prothesis2000

การวิจัยเชิงปริมาณ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

การวิจัยเชิงปริมาณ นิยมแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

  1. การวิจัยเชิงทดลองและกึ่งทดลอง
  2. การวิจัยที่ไม่ทดลอง
    การวิจัยเชิงทดลอง
    การวิจัยแบบนี้เป็นการวิจัยที่จะหาความจริงใหม่เมื่อมีการควบคุมตัวแปรและเป็นความ
    พยายามหาความสัมพันธ์ของเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดผลอีกอย่างหนึ่ง การวิจัยเชิงการทดลอง จึงเป็นการ
    เปรียบเทียบผลของกลุ่มทดลองกลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มที่มีการปฏิบัติเงื่อนไขต่าง ๆ กับกลุ่มควบคุม
    กลุ่มหนึ่งหรือหลายกลุ่มว่ามีผลแตกต่างกันหรือไม่เพียงใด
    การวิจัยเชิงการทดลองมีลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ คือ
  3. การควบคุม (control) การควบคุมในการทดลองนั้นมีจุดประสงค์ ดังนี้
  • เพื่อให้เกิดผลสูงสุด ซึ่งเนื่องจากตัวแปรที่ทดลอง
  • เพื่อขจัดผลจากตัวแปรที่ไม่ต้องการจะทดลอง
  • เพื่อขจัดความคลาดเคลื่อนของการทดลองประเภทต่าง ๆ
  1. การจัดกระทำตัวแปร คือ การจัดกระทำกับตัวแปรที่ต้องการทดลองและควบคุมตัวแปรที่
    ไม่ต้องการทดลอง
  2. แบบแผนการทดลองจะต้องมีความเที่ยงตรง ในการเลือกแบบแผนการทดลอง (experimental
    design) เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง ถ้าหากมีความเที่ยงตรงผลการทดลองก็จะถูกต้อง ความเที่ยงตรงในการ
    ทดลองมีอยู่ 2 ชนิด คือ ความเที่ยงตรงภายในและความเที่ยงตรงภายนอก
    ก. ความเที่ยงตรงภายใน (internal validity) หมายถึง การที่จะลงสรุปตัวแปรอิสระว่าทำให้
    เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวแปรตาม จะต้องมั่นใจว่าไม่มีตัวแปรอื่น ๆ นอกจากตัวแปรอิสระที่ทำให้ตัวแปร
    ตามเกิดการเปลี่ยนแปลง
    ข. ความเที่ยงตรงภายนอก (external validity) หมายถึง ผลของการทดลองนั้นสามารถอธิบาย
    ทำนายและควบคุม ตามความหมายทางวิทยาศาสตร์ได้มากน้อยเพียงใด ผลการทดลองที่เป็นจริงและ
    สามารถสืบอ้างไปสู่มวลประชากรได้
    ในการวิจัยเชิงการทดลองจะมีลักษณะสำคัญ 3 ประการข้างต้นนั้นได้ ผู้วิจัยต้องออกแบบ
    แผนการทดลอง
    การวิจัยที่ไม่ทดลอง
    การวิจัยที่ไม่ทดลองที่นิยมกัน มีดังนี้
  3. การวิจัยเชิงสำรวจ เป็นการศึกษาแบบสำรวจเป็นวิธีการรวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหา
    ต่าง ๆ ทำให้ทราบถึงสภาพความเป็นอยู่ที่เป็นจริงในปัจจุบันและนำผลที่ได้จากการศึกษาไปวางแผนงาน
    ช่วยแก้ปัญหาหรือปรับปรุงสภาพนั้น ๆ ให้ดีขึ้น การสำรวจอาจจะทำในวงกว้างหรือในลักษณะวงจำกัด
    ก็ได้ เช่น อาจสำรวจทั่วประเทศหรือเป็นภาค จังหวัด อำเภอหรือเฉพาะโรงเรียนก็ได้ ซึ่งแบ่งออกเป็น ดังนี้
    1.1 การสำรวจโรงเรียน
    1.2 การวิเคราะห์งาน
    1.3 การวิเคราะห์เอกสาร
    1.4 การสำรวจชุมชน
  4. การศึกษาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เป็นการศึกษาในรูปแบบหาความสัมพันธ์หรืออาจ
    เป็นการวิจัยที่หาสาเหตุของปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วหาความสัมพันธ์ของปรากฎการณ์และพฤติกรรม
    เพื่อนำมาแก้ปัญหาให้ตรงจุด ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
    2.1 การศึกษารายกรณี
    2.2 การศึกษาเปรียบเทียบสิ่งที่เกี่ยวข้อง
    2.3 การศึกษาแบบสหสัมพันธ์
  5. การศึกษาพัฒนาการ แบ่งออกได้ดังนี้
    3.1 การศึกษาความเจริญเติบโต
    3.2 การศึกษาแนวโน้ม
    การวิจัยเชิงคุณภาพ
    การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาวิจัยที่เน้นการเข้าใจปรากฎการณ์ การตีความหมายของโลก
    หรือสิ่งที่ต้องการศึกษา ด้วยวิธีการศึกษาและเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่หลากหลาย โดยมีเครื่องมือ
    ที่สำคัญ คือ ผู้วิจัย การวิจัยนี้มีการออกแบบที่ยืดหยุ่น การวิเคราะห์ข้อมูล และการเก็บข้อมูลเป็นกระบวนการ
    ที่สามารถดำเนินไปพร้อมกันในภาคสนาม การวิเคราะห์เริ่มจากการพิจารณาข้อมูลเชิงประจักษ์
    จนมองเห็นมโนทัศน์หรือแนวคิดที่มีความหมายจากข้อมูลและเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูล จนสามารถ
    สรุปเป็นคำอธิบาย แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อทำความเข้าใจความหมายตามปรากฎการณ์ในทัศนะของผู้ที่
    ถูกศึกษา โดยมีจุดยืนอยู่บนบริบทของปรากฎการณ์หรือของผู้ที่ถูกศึกษาเหล่านั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุด
    ขั้นตอนหนึ่งในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การเก็บข้อมูลให้ได้ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการศึกษามากที่สุดและ
    น่าเชื่อถือมากที่สุด ซึ่งมีหลายวิธีการ เทคนิควิธีการเก็บข้อมูลที่นิยมใช้กันมากและมีประสิทธิภาพ คือ
    การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) การสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) และการ
    สนทนากลุ่ม (focus group discussion)
    การสังเกตแบบมีส่วนร่วม หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
    พร้อมกันในการรวบรวมข้อมูล โดยต้องเข้าไปอยู่และปฏิบัติตนให้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่ต้องการ
    ศึกษา
    การสัมภาษณ์เชิงลึก เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป
    เช่น การสัมภาษณ์เจาะลึก การสัมภาษณ์ลุ่มลึก การสัมภาษณ์แนวลึก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูล
    โดยไม่ใช้แบบสอบถาม จะมีแนวของข้อคำถามให้ผู้สัมภาษณ์เป็นผู้ถามผู้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะการ
    เจาะลึกและต้องอาศัยความสามารถพิเศษของผู้สัมภาษณ์ในการค้นหารายละเอียดในประเด็นที่ศึกษา