การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
แนวคิด หลักการหรือทฤษฎี
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา หรือภูมิหลัง หรือหลักการและเหตุผล เพื่อเล่าให้ผู้อ่านทราบถึง ความเป็นมาของการวิจัย โดยเขียนให้สัมพันธ์กับหลักการและเหตุผลที่ต้องทำการวิจัยเรื่องนั้น ๆ มักอ้างอิงหลักการ แนวคิด และทฤษฎีที่สำคัญ ๆ มาประกอบการบรรยาย ทำให้ผู้อ่านมองเห็นความจำเป็นและสภาพปัญหาของการวิจัย มักจะเขียนเป็นย่อหน้า ๆ ไม่ยืดยาวเกินไป พยายามให้เนื้อความต่อเนื่องกัน มักจะเริ่มจากแนวนโยบาย หลักการ แนวคิด สภาพปัญหา และการแก้ปัญหา
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาจะต้องเขียนให้เห็นความสำคัญของปัญหาหรือหัวข้อที่จะทำการวิจัย โดยเน้นให้เห็นประเด็นสำคัญๆ ที่จำเป็นมีส่วนเกี่ยวกับปัญหาที่ทำการวิจัยโดยตรง สิ่งที่ควรคำนึงในการเขียนมี ดังนี้
1. เขียนให้ตรงประเด็น เหตุผลที่นำเสนอควรเป็นเหตุผลที่นำไปสู่จุดเป็นปัญหาที่จะทำการวิจัย และช่วยชี้ให้เห็นความสำคัญของสิ่งที่จะวิจัย
2. ควรใช้ข้อมูลอ้างอิงเพื่อให้เหตุผลนั้นดูมีน้ำหนักสมควรที่จะทำการวิจัย
3. ควรเขียนให้เข้าใจง่ายโดยนำเสนอเป็นประเด็นๆ เป็นลำดับต่อเนื่อง
การเขียนความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาอาจมีแนวทางในการเขียนเป็นลำดับขั้นตอน ดังนี้
1. ขั้นปัญหา กล่าวถึงสภาพปัญหาที่พบในการจัดการเรียนการสอน หรือสภาพการจัดการเรียนการสอนที่พึงประสงค์

  1. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ระบุถึงสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์ปัญหานั้นๆ อย่างรอบคอบ เพื่อชี้ให้เห็นประเด็นของการวิจัย หากมีตัวเลขประกอบให้นำมาระบุด้วย
    3. ขั้นสรุปแนวทางที่จะแก้ปัญหาหรือพัฒนา ระบุวิธีการหรือนวัตกรรมที่นำมาแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

ตัวอย่าง
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ปัจจุบันนี้ประเทศไทยมีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในการสื่อสารทางภาษา ……………..การอ่านเป็นการสื่อสารที่สำคัญของมนุษย์ การอ่านภาษาไทยให้ถูกต้องชัดเจน จะทำให้การสื่อสาร………………..ประกอบกับแผนพัฒนาการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระยะที่ 8 ได้กำหนดความจำเป็นของการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร…………..กระทรวงศึกษาธิการมีเป้าหมายในการ………………….กรมวิชาการจึงได้กำหนดให้วิชาภาษาไทยเป็นวิชาบังคับโดย………..ดังคำกล่าวของ…..กล่าวว่า……………………………….ทำให้เห็นว่าภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติและการสื่อสารให้ถูกต้องจึงเป็นการรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทยอีกทางหนึ่งด้วย
จากการศึกษาและสำรวจสภาพปัญหาการอ่านของนักเรียน…………โดยวิธีการ…………พบว่า…………………………เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงได้จัดทำ…………………………ขึ้น