณาในรายละเอียดของสองคำนี้แล้ว พบว่าคำเหล่านี้มีหลักการและแนวคิดที่คล้ายคลึงกันหรือใกล้เคียงกัน กล่าวคือ ทั้งสองคำข้างต้นจะเน้นในเรื่องหลักเกณฑ์ที่ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัย (ชาย โพธิสิตา2547สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์2542สินธะวา คามดิษฐ์2550) ดังนั้นบทความนี้จะใช้คำว่า ‘จริยธรรมการวิจัย’ ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า research ethics เพื่อสื่อความหมายในเรื่องการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้องของนักวิจัยในการทำวิจัย

ปัญหาการขาดจริยธรรมการวิจัย

 ในฐานะนักวิจัยและกรรมการพิจารณาผลงานวิจัย ผู้เขียนได้พบเจอปัญหาการขาดจริยธรรมการวิจัยของนักศึกษาและนักวิจัยในหลายๆประเด็น ซึ่งพอสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ การคัดลอกผลงาน ข้อความ หรือความคิดเห็นของผู้อื่น (บางส่วนหรือทั้งหมด) โดยไม่อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล หรือบางรายอาจคัดลอกผลงานแล้วนำมาใช้เป็นผลงานของตนเอง การขโมยความคิดหรือคำพูดของผู้อื่นโดยไม่ได้อ้างอิง (plagiarism)

 การเขียนทบทวนวรรณกรรมโดยไม่อ้างถึงเจ้าของผลงานหรือแหล่งข้อมูล การนำข้อความของผู้อื่นมาดัดแปลงตัดต่อหรือแก้ไขเพื่อเป็นข้อความของตนเอง แต่ไม่อ้างถึงเจ้าของผลงานเดิม  การแก้ไขผลการวิจัย ตัวเลข หรือข้อมูลบางอย่างที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง การเปิดเผยหรือไม่เก็บความลับของผู้ให้ข้อมูล รวมทั้งการขาดความรับผิดชอบต่อการรักษาข้อมูลการปฏิบัติต่อผู้ให้ข้อมูลอย่างไม่เป็นธรรม การสร้างภัยคุกคามให้แก่ผู้ให้ข้อมูล หรือ การทำให้ผู้ให้ข้อมูลได้รับอันตรายหรืออับอาย จากการวิจัย การเขียนข้อเสนอแนะจากแนวคิดของผู้อื่น แต่ไม่อ้างถึงเจ้าของแนวคิดนั้น การจ้างวานผู้อื่นทำงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ให้บางส่วนหรือทั้งหมด การขาดความรับผิดชอบในการทำวิจัยหรือการดำเนินงานวิจัยให้เสร็จสิ้นตามกำหนดเวลาจากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น สะท้อนให้เห็นความสำคัญของจริยธรรมการวิจัย และเหตุผลที่ว่าทำไมเราต้องมีประเด็นเรื่องจริยธรรมการวิจัย เพราะสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นข้างต้นอยู่ใกล้ตัว และเกี่ยวข้องโดยตรงกับนักวิจัย รวมทั้งอาจสร้างความเสียหายให้แก่งานวิจัย หรือผลกระทบต่อผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ให้ข้อมูล ดังนั้น เรื่องจริยธรรมการวิจัยจึงมีความสำคัญเพื่อให้นักวิจัยได้ยึดถือและพึงปฏิบัติในการดำเนินการวิจัยให้ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นที่ยอมรับในสังคมปัจจุบันมีหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยได้เสนอแนวทางปฏิบัติเรื่องจริยธรรมการวิจัยไว้หลายประเด็นเพื่อให้แนวปฏิบัติเหล่านั้นช่วยลดปัญหาการขาดจริยธรรม และเพื่อให้นักวิจัยยึดถือเป็นข้อควรปฏิบัติในฐานะนักวิจัย ซึ่งจะกล่าวในหัวข้อต่อไป

แนวทางปฏิบัติเรื่องจริยธรรมการวิจัย

1. จรรยาบรรณของนักวิจัย

คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยาได้ตระหนักถึงความสำคัญของจรรยาบรรณในการวิจัย จึงได้กำหนดจรรยาบรรณนักวิจัยเพื่อให้นักวิจัยในสาขาต่างๆ นำไปปฏิบัติและเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศโดยมีหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติดังนี้

1.1 นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ

1.2 นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณีในการทำงานวิจัย

1.3 นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำวิจัย

1.4 นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย

1.5 นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรีและสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย

1.6 นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัย

1.7 นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ

1.8 นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่น

1.9 นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับ

2. จริยธรรมการวิจัยในสถาบันการศึกษา

นอกจากแนวทางปฏิบัติในเรื่องจริยธรรม (จรรยาบรรณ) สำหรับนักวิจัยในระดับวงกว้างข้างต้นแล้วนักวิชาการยังได้เสนอแนะแนวทางปฏิบัติในเรื่องจริยธรรมการวิจัยในสถาบันการศึกษาในฐานะที่เป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับนักวิจัยโดยมีแนวทางปฏิบัติดังนี้

2.1 อบรมให้ความรู้ด้านจริยธรรมการวิจัยแก่นักศึกษาและแนวปฏิบัติแก่ผู้ทำการวิจัย

2.2 ติดตามดูแล ให้คำปรึกษาแก่ผู้ทำการวิจัยเพื่อป้องกันการกระทำที่ละเมิดกฎเกณฑ์จริยธรรมการวิจัย

2.3 พยายามป้องกันและขจัดสถานการณ์ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนไม่ให้เข้ามาเกี่ยวข้องกับการวิจัย

2.4 การลงโทษจะต้องรุนแรงเพียงพอที่จะเป็นเยี่ยงอย่างป้องกันไม่ให้คนอื่นทำตาม

2.5 ให้ความคุ้มครองผู้ที่นำเรื่องที่มีการละเมิดจริยธรรมวิจัยมาแจ้งกับผู้บังคับบัญชาหรือผู้ดูแล

2.6 สร้างบรรยากาศของการวิจัยที่ดีและเข้มงวด รวมทั้งให้รางวัลแก่นักวิจัยที่ดีและลงโทษผู้กระทำผิดจริยธรรมการวิจัย

3. ประเด็นจริยธรรมการวิจัยในคน

นอกจากหลักจรรยาบรรณของนักวิจัยแล้ว นักวิจัยหลายท่านยังได้กล่าวถึงประเด็นจริยธรรมการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ ‘คน’ (people)ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งงานวิจัยทางสังคมศาสตร์จำนวนไม่น้อยที่เกี่ยวข้องกับ ‘คน’ ซึ่งอาจเป็นนักท่องเที่ยว ชาวบ้าน พนักงาน ผู้ประกอบการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นต้น โดยผู้วิจัยจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคคลเหล่านั้นด้วยการสอบถามหรือการสัมภาษณ์ ดังนั้นนักวิจัยทางสังคมศาสตร์จึงควรทราบถึงประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในคนด้วยเช่นกัน ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลและสรุปเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้

3.1 หลักจริยธรรมพื้นฐานในการวิจัยทางสังคมศาสตร

3.2 การปกป้องความเป็นส่วนตัวและการรักษาความลับ

Credit: https://so05.tci-thaijo.org

#เรียนวิจัย #รับติวสอบ #รับปรึกษางานวิจัย #ทำdissertation #ทำthesis #ทำวิทยานิพนธ์ #ทำวิทยานิพนธ์ปตรี #ทำวิทยานิพนธ์ปโท #ทำวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนโปรแกรมSPSS #รับทำงานวิจัย #ที่ปรึกษางานวิจัย #รับทำดุษฎีนิพนธ์ #รับติววิทยานิพนธ์ #รับติวธีสิส #รับติวสารนิพนธ์ #รับติววิจัย #รับติวงานวิจัย #รับสอนวิทยานิพนธ์ #รับสอนธีสิส #รับสอนสารนิพนธ์ #รับสอนวิจัย #รับสอนงานวิจัย #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ #รับปรึกษาธีสิส #รับปรึกษาสารนิพนธ์ #รับปรึกษาวิจัย #รับปรึกษางานวิจัย #รับติววิทยานิพนธ์ปตรี #รับติววิทยานิพนธ์ปโท #รับติววิทยานิพนธ์ปเอก #รับสอนวิทยานิพนธ์ปตรี #รับสอนวิทยานิพนธ์ปโท #รับสอนวิทยานิพนธ์ปเอก #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปตรี #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปโท #รับปรึกษาวิทยานิพนธ์ปเอก #สอนทำวิจัย ##รับสอนดุษฎีนิพนธ์ #รับติวดุษฎีนิพนธ์ #รับปรึกษาดุษฎีนิพนธ์ #ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ปรึกษาวิจัย #ปรึกษางานวิจัย #ทำวิจัยปโท #phdthesis #หัวข้อวิทยานิพนธ์ #รับทำdissertation #บริษัทรับทำวิจัย #รับเขียนบทความวิชาการ #thesiswriter #spssราคา #ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ #ทำวิจัยพยาบาล #รับปรึกษาวิจัย #ราคารับทำงานวิจัย#รับทำวิจัยSTATA  #รับวิเคราะห์ข้อมูลSTATA  #รับทำSTATA  #รับแปลผลSTATA  #รับทำ#วิทยานิพนธ์STATA