การวิจัยเชิงปริมาณ

การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เป็นวิธีค้นหาความรู้และความจริงโดยเน้นที่ข้อมูลเชิงตัวเลข การวิจัยเชิงปริมาณจะพยายามออกแบบวิธีการวิจัย ให้มีการควบคุมตัวแปรที่ศึกษา ต้องจัดเตรียมเครื่องมือรวบรวมข้อมูลให้มีคุณภาพ จัดกระทำสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องให้เป็นมาตรฐาน และใช้วิธีการทางสถิติช่วยวิเคราะห์และประมวลข้อสรุป เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อน (Error) น้อยที่สุด

การวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ การอธิบายเน้นการนำเสนอเชิงตัวเลขทางสถิติ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เป็นต้น ลักษณะของข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการศึกษาสภาพทั่วไปของสังคมโดยกำหนดตัวแปรต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลสถิติตัวเลข อาจเป็นข้อมูลปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ การเสนอภาพรวมจะมีวิธีการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสำรวจ เน้นการเก็บข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์และทดสอบทฤษฎีหรือสร้างทฤษฎี และให้ความหมายในเชิงวิชาการมากกว่าการศึกษาแง่มุมของชาวบ้าน ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณประกอบด้วย

fdh.png
  1. การเลือกหัวข้อเรื่องการวิจัย (Research Topic)ในขั้นตอนแรกผู้วิจัยจะต้องตัดสินใจให้แน่ชัดเสียก่อนว่าจะวิจัยเรื่องอะไร แล้วกำหนดเป็นหัวเรื่องที่จะวิจัย
  2. การกำหนดปัญหาในการวิจัย (Formulating the Research Problem)เป็นการตั้งปัญหาในเรื่องที่ต้องการวิจัย เพื่อหาคำตอบ หรือเป็นการแจกแจงวัตถุประสงค์ของการศึกษา  โดยต้องกำหนดขอบเขตของปัญหาให้ชัดเจน  และเป็นปัญหาที่สามารถหาคำตอบได้
  3. สำรวจทบทวนวรรณกรรม (Extensive Literature Survey)เป็นการทบทวนเอกสารแนวคิดทางทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหัวเรื่องที่ต้องการศึกษาเพื่อหาแนวคิดทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และสำรวจให้แน่ใจว่าไม่วิจัยซ้ำกับผู้อื่น ทั้งนี้การวิจัยควรเน้นการเสริมสร้างให้เกิดความรู้ใหม่ 
  4. การตั้งสมมุติฐานการวิจัย (Formulating Hypothesis)คาดคะเนแนวคิดเพื่อตอบคำถามของปัญหาในการวิจัย หาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่จะศึกษาไว้ก่อน จากนั้นจึงเก็บข้อมูลเพื่อมาพิสูจน์สมมุติ
  5. การออกแบบการวิจัย (Research Design)เป็นการวางแผนกำหนดวิธีการในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งคำตอบของปัญหาในการวิจัย เช่นการเก็บข้อมูล การเลือกเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการวิจัยบุคลากรและงบประมาณที่จะใช้
  6. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)เป็นการวางแผนว่าจะเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างไร จะใช้ข้อมูลปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิ และถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิควรจะเก็บอย่างไร การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ถ้าเป็นข้อมูลทุติยภูมิจะใช้ข้อมูลจากแหล่งใด
  7. การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้จะนำมาบรรณาธิการความถูกต้อง (การตรวจสอบความถูกต้อง) และความน่าเชื่อถือของข้อมูลก่อน จึงทำการประเมินผลและวิเคราะห์ผลที่ได้และพิสูจน์กับสมมติบานที่ตั้งไว้
  8. การจัดทำรายงานผลและเผยแพร่ (Research Report)เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการวิจัย ผู้วิจัยต้องเขียนรายงานเพื่อให้ผู้อื่นทราบถึงกิจกรรมที่ดำเนินในขั้นตอนต่างๆและสิ่งที่ค้นพบจากการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องเขียนรายงานตามรูปแบบของการเขียนรายงานการวิจัย และเขียนด้วยความซื่อสัตย์ในสิ่งที่ค้นพบ

การตั้งสมมติฐานและการทดสอบสมมติฐาน ข้อมูลจากการวิจัยเชิงปริมาณจะเหมาะสมกับการทดสอบทฤษฎีด้วยวิธีการแบบอุปนัย (Deductive) แนวปฎิฐานนิยมเป็นหลักการทดสอบความแม่นตรงของข้อมูล (Validity) ความเชื่อถือได้ของข้อมูล (Reliability) ใช้การเก็บข้อมูลจากคนจำนวนมากด้วยแบบสอบถาม คำถามในแบบสอบถามจึงจำเป็นต้องมีความชัดเจน

ที่มา : ขั้นตอนการวิจัยเชิงปริมาณ