prothesis2000

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการหลังจากที่นิสิต นักศึกษาได้วิเคราะห์ข้อมูล แปลความ ตีความ เขียนรายงานการวิจัย เสนออาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุงแก้ไขตามข้อชี้แนะของอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์จนเป็นที่พอใจจึงดำเนินการขอสอบปากเปล่าต่อไป

    เพื่อให้การสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์สัมฤทธิ์ผลอย่างดี ควรทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยและปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในการสอบปากเปล่าวิมยานิพนธ์ดังนี้

5.1 การทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย

    ก่อนขึ้นสอบปากเปล่าวิมยานิพนธ์ นิสิต นักศึกษาควรทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัย ลงในแผ่นกระดาษขนาด A4 ไม่เกิน 1 หน้า โดยมีสาระผลการวิจัยทั้งหมด ส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ช่วยให้เข้าใจเรื่องวิจัยอย่างชัดเจน สามารถนำไปดูแล้วอธิบายการวิจัยและสรุปผลการวิจัยได้อย่างกระชับและครบถ้วนโดยไม่ต้องเปิดอ่านในเล่มวิทยานิพนธ์ หลักการในการทำสรุปสาระสำคัญของผลการวิจัยมีดังนี้

1.สรุปลงในในแผนกระดาษเพียงแผนเดียวให้คลอบคลุมสาระสำคัญของการวิจัยทั้งหมด

2.อาจใช้แผนผังความคิด (Mind Mapping) หรือผังมโนทัศน์ (Concept Map) ในการสรุปสาระสำคัญของการวิจัย

3.อาจใช้คำย่อ สัญลักษณ์ และตารางช่วยให้สรุปอย่างเป็นระบบตามความจำเป็นได้

5.2ข้อเสนอแนะการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์

    มีข้อเสนอแนะและข้อสังเกตเกี่ยวกับการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ดังนี้

5.2.1 ในการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ ถ้านิสิต นักศึกษาได้เสนอเค้าโครงที่เหมาะสมละเอียด ชัดเจน รอบคอบ รัดกุมในทุกส่วนแล้วก็จะเป็นประโยนช์มาก เพราะเค้าโครงดังกล่าว เป็นเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติตาม ทำให้ผู้วิจัยมีความชัดเจน เป็นการป้องกันปัญหาต่างๆ ที่จะตาม ถ้าเค้าโครงไม่ชัดเจนแล้ว เมื่อดำเนินการศึกษาค้นคว้าก็จะพบปัญหายากต่อการตัดสินใจ อาจเกิดข้อขัดแย้ง อาจต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งจะก่อให้เกิดความยุ่งยากตามมามากมาย ส่งผลให้มีปัญหาในการสอบปากเปล่าด้วย

5.2.2 นิสิต นักศึกษาจะต้องเตรียมความพร้อมในการสอบปากเปล่าอย่างดีเยี่ยม โดยเตรียมการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าให้กระชับ รัดกุม เข้าใจง่าย น่าสนใจ ด้วยความคล่องแคลวถูกต้องแม่นยำ รวมทั้งเตรียมตอบคำถามต่างๆ ที่แสดงถึงการมีความรอบรู้ในเรื่องที่ทำวิทยานิพนธ์ ทั้งนี้ต้องมีตัวรายงานวิทยานิพนธ์ที่มีความสมบูรณ์

    จากประสบการของผู้เขียนที่ผ่านพบว่า นิสิต นักศึกษาเตรียมตัวมายังไม่ดีพอ ตัวรายงานมีความบกพร่องหลายแห่ง การนำเสนอไม่น่าสนใจ บางคนเสนอโดยการอ่านจากเอกสารที่เตรียมมา การตอบคำถามบางครั้งไม่ตรงประเด็นหรือตอบไม่ได้ โดยเฉพาะในคำตอบที่เป็นการประเมินความรู้ ความเข้าใจในวิชาการ หลักการ ทั้งนี้เนื่องจาก ขาดความรอบรู้อย่างแท้จริง เตรียมตัวมาน้อย นิสิต นักศึกษาควรวางแผนและดำเนินการให้สามารถเขียนรายงานให้เสร็จสมบูรณ์โดยที่เหลือเวลาพอควรสำหรับเตรียมตัวสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ เช่นมีเวลาเตรียมตัวก่อบสอบ 10 วัน เป็นต้น และควรซักซ้อมด้วยตัวเองให้แคล่งโดยเฉพาะถ้าได้ซักซ้อมกับอาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธ์ส่วนสำคัญจะช่วยได้มาก

5.2.3 ด้านกรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ กรรมการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์โดยทั่วไปประกอบด้วยอาจารย์ผู้ควบคุมหรืออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และกรรมการจากภายนอก กรรมการจากภายนอกมีจำนวนเท่ากันกับอาจารย์ที่ปรึกษาหรือมากกว่า มหาวิทยาลัยบางแห่งตั้งกรรมการสอบปากเปล่าจากภายนอกทั้งหมด ไม่มีอาจารย์ควบคุมวิทยานิพนธ์หรืออาจารย์ที่ปรึกษาร่วมเป็นกรรมการสอบ ข้อดีของการแต่งตั้งอาจารย์ภายนอกที่มาจากกรรมการสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์ก็คือ ได้ทราบถึงเงื่อนไข ข้อตกตกลงต่างๆที่ได้พิจารณาเมื่อครั้งสอบเค้าโครงวิทยานิพนธ์

5.2.4โดยทั่วไปจะแบ่งการสอบปากเปล่าวิทยานิพนธ์ออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 จะให้นิสิต นักศึกษารายงานถึงการศึกษาค้นคว้าที่ได้ดำเนินการ อาจให้กล่าวเฉพาะประเด็นที่สำคัญ เช่นเหตุผลที่เลือกค้นคว้าในเรื่องนั้น วิการดำเนินการวิจัยศึกษาค้บคว้า ผลของการศึกษาค้นคว้า การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ ในขั้นตอนนี้อาจนำเสนอโดยใช้สื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 2 กรรมการสอบจะถามข้อสงสัย สอบถามเพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของผู้ทำวิทยานิพนธ์ แม้กระทั้งทักท้วงโต้แย้งในประเด็นต่างๆ ที่อาจเป็นข้อผิดพลาดของรายงานการวิจัยเพื่อให้มีการแก้ไขให้ถูกต้องต่อไป

ขั้นตอนที่ 3 กรรมสอบพิจารณษประเมินผลการสอบปากเปล่า

5.2.5 การพิจารณาคุณภาพของรายงานวิทยานิพนธืพิจารณาในหลายๆประเนดังนี้

– ด้านคัณภาพทั่วไป – ด้านความคงเส้นคงวาในการเขียน -ด้านความสำพันธ์ระหว่างชื่อเรื่อง ความมุ่งหมาย ผลการศึกษา -ด้านการอ้างอิง -ด้านบทคัดย่อ -การอภิปราย – ด้านข้อเสนอแนะ