ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย

1.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาเป็นหัวข้อแรกของบทนำ มีจุดประสงค์เพื่อบอกถึงปัญหาการวิจัยครั้งนี้ คือ อะไร
1.1 รูปแบบการเขียน ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยเขียนให้ประกอบด้วย(ก)แนวคิดเชิงทฤษฎี(ข)สภาพปัจจุบัน(ค) ปัญหาที่เกิดขึ้นและ(ง)ความสำคัญของปัญหานั้น
ตัวอย่างเช่น
ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ แต่ในปัจจุบันนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออก ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาว่า นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านในระดับใด เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไข การวิจัยครั้งนี้จะทำให้ทราบระดับความสามารถในการอ่านของนักเรียนและจะเป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่านของนักเรียนในโรงเรียนต่อไป
จากตัวอย่างข้างบน สามารถวิเคราะห์ตามรูปแบบได้ดังนี้
ความเป็นมาและความสำคัญ ตัวอย่าง
หลักการหรือแนวคิด ภาษาเป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้
สภาพปัจจุบัน ปัจจุบันนักเรียนยังอ่านหนังสือไม่ออก
ปัญหาที่เกิดขึ้น นักเรียนมีความสามารถทางการอ่านในระดับใด
ความสำคัญของปัญหา ทราบระดับความสามารถในการอ่านของนักเรียน
เป็นแนวทางในการพัฒนาความสามารถในการอ่าน

      1.2 หลักการเขียน  การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาการวิจัยมีหลักการทั่วไปดังนี้

(ก) เขียนจากแนวกว้างไปสู่แคบจนถึงปัญหาการวิจัย
(ข) ระบุปัญหาการวิจัยในรูปคำถามหรือประโยคบอกเล่าก็ได้
(ค) เขียนให้มีการอ้างอิงข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้า
(ง) เขียนให้เห็นความสำคัญเชิงประโยชน์หรือเชิงโทษที่จะได้รับ
(จ) เขียนความยาวประมาณ 3-5 กระดาษ